พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลในการทำสัญญาประกันภัยทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกล้างสัญญาและเรียกเบี้ยประกันคืน
โจทก์มิได้รับการตรวจสุขภาพ มิได้รับการฉายเอ๊กซเรย์และตรวจคลื่นหัวใจและจำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงให้โจทก์เอาประกันชีวิตโดยแจ้งว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้วจัดหาบุคคลอื่นไปรับการตรวจสุขภาพแทน ทำให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์มีสุขภาพดี และรับประกันชีวิตโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาประกันชีวิตโดยเข้าใจผิดว่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว ซึ่งถ้าโจทก์รู้ว่าเป็นการไม่ชอบก็จะไม่ทำสัญญาด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะโจทก์บอกล้างโดยชอบแล้วสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะโจทก์บอกล้างโดยชอบแล้วสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลในการทำสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันมีสิทธิบอกล้างสัญญาและเรียกคืนเบี้ยประกัน
โจทก์มิได้รับการตรวจสุขภาพ มิได้รับการฉายเอ๊กซเรย์ และตรวจคลื่นหัวใจ และจำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงให้โจทก์เอาประกันชีวิต โดยแจ้งว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้วจัดหาบุคคลอื่นไปรับการตรวจสุขภาพแทน ทำให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์มีสุขภาพดี และรับประกันชีวิตโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาประกันชีวิต โดยเข้าใจผิดว่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว ซึ่งถ้าโจทก์รู้ว่าเป็นการไม่ชอบก็จะไม่ทำสัญญาด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะการทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะ โจทก์บอกล้างโดยชอบแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนแสวงหาผู้เอาประกันของจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าสัญญาประกันชีวิตได้มาเพราะการทำฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เมื่อสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะ โจทก์บอกล้างโดยชอบแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดส่งคืนเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดสัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉล สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างสัญญาเช่าจากฉ้อฉล: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิ
ข้อต่อสู้ว่าลูกหนี้ทำสัญญาเช่าโดยถูกผู้ให้เช่าฉ้อฉลเป็นโมฆียะนั้น ผู้บอกล้างคือบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 137 ซึ่งไม่รวมถึงผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันผู้เช่ายกขึ้นต่อสู้ผู้ให้เช่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ แม้ได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรม สิทธิติดตามทรัพย์สินตามกฎหมาย
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่ ก. กับพวก ไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส. และ ก.กับพวก เป็นคดีแรก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก.กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส.กับ ก.และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส.กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรก การที่ ก. กับพวก โอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็ดีหรือจำเลยที่ 1 ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดีเป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของคู่สมรส แม้ยินยอมโดยปริยาย และความรับผิดของจำเลยที่รู้ถึงความสามารถบกพร่อง
การที่ บ. ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรือนราษฎร์ของ บ. ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นกาประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาาทจาก น. เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ. แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วนบ. จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน ตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห้นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ. มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ. ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของเจ้าของสินส่วนแบ่ง
การที่ บ.ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรียนราษฎร์ของ บ.ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นการประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาทจาก น.เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ.แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วน บ.จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินส่วนที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห็นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ.มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ.ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 แต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมสามีในนิติกรรมซื้อขายที่ดิน และการโอนกรรมสิทธิ์รวมโดยชอบด้วยกฎหมาย
สามียินยอมให้ภรรยาทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับ ซ. แล้วภรรยาไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมที่สำนักงานที่ดิน ยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกันแทน ซ. เป็นการกระทำที่สืบเนื่องมาจากนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่สามียินยอมให้ภรรยาทำนั่นเอง ภรรยาไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากสามีอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมสามีในนิติกรรมซื้อขายที่ดิน และการโอนกรรมสิทธิ์รวมโดยชอบด้วยกฎหมาย
สามียินยอมให้ภรรยาทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับ ซ. แล้วภรรยาไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมที่สำนักงานที่ดินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกันแทน ซ. เป็นการกระทำที่สืบเนื่องมาจากนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่สามียินยอมให้ภรรยาทำนั่นเอง ภรรยาไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากสามีอีก