พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้จากการมอบอำนาจโอนกรรมสิทธิ์และการบังคับตามสัญญาเดิม แม้ผู้รับโอนเปลี่ยนแปลง
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน 100,000 บาท ดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 100,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว.บุตรสาว ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร 2 คน ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสอง จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลย ถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และเริ่มนับใหม่ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่4 กรกฎาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง 2 คน โดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว และเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว.บุตร ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้น ต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว. ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้
การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว.เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิม ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิม ซี่งต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามที่จำเลยอ้างไม่
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร 2 คน ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสอง จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลย ถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และเริ่มนับใหม่ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่4 กรกฎาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง 2 คน โดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว และเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว.บุตร ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้น ต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว. ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้
การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว.เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิม ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิม ซี่งต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามที่จำเลยอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนและการรับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเดิม ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปีเช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าตกทอดต่อบุคคลภายนอก: การรับทราบและตกลงยินยอมทำให้บุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปี เช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อ, การประกันภัย, ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้ตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย แม้ระบุผู้รับประโยชน์อื่น และความยินยอมการซ่อม
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนผูกพันผู้รับโอนเมื่อยินยอมปฏิบัติตามสัญญาเดิมเท่านั้น
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกพิพาทต่อเมื่อโจทก์ได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงยินยอมเช่นนั้น แม้หากฟังได้ว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์รู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวตามที่จำเลยต่อสู้สัญญาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ในอันที่จะต้องยินยอมให้จำเลยเช่าตึกพิพาทต่อไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และการผูกพันสัญญาต่างตอบแทนต่อผู้รับโอน
ฟ้องและฟ้องแย้งจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกเป็นประเด็นในแต่ละคดีไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ต้องจดทะเบียน
การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา 521 นั้นจะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้รับแต่บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลงและบ้านอีก 1 หลังตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แม้ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 525
การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย