คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 374

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ และไม่มีสัญญาเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คธนาคารจำเลยโดยมี พ.เป็นผู้สั่งจ่ายแต่ธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง ๆ ที่บัญชีกระแสรายวันของ พ. พอที่จะจ่ายได้ ทั้งนี้เพราะนายจ้างของ พ. มีหนังสือแจ้งมายังธนาคารจำเลยขออายัดการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท เนื่องจาก พ. ได้ฉ้อโกงเงินของนายจ้างดังนี้โจทก์ฟ้องธนาคารจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาแก่บุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น บทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 991 นั้นถ้า จำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามมาตรา 991(1) หรือ (2) หรือ (3)ธนาคารจำเลยก็จะต้องรับผิดต่อผู้เคยค้า คือ พ. ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เพราะเป็นคู่สัญญาของจำเลยตามสัญญาฝากเงินบัญชีกระแสรายวัน และมาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น การที่ พ. ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยและมีข้อตกลงว่าการเบิกเงินจากบัญชีต้องใช้เช็คในการสั่งจ่ายเงินข้อสัญญาดังกล่าวระหว่างจำเลยกับ พ. ผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374,375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องฟ้องผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้น ตาม(1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991 ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่ายหรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุ ที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374และมาตรา 375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนกิจการพร้อมหนี้สิน และสัญญาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้ตามสัญญาต้องผูกพันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการดำเนินกิจการโรงเรียนจำเลยที่ 2 รับโอนกิจการโรงเรียนดังกล่าวไปดำเนินการพร้อมทั้งหนี้สินของโรงเรียนและประกาศให้เจ้าหนี้ของกิจการไปขอรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ถือเป็นการตกลงที่จำเลยที่ 2 ยอมรับชำระหนี้อันเนื่องมาจากกิจการที่รับโอน มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อันเป็นบุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 เป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนกิจการพร้อมหนี้สิน และผลผูกพันตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนกิจการโรงเรียนจากจำเลยที่ 1 พร้อมกับหนี้สินของโรงเรียน และแจ้งให้เจ้าหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 เนื่องจากกิจการของโรงเรียนที่จำเลยที่ 2 รับโอนมาตามสัญญาดังกล่าวได้ขอรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายน้ำมันเบนซิน การชำระภาษีและเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ความผิดนัดและดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาต่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระเงินให้โจทก์เป็นค่าภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามจำนวนน้ำมันเบนซินที่ผลิตได้ ต่อมาจำเลยได้ชำระภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันให้โจทก์ การที่โจทก์รับชำระเงินดังกล่าวไว้ตลอดมาถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยผู้เป็นลูกหนี้แล้วว่า โจทก์ถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นนับแต่จำเลยเริ่มปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจเรียกจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้ตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2523 ข้อ 10 และคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2524 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2524 ข้อ 7 ระบุให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ส่งเงินแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันพร้อมกับการชำระภาษีน้ำมันและกฎกระทรวง(พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2507 ข้อ 2(ค) ระบุให้ชำระภาษีภายใน10 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ทราบ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งจำเลยทราบถึงหนังสือดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ส่งเงินพร้อมกับชำระภาษีภายในกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามก่อน โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า โจทก์มีอำนาจจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน กับมีอำนาจเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจรับชำระภาษีและเงินกองทุนน้ำมันดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลภายนอก (กรมสรรพสามิต) และการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างคู่สัญญา
จำเลยจ้างโรงกลั่นน้ำมันทหาร (บางจาก) ผลิตน้ำมันเบนซินให้จำเลยโดยการผสมน้ำมันกับสารบางชนิด ทำให้เป็นน้ำมันเบนซินและเบนซินพิเศษ เป็นการร่วมกับโรงกลั่นน้ำมันทหาร (บางจาก)ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมัน และจำเลยทำสัญญาไว้กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามจำนวนน้ำมันเบนซินที่ผลิตได้โดยชำระให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหลังจากทำสัญญาโจทก์ก็รับชำระเงินจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาแล้วต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินเข้ากองทุนตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ เพื่อส่งเข้ากองทุนน้ำมันได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 374.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์จากสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับคู่สัญญา การครอบครองปรปักษ์ และผลของการไม่จดทะเบียนนิติกรรม
คำบรรยายฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่ง และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บ.กับจำเลยอีกประการหนึ่ง การบรรยายฟ้องของโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยกับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยกับบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่ ฉะนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ บ. จะมีหรือไม่ และต้นฉบับจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้และจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าจำเลยสละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามบันทึกข้อตกลง และการใช้สิทธิประโยชน์จากสัญญาโดยบุคคลภายนอก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประการหนึ่งและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ที่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงอีกประการหนึ่ง ถือว่าเป็นฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว เป็นคำฟ้องที่ไปด้วยกันได้ไม่ขัดกันและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่โอนกรรมสิทธิ์ส่วนที่ระบาย สีแดงให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงของจำเลยทั้งสี่กับ บ. เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกใช้สิทธิถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยทั้งสี่กับ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง หาใช่โจทก์ฟ้องให้บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาจะซื้อขายเป็นเพียงสำเนาต้นฉบับไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น จึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี และเป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่านิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หาไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น ปัญหาข้อนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละประเด็นนี้แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-สถาบันการเงิน-ละเลยหน้าที่-ความรับผิด-ค่าเสียหาย-ค่าทนายความ
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 (ผู้ให้เช่าซื้อ) กับจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) มีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 รับเงินมัดจำ และเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อทุกงวดแทนจำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ยอมปลดจำนองให้แก่ผู้เช่าซื้อรายนั้นทันที เช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นเป็น3 ฉบับ โดยโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถือไว้คนละฉบับแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ดินจึงถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2ที่เป็นลูกหนี้แล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและแจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนอง เพื่อให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์โดยตรง แต่ก็ยอมผูกพันตนในอันที่จะปลดจำนองและจัดการให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังนี้เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนองเพื่อจะได้รับโอนโฉนดที่ดินแปลงที่เช่าซื้อแต่จำเลยที่ 2 บ่ายเบี่ยงและต่อมากลับปลดจำนองให้จำเลยที่ 1โดยไม่จัดการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ละเลยในการปฏิบัติการเพื่อร่วมชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่นไปทำให้สภาพแห่งการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาไม่อาจบังคับได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รับโอนที่ดินตามสัญญา
การที่โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพราะจำเลยที่ 2 ทำผิดหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกดังกล่าว ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการไม่ได้ที่ดินตามที่เช่าซื้อทั้งหมดจึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 2 โดยตรง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่รับผิดเพียงไม่เกินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 รับไว้เท่านั้น
เจตนาของโจทก์ที่เช่าซื้อที่ดินก็ต้องการได้ที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นสำคัญ การที่โจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาเพื่อให้ได้ที่ดินนั้นมาตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์เสียหายมากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์มากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วดังกล่าวได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 หวังว่าจะได้รับค่าเช่าซื้อ แต่ไม่ยอมรับรู้หน้าที่ตามสัญญาที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อเพราะความเชื่อถือจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในความไว้วางใจของประชาชน แต่จำเลยที่ 2 กลับบ่ายเบี่ยงเลี่ยงละหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีมีทุนทรัพย์ถึง 513,300 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้ค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 บาท ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-สถาบันการเงิน-ความรับผิด-ค่าเสียหาย-ดุลพินิจศาล: การบ่ายเบี่ยงหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อของสถาบันการเงินทำให้ผู้เช่าซื้อเสียหาย
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1(ผู้ให้เช่าซื้อ) กับจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) มีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 รับเงินมัดจำ และเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อทุกงวดแทนจำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ยอมปลดจำนองให้แก่ผู้เช่าซื้อรายนั้นทันที เช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นเป็น3 ฉบับ โดยโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถือไว้คนละฉบับแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ดินจึงถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2ที่เป็นลูกหนี้แล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและแจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนอง เพื่อให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์โดยตรง แต่ก็ยอมผูกพันตนในอันที่จะปลดจำนองและจัดการให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังนี้เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนองเพื่อจะได้รับโอนโฉนดที่ดินแปลงที่เช่าซื้อแต่จำเลยที่ 2 บ่ายเบี่ยงและต่อมากลับปลดจำนองให้จำเลยที่ 1โดยไม่จัดการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ละเลยในการปฏิบัติการเพื่อร่วมชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่นไปทำให้สภาพแห่งการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาไม่อาจบังคับได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รับโอนที่ดินตามสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพราะจำเลยที่ 2 ทำผิดหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกดังกล่าว ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการไม่ได้ที่ดินตามที่เช่าซื้อทั้งหมดจึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 2 โดยตรง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่รับผิดเพียงไม่เกินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 รับไว้เท่านั้น เจตนาของโจทก์ที่เช่าซื้อที่ดินก็ต้องการได้ที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นสำคัญ การที่โจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาเพื่อให้ได้ที่ดินนั้นมาตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์เสียหายมากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์มากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วดังกล่าวได้ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 หวังว่าจะได้รับค่าเช่าซื้อ แต่ไม่ยอมรับรู้หน้าที่ตามสัญญาที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อเพราะความเชื่อถือจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในความไว้วางใจของประชาชน แต่จำเลยที่ 2 กลับบ่ายเบี่ยงเลี่ยงละหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีมีทุนทรัพย์ถึง 513,300 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้ค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 บาท ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
of 26