พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน สิทธิในการอยู่อาศัยตามสัญญาสามารถโอนได้แม้หลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต
เดิม จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์ ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินจำเลย บิดาโจทก์กับจำเลยตกลง กันได้ โดย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บิดาโจทก์และบุตรพร้อมด้วย บริวารของบิดาโจทก์และผู้เช่าโรงเรือนจากบิดาโจทก์อาศัยในที่ดินได้ 30 ปี และจำเลยได้ จดทะเบียนภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ว่า ที่ดินแปลงนี้อยู่บังคับภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ โดยบิดาโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อาศัยปลูกโรงเรือนในที่ดินดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี ดังนี้ ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเป็นสัญญาอันหนึ่ง ซึ่ง มีเนื้อความชัดเจนว่า ให้บุตรจำเลยคือโจทก์ในคดีนี้อยู่ในที่พิพาทได้ เป็นเวลา 30 ปี ข้อตกลงเช่นนี้ ไม่ขัดต่อกฎหมายจึงใช้ บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้ แสดงเจตนาถือ เอาประโยชน์แห่งสัญญาจำเลยก็ต้อง ปฏิบัติตาม สัญญานั้น การที่จำเลยไม่ ยินยอมให้โจทก์หรือบริวารโจทก์อยู่ในที่ดินโดย จำเลยได้ รื้อถอนโรงเรือนของโจทก์ออกไปเป็นการผิดสัญญา และละเมิดต่อ โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมกันฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้น แม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่โจทก์คนนั้น ๆ เรียกร้อง เมื่อโจทก์ที่ 4 เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน 9,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 4 สูงไป และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 4
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันมีลักษณะเป็นประกันภัยค้ำจุนนั้น มิได้เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่เคยแสดงเจตนาแก่ผู้รับประกันภัยว่าจะเอาประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง กรณีจะปรับด้วยมาตรา 374 ไม่ได้
กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่า "ข้อสัญญาพิเศษภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือข้อ 2.13 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 (ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ) หรือข้อ 2.2 (ความรับผิดต่อผู้โดยสาร) " ดังนั้น จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 ที่ว่า "ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์" มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันมีลักษณะเป็นประกันภัยค้ำจุนนั้น มิได้เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่เคยแสดงเจตนาแก่ผู้รับประกันภัยว่าจะเอาประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง กรณีจะปรับด้วยมาตรา 374 ไม่ได้
กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่า "ข้อสัญญาพิเศษภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือข้อ 2.13 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 (ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ) หรือข้อ 2.2 (ความรับผิดต่อผู้โดยสาร) " ดังนั้น จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 ที่ว่า "ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์" มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: บุคคลภายนอกมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่ได้แสดงเจตนา
โจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมกันฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้นแม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่โจทก์คนนั้น ๆ เรียกร้อง เมื่อโจทก์ที่ 4 เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน 9,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 4สูงไป และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 4 สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันมีลักษณะเป็นประกันภัยค้ำจุนนั้น มิได้เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่เคยแสดงเจตนาแก่ผู้รับประกันภัยว่าจะเอาประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง กรณีจะปรับด้วยมาตรา 374 ไม่ได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.14 มีข้อความว่า "ข้อสัญญาพิเศษภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือข้อ 2.13 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1(ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ) หรือข้อ 2.2(ความรับผิดต่อผู้โดยสาร)" ดังนั้น จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะเอาเงื่อนไขทั่วไปข้อ 1.8 ที่ว่า "ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุเคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์" มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการทำสัญญาหย่าและยกทรัพย์สินให้บุตรมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการอ้างเหตุอื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการชำระหนี้แทนกัน
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส. กับ ร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย และ ส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัท, ความรับผิดจากสัญญาซื้อขาย, และการคิดดอกเบี้ยจากความผิดนัดชำระหนี้
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวศ จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส.กับร. คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวชจำกัดที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยและส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้ จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้วจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคู่สัญญาซื้อขายกิจการที่ผิดนัดชำระหนี้ค่าเครื่องเอกซเรย์ตามสัญญา
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส.กับร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวชจำกัดที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยและส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แทนเจ้าของบัญชี แม้จะบันทึกข้อความยินยอมผ่านเช็ค หากไม่มีสัญญาชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์ แล้วมีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 4 ความว่า ถ้า ธนาคารจำเลยที่ 4ได้รับเงินค่างวดงานจากบุคคลภายนอกผู้มีชื่อ ที่จ่ายเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อไร ขอให้ผ่านเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 5 บันทึกข้อความลงในหนังสือของจำเลยที่ 1 ว่าธนาคารไม่ขัดข้องในการผ่านเช็คดังกล่าวเมื่อได้รับเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ไม่พอฟังว่าธนาคารจำเลยที่ 4 ตกลงทำสัญญาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อปรากฏว่าไม่มีเงินในบัญชีจำเลยที่ 1 พอที่จะชำระเงินตามเช็คธนาคารจำเลยที่ 4 จึงไม่ผูกพันที่จะชำระเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างลูกจ้างของจำเลย แม้มีข้อสัญญาให้จ่ายแทนได้ หากจำเลยไม่จ่ายค่าจ้าง
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคารสัญญาจ้างข้อ 14 ระบุว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาถ้า...ผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว... สัญญาข้อนี้เป็นเพียงการกำหนดให้สิทธิแก่จำเลยร่วมที่จะเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายแก่จำเลย จ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างของจำเลยได้หากว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เพื่อให้งานก่อสร้างของจำเลยร่วมสำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อย มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ จำเลยร่วมไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จะอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวบังคับให้จำเลยร่วมชำระค่าจ้างแก่โจทก์หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างลูกจ้างของจำเลย แม้มีข้อตกลงให้หักค่าจ้างจากเงินค่าก่อสร้าง
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคารสัญญาจ้างข้อ 14 ระบุว่า 'ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลา ...... ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ...... ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว .......' สัญญาข้อนี้เป็นเพียงการกำหนดให้สิทธิแก่จำเลยร่วมที่จะเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายแก่จำเลย จ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างของจำเลยได้หากว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เพื่อให้งานก่อสร้างของจำเลยร่วมสำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อยมิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยร่วมที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ จำเลยร่วมไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จะอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวบังคับให้จำเลยร่วมชำระค่าจ้างแก่โจทก์หาได้ไม่.