คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 374

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตามข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า โดยฟ้องในนามตนเอง ไม่ใช่การฟ้องแทนบุตร
สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสหย่าและตกลงกันให้แบ่งที่ดินยกให้เป็นของบุตร เมื่อภริยาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสามีฟ้องขอบังคับให้แบ่งตามข้อตกลงได้ โดยฟ้องในนามตนเองให้ภริยาปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งไม่เป็นการที่บุตรฟ้องบิดามารดา ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: เจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา และการฟ้องบังคับตามสัญญา
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลยซึ่งเป็นทายาท และผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์มรดก: ผลผูกพันผู้จัดการมรดกและอายุความ
ทายาททุกคนทำสัญญาตกลงยกที่ดินมรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ของผู้ตาย โดยโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ลงชื่อรับทราบสัญญาในช่องพยานและยึดถือสัญญานั้นไว้ ประกอบกับได้บอกกล่าวจำเลย ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 จำเลยต้องโอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และทายาทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญานั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ให้โอนที่ดินตามสัญญาที่ทายาทตกลงยกให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เป็นการฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกอันอยู่ในบังคับจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากประกันภัยและการรับฝากทรัพย์ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ช. แล้วเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ที่ 1 ระบุให้บริษัท ช. เป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก่อนบริษัท ช. แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ รถที่เช่าซื้อสูญหายไป และโจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 โดยตรงแล้ว จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาประกันภัยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างกันแล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 880 มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในนามของตนเองจากลูกหนี้ของโจทก์ที่ 2 ได้ตามมาตรา 226 ส่วนโจทก์ที่ 2 ซึ่งฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยและรถหายไป ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนที่ยังขาดอยู่จากจำเลยได้
ปั๊มของจำเลยปฏิบัติต่อลูกค้ามีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับรถจากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ปั๊มนั้น จึงเป็นลักษณะรับฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 ไม่ใช่ให้เช่าสถานที่เพื่อจอดรถ
ร. นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไปทดลองขับดูก่อนที่จะซื้อและได้นำไปจอดฝากไว้กับจำเลย ถือได้ว่า ร. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 2 โดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
เจ้ามรดกมีบุตร 5 คนคือโจทก์ทั้งสอง จำเลย ว.และพ. ผู้ร้องสอดเป็นภรรยาของ พ.ไม่มีบุตรด้วยกัน พ. ตายก่อนเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดก ผลที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน ให้โจทก์ทั้งสอง ว.พ. และจำเลยคนละส่วนตามคดีแดงที่ 239/2515 ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์และจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่า พ. ตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว ยังยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ พ. มีส่วนในที่พิพาท 1 ส่วนใน 5 ส่วน จึงแสดงว่าต่างมีเจตนาอันแท้จริงที่จะมอบที่ดินส่วนนี้ให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. หาใช่มอบให้แก่ พ. ซึ่งตายไปแล้วไม่ ทั้งนี้เป็นการตีความในสัญญาโดยเพ็งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้นั้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาจะรับเอาทรัพย์ส่วนนี้โดยร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว ตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิของผู้ร้องสอดได้เกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินี้ของผู้ร้องสอดมิได้ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์จากประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ: บุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องได้โดยตรง
ผู้เช่าซื้อเอาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยระบุผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์รถยนต์เกิดอุบัติเหตุผู้ให้เช่าซื้อแจ้งให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและฟ้องคดีเองได้ ไม่ใช่ฟ้องแทนผู้เช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิหน้าที่ในสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อทราบข้อพิพาท ย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้ 3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง 3 (โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน แล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 (จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และ จ. กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่ 1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นในภายหลังได้ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและการผูกพันตามสัญญาเดิม: สิทธิของบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 1(จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง3(โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนแล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3(จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และจ.กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกที่แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา
จำเลยที่ 1(ผู้ให้เช่าซื้อ) และจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) ได้ทำสัญญาตกลงกันเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เช่าซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่เดิม ให้มีโอกาสได้ที่ดินโดยแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นที่ดินที่เช่าซื้อเดิมและจำเลยที่ 1 โอนชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว หรือที่ดินที่จำเลยที่ 1 จะจัดหาให้ใหม่แห่งใดแห่งหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อ โจทก์แสดงความประสงค์ว่าจะได้ที่ดินที่เช่าซื้อเดิม จำเลยที่ 2 ก็รับว่าเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ โจทก์จึงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 เรื่อยมาจนครบ เห็นได้ว่าสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าว เป็นสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ กรณีหาใช่เป็นการจัดสรรที่ดินขายอันจะถือว่าเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของธนาคารจำเลยที่ 2 ไม่ แต่จำเลยที่ 2มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้เบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตกลงชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับจำนอง
จำเลยที่ 1 (ผู้ให้เช่าซื้อ) และจำเลยที่ 2 (ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) ได้ทำสัญญาตกลงกันเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เช่าซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่เดิม ให้มีโอกาสได้ที่ดินโดยแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นที่ดินที่เช่าซื้อเดิมและจำเลยที่ 1 โอนชำระหนี้จำนองแก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว หรือที่ดินที่จำเลยที่ 1 จะจัดหาให้ใหม่แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อ โจทก์แสดงความประสงค์ว่าจะได้ที่ดินที่เช่าซื้อเดิม จำเลยที่ 2 ก็รับว่าเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ โจทก์จึงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 เรื่อยมาจนครบ เห็นได้ว่าสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าว เป็นสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผูกพันต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ กรณีหาใช่เป็นการจัดสรรที่ดินขายอันจะถือว่าเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของธนาคารจำเลยที่ 2 ไม่ แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้เบี้ยปรับ
of 26