คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 374

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สัญญาต้องผูกพันตามสัญญาเมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง แม้จะอ้างว่าไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท กับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาท ต่อหนึ่งเดือนรวม 5 งวดให้แก่โ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วย เพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้ โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียงถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญา จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา 3 ฝ่าย การชำระหนี้ผ่านคนกลาง และผลของการไม่ส่งมอบสิ่งตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทกับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาทต่อหนึ่งเดือน รวม 5 งวดให้แก่ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วยเพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาทที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใดๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียง ถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญาจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินมีเงื่อนไข โอนให้ผู้อื่น & การบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยได้
สัญญาให้ที่ดิน ผู้รับให้ไม่โอนที่ดินแก่ผู้อื่นต่อไปกึ่งหนึ่งตามที่ตกลงไว้กับผู้ให้ กลับเอาที่ดินไปจำนอง ผู้ให้ฟ้องบังคับให้ผู้รับให้ไถ่จำนองและโอนกึ่งหนึ่งแก่คนภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการชำระหนี้ค่าระวางเรือและค่าเสียเวลาเรือตามหนังสือสั่งจ่าย มิสร้างความผูกพันระหว่างผู้รับเงินกับเจ้าหนี้
ธนาคาร ค.เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ธนาคารจำเลยที่ 2 จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ความว่า ขอให้ออกหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เพื่อยืนยันว่า เมื่อโจทก์บรรทุกสินค้าลงเรือแล้วจะได้ชำระค่าระวางบรรทุกให้แก่ตัวแทนโจทก์ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ได้บันทึกความท้ายหนังสือไว้ว่า จำเลยที่ 2 ขอตอบรับหนังสือของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ขอให้จัดการจ่ายค่าระวางเรือ และหักเงินสำรองไว้จ่ายค่าเสียเวลาเรือ แต่ให้จ่ายต่อเมื่อตัวแทนโจทก์นำใบเสร็จรับเงินมาเก็บจากจำเลยที่ 2 ส่วนเงินที่เหลือให้นำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ดังนี้ ความในหนังสือดังกล่าวมิให้เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้กับโจทก์ หรือมีการให้สัญญาไว้กับโจทก์หากว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าระวางเรือและค่าเสียเวลาเรือให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเกี่ยวแก่การจัดการชำระเงินค่าระวางบรรทุกและค่าเสียเวลาหรือให้กับตัวแทนของโจทก์ประการใดบ้างเท่านั้น ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะทราบว่าโจทก์ได้ทราบความหนังสือที่จำเลยที่ 1 มีถึงจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ก็หามีหน้าที่ต่อโจทก์ไม่ การที่จำเลยที่ 2 โอนเงินค่าเสียเวลาเรือเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในเวลาต่อมานั้น ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชำระเงินดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าระวางเรือและค่าเสียเวลาเรือ: ธนาคารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบหนี้ของผู้อื่น
ธนาคาร ด. เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ธนาคารจำเลยที่ 2 จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ความว่า ขอให้ออกหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เพื่อยืนยันว่า เมื่อโจทก์บรรทุกสินค้าลงเรือแล้วจะได้ชำระค่าระวางบรรทุกให้แก่ตัวแทนโจทก์ผู้ขนส่งจำเลยที่ 2 ได้บันทึกความท้ายหนังสือไว้ว่า จำเลยที่ 2 ขอตอบรับหนังสือของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ขอให้จัดการจ่ายค่าระวางเรือ และหักเงินสำรองไว้จ่ายค่าเสียเวลาเรือ แต่ให้จ่ายต่อเมื่อตัวแทนโจทก์นำใบเสร็จรับเงินมาเก็บจากจำเลยที่ 2 ส่วนเงินที่เหลือให้นำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ดังนี้ ความในหนังสือดังกล่าวมิได้เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้กับโจทก์ หรือมีการให้สัญญาไว้กับโจทก์ว่าหากว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ค่าระวางเรือและค่าเสียเวลาเรือให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเกี่ยวแก่การจัดการชำระเงินค่าระวางบรรทุกและค่าเสียเวลาเรือให้กับตัวแทนของโจทก์ประการใดบ้างเท่านั้น ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะทราบว่าโจทก์ได้ทราบความตามหนังสือที่จำเลยที่ 1 มีถึงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็หามีหน้าที่ต่อโจทก์ไม่ การที่จำเลยที่ 2 โอนเงินค่าเสียเวลาเรือไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในเวลาต่อมานั้น ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อประโยชน์บุคคลที่สาม: สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก & ผลบังคับของสัญญา
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการโครงการติดตั้งไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 รับเป็นผู้จัดทำให้กับ โอ.ไอ.ซี.ซี ซึ่งเป็นหน่วยราชการของกองทัพเรือสหรัฐ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการรับจ้างทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี มีข้อความด้วยว่า 'และถ้าหากว่าตัวการ (จำเลยที่ 1) จะต้องจ่ายเงินให้กับบุคคลใดๆ อันเป็นบุคคลที่สามโดยทันทีเพื่อค่าอุปกรณ์ค่าแรงงาน หรือค่าวัสดุเพื่อการดำเนินการในสัญญาตามสัญญานั้น และโดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ค้ำประกันทราบ หนังสือฉบับนี้ยังคงให้มีผลบังคับและให้มีอำนาจบังคับได้ และจะสิ้นผลบังคับเมื่อตัวการ (จำเลยที่ 1) ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยถูกต้องทุกประการแล้ว' ข้อกำหนดนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันไม่มีระบุให้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันคลุมเลยไปถึงบุคคลที่สามก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญามีข้อความผูกพันตนต่อโอ.ไอ.ซี.ซี เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่สาม ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับบุคคลนั้นสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใดจึงมีผลบังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังสัญญาค้ำประกันนั้นได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ต่อบุคคลภายนอกได้
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการโครงการติดตั้งไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 รับเป็นผู้จัดการให้กับ โอ.ไอ.ซี.ซี.ซึ่งเป็นหน่วยราชการของกองทัพเรือสหรัฐ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการรับจ้างทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี.มีข้อความด้วยว่า "และถ้าหากว่าตัวการ (จำเลยที่1) จะต้องจ่ายเงินให้กับบุคลลใด ๆ อันเป็นบุคคลที่สามโดยทันทีเพื่อค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน หรือค่าวัสดุเพื่อการดำเนินการในสัญญาตามสัญญานั้น และโดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ค้ำประกันทราบ หนังสือฉบับนี้ยังคงให้มีผลบังคับและให้มีอำนาจบังคับได้และจะสิ้นผลบังคับเมื่อตัวการ (จำเลยที่ 1) ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยถูกต้องทุกประการแล้ว" ข้อกำหนดนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างจ้างให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันไม่มีระบุให้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันคลุมเลยไปถึง บุคคลที่สามก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญามีข้อความผูกพันตนต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี. เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่สามในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับบุคคลนั้นสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่ อย่างใดจึงมีผลบังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ศาลก็ย่อมรับฟังสัญญาค้ำประกันนั้นได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญา แม้จะยังมิได้ชำระหนี้
จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งที่ดินพิพาทนี้ โดยระบุว่าเป็นทรัพย์มรดก จำเลยจะแบ่งให้โจทก์ตามส่วนและข้อตกลง เมื่อโอนให้โจทก์แล้ว โจทก์จะต้องแบ่งให้บุตร4 คนของโจทก์ครึ่งหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับ โจทก์จำเลยตกลงจะไปโอนที่ดินภายใน 30 วันนับแต่วันทำสัญญาและบุตรโจทก์ 4 คนนั้นต้องชำระเงินให้จำเลย 2,000 บาท จำเลยจึงจะโอนให้ตามกำหนด โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแรกขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ตามสัญญา คดีนั้นศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือว่าสัญญาให้ และวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งฝ่ายโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ว่าโจทก์ได้เสนอจะปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยรับเงินและโอนที่พิพาทให้โจทก์ อันมีประเด็นโต้เถียงกันว่ากรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์เพียงใดหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วันการที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน 2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาท บุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้ เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตน ย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องที่ดินจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการฟ้องซ้ำ
จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งที่ดินพิพาทนี้ โดยระบุว่าเป็นทรัพย์มรดก จำเลยจะแบ่งให้โจทก์ตามส่วนและข้อตกลงเมื่อโอนให้โจทก์แล้ว โจทก์จะต้องแบ่งให้บุตร4 คนของโจทก์ครึ่งหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับ โจทก์จำเลยตกลงจะไปโอนที่ดินภายใน 30 วันนับแต่วันทำสัญญาและบุตรโจทก์ 4 คนนั้นต้องชำระเงินให้จำเลย 2,000 บาท จำเลยจึงจะโอนให้ตามกำหนดโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแรกขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ตามสัญญา คดีนั้นศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือว่าสัญญาให้ และวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งฝ่ายโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ว่าโจทก์ได้เสนอจะปฏิบัติการชำระหนี้แล้วขอให้บังคับให้จำเลยรับเงินและโอนที่พิพาทให้โจทก์ อันมีประเด็นโต้เถียงกันว่ากรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์เพียงใดหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วัน การที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาทบุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตนย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา 3 ฝ่าย, สิทธิบุคคลภายนอก, การชำระหนี้, สัญญาจองซื้อ, การส่งมอบห้องเช่า
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาตกลงให้จำเลยที่ 1 กับพวกปลูกตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วให้ตึกแถวตกเป็นของจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 กับพวกมีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากคนมาขอเช่าตึกแถวและหาคนเช่าได้ และจำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าให้มีกำหนด 15 ปี โจทก์ทำสัญญาจองตึกแถว 1 ห้องจากจำเลยที่ 1 เพื่อเช่า และเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคต้น โจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาดังกล่าวแล้ว สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นตามวรรคสอง จำเลยทั้งสองหาอาจที่จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ได้ไม่ ตามมาตรา 375จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดส่งมอบห้องเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ถ้าหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ จำเลยที่ 2ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 26