พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ & สิทธิบุคคลภายนอก: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อใด, อายุความ 10 ปี
บันทึกหลังทะเบียนการหย่า ที่ระบุว่าบ้านเลขที่ 11/1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง พร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน นั้น เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2531 นับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. เป็นกรณีสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษยน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ขาดอายุความ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ & สิทธิบุคคลภายนอก: การโอนที่ดินเฉพาะส่วน & สิทธิเรียกร้อง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้นำคดีมาฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ ส. ถึงแก่ความตาย คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความ เป็นการฎีกาในทำนองว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความในเรื่องมรดก ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ คงให้การต่อสู้ไว้เฉพาะอายุความในเรื่องสัญญา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้
บันทึกหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ที่ระบุว่าบ้านพร้อมกับที่ดินปลูกสร้างบ้านยกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บุตรทั้ง 3 คน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ส. ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามได้และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 193/30 มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ส. ซึ่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอกดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาโดยให้โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญาให้ตนเมื่อต้นปี 2534 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ ส. โอนที่ดินพร้อมบ้านตามสัญญานับแต่เวลาที่แสดงเจตนาดังกล่าวซึ่งนับถึงวันฟ้องวันที่ 9 เมษายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้แสดงเจตนาต่อ ส. ผู้เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้ว ส. ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในภายหลังได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375 ส. จึงไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้โดยเสน่หาระหว่าง ส. กับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญา, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, และอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญา
ผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อพิจารณาสัญญาจะคืนที่ดินแล้ว ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่ระบุข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยว่าให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้หากธนาคารปฏิเสธไม่อนุมัติวงเงินให้จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาจะคืนที่ดินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ตกลงให้จำเลยจะต้องโอนคืนที่ดิน 5 ไร่ เข้าบริษัทที่จะทำการสร้างโรงเรียน ส. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องระบุกำหนดตัวบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าเป็นตัวบุคคลหรือนิติบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงในขณะทำสัญญา เพียงแต่ให้สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์มีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ ตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น การที่โจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงให้จำเลยจะต้องโอนคืนที่ดินเข้าบริษัทที่จะทำการสร้างโรงเรียน ส. มีผลบังคับได้ เมื่อต่อมาบริษัท ส. โจทก์ที่ 2 ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด และได้ทำหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนให้โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาเป็นการแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะคืนที่ดิน
สัญญาจะคืนที่ดินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ตกลงให้จำเลยจะต้องโอนคืนที่ดิน 5 ไร่ เข้าบริษัทที่จะทำการสร้างโรงเรียน ส. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องระบุกำหนดตัวบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าเป็นตัวบุคคลหรือนิติบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงในขณะทำสัญญา เพียงแต่ให้สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์มีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ ตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น การที่โจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงให้จำเลยจะต้องโอนคืนที่ดินเข้าบริษัทที่จะทำการสร้างโรงเรียน ส. มีผลบังคับได้ เมื่อต่อมาบริษัท ส. โจทก์ที่ 2 ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด และได้ทำหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนให้โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาเป็นการแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะคืนที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อชำระหนี้แทนกัน และเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา ทำให้ลูกหนี้เดิมไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนองไว้แก่โจทก์และได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์นั้น น่าเชื่อว่าเป็นการกู้ยืมเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และตามพฤติการณ์ที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ยืมเงินจำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ทั้งยังยอมให้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รวมทั้งรับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวและจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 4 นำเงินที่โจทก์มอบให้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การรับค่าสินไหมทดแทนซ้ำซ้อนจากทั้งผู้เช่าและประกันภัย ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาเช่าซื้อตกลงกันไว้ว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากโจทก์ผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัย และจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติให้จ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การโอนสิทธิเรียกร้อง และความรับผิดของผู้รับโอน
หนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องพร้อมบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์ ระบุชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ตามบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ส่งมาพร้อมหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อ 6 ยังระบุว่า "ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ให้รวมถึงการโอนใบอนุญาต ตลอดจนสิทธิตามข้อตกลงของสัญญาจะซื้อจะขายที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ได้ทำสัญญาไว้กับลูกค้าตามรายละเอียดรายชื่อลูกค้ารวม 176 ราย ฯลฯ" ซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย และจำเลยที่ 2 ยังมีหนังสือถึงลูกค้าของโครงการรวมทั้งโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 จะรับภาระในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงที่จะพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จ เพื่อโอนบ้านให้แก่ลูกค้าต่อไป การที่จำเลยที่ 1 โอนโครงการทั้งโครงการเพื่อชำระหนี้ทั้งหมดของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนมาทั้งโครงการ รวมทั้งสิทธิเรียกร้องและภาระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ด้วย เช่นนี้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่คัดค้านการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ดังกล่าว และมีพฤติการณ์ว่าเข้าถือเอาประโยชน์ด้วยการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับโอนโครงการมาทั้งหมดไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จนกระทั่งโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวขอให้ชำระเงินราคาที่ดินคืน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินคืนแก่โจทก์
แม้คดีนี้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกด้วย กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งต้องทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อีก
แม้คดีนี้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกด้วย กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งต้องทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกในบันทึกข้อตกลงการหย่า: สิทธิฟ้องของคู่สัญญา
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาต่างตอบแทน โดยยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากจะระบุยกทรัพย์สินบางรายการให้แก่กันและกันแล้ว ยังมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินของ ป. มารดาโจทก์ ท. และ บ. พี่โจทก์ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่บุคคลทั้งสามด้วย เป็นผลให้มีฐานะเป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยชำระหนี้ให้แก่ ป. ท. และ บ. โจทก์ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของบันทึกเลิกบริษัท: ข้อตกลงจัดการหนี้สินยังไม่ผูกพันจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกบริษัท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับ ย. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงกันเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่ง กับ ย. ฝ่ายหนึ่ง โดยระบุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับภาระในการชำระหนี้การค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว บันทึกดังกล่าวจึงถือเป็นข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินตามบันทึกจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ และบันทึกเลิกบริษัทดังกล่าวไม่ถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ มาตรา 374 โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงในบันทึกเลิกบริษัทนั้นบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเลิกบริษัทกับบุคคลภายนอก: ผลบังคับใช้เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท
บันทึกตกลงเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่งกับ ย. อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ บันทึกตกลงเลิกบริษัทจึงไม่อาจถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในบันทึกดังกล่าวบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้