พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือที่ ว. มีถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ของ ว. มีข้อความว่า ว. ต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานดังกล่าวจากโจทก์และจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วนและทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. และจำเลยโดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลยยังค้างชำระค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. อยู่ สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก โดยจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงไม่มีปัญหาว่ามีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. และโจทก์หรือไม่
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความ: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือของ ว. ถึงจำเลย มีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ว. กับพวกต้องการให้จำเลยจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ การที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่า ค้างชำระหนี้โจทก์ ย่อมมีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวก และจำเลย โดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลย ยังค้างชำระหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. กับพวกอยู่ และสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. กับพวกและโจทก์ เพราะสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก อายุความ 10 ปี ข้อต่อสู้ทางสัญญาซื้อขาย
ว. มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่าต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือของ ว. ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวกและจำเลย สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยระบุผู้รับประโยชน์: สิทธิยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อบรรษัท ง. เป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งผู้รับประโยชน์หาต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ไม่ กรณีเช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ซึ่งบรรษัท ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนหากเกิดวินาศภัยต่อเมื่อได้แสดงเจตนาว่า จะขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์แล้ว ตามมาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์จะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทันที เมื่อบรรษัท ง. มิได้แสดงเจตนาเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของบรรษัท ง. ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยผู้เอาประกันภัยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ จึงเป็นการได้รับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยทำกับผู้เอาประกันภัยระบุว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย จำเลยเป็นผู้เอา ประกันภัย โดยมี ง. บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ต่อเมื่อ ง. ได้แสดงเจตนาขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์ ตามป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์แล้วจะทำให้ ง. มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทันที
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9614/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และกรรมสิทธิ์ในเงินฝากเพื่อการศึกษาบุตร
การที่โจทก์จำเลยซึ่งเคยอยู่กินกันฉันสามีภริยาตกลงฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อการศึกษาของบุตรเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปลงลายมือชื่อร่วมถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว จึงถือได้ว่าบุตรได้แสดงเจตนาแก่จำเลยในฐานะลูกหนี้ว่าจะถือเอาเงินฝากตามสัญญาอันเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง ดังนั้น เงินในบัญชีเงินฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยหาได้มีกรรมสิทธิ์ในเงินฝากดังกล่าวไม่
โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยประพฤติผิดสัญญากล่าวคือจำเลยไม่ยอมไปลงลงลายมือชื่อถอนเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่บุตร แม้จะเป็นการฟ้องคดีภายหลังจากที่บุตรได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นก็ตาม โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยเป็นส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินฝากจากบัญชีธนาคารร่วมกับโจทก์ ทั้งก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปธนาคารเพื่อถอนเงินให้แก่บุตรหรือยินยอมให้โจทก์จัดการได้เพียงผู้เดียว แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากบัญชีเงินฝากก็ตาม แต่คงมีผลเท่ากับว่าเป็นการขอให้จำเลยร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่บุตรตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยประพฤติผิดสัญญากล่าวคือจำเลยไม่ยอมไปลงลงลายมือชื่อถอนเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่บุตร แม้จะเป็นการฟ้องคดีภายหลังจากที่บุตรได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นก็ตาม โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยเป็นส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินฝากจากบัญชีธนาคารร่วมกับโจทก์ ทั้งก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปธนาคารเพื่อถอนเงินให้แก่บุตรหรือยินยอมให้โจทก์จัดการได้เพียงผู้เดียว แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากบัญชีเงินฝากก็ตาม แต่คงมีผลเท่ากับว่าเป็นการขอให้จำเลยร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่บุตรตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การโต้แย้งสิทธิ, เพิกถอนนิติกรรม: กรณีจำเลยขายทรัพย์สินส่วนของโจทก์โดยไม่ยินยอม
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางตามสัญญาซื้อขาย การปิดกั้นทางเข้าออกถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยซื้อที่ดินจาก ท. เพื่อใช้ทำเป็นถนนเชื่อมหมู่บ้านจัดสรรในโครงการของจำเลย และได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่า ยินยอมให้ ท. และที่ดินแปลงที่โจทก์ซื้อจาก ท. ใช้ทางได้ คำว่า "ให้ใช้ทาง" ย่อมหมายถึงการให้ใช้ทางได้เป็นปกติวิสัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหากจำเลยทำทางขึ้นกว้างยาวเท่าใด คู่สัญญาก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้ตามที่จำเลยทำขึ้น การที่จำเลยปิดกั้นทางเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ให้เหลือเพียง 1 เมตร เพื่อมิให้โจทก์นำรถยนต์เข้าไปสู่ที่ดินของตนได้ ย่อมเป็นการทำให้สิทธิการใช้ทางตามปกติวิสัยของโจทก์ลดน้อยลง ไม่สะดวกในการใช้ทางที่ทำขึ้นตามปกติวิสัยทั่ว ๆ ไป จึงเป็นการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8897/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกตามสัญญาประกันภัย ต้องแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ต่อผู้รับประกันภัยจึงจะเกิดสิทธิเรียกร้องได้
กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยระบุว่า ในกรณีที่มีความสูญหายหรือความเสียหายที่มิอาจซ่อมได้ จำเลยที่ 4 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ตามส่วนได้เสียก่อนนั้นเป็นสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าจะให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยควรได้รับ อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อมาตรา 374 วรรคสอง บัญญัติว่า? สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 4 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวเลย สิทธิของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นตามมาตรา 374 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีคืนทุนหรือกรณีที่รถยนต์เสียหายโดยสิ้นเชิงแก่โจทก์ได้ เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้