คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 374

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตคำพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิด การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 543 (3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, และขอบเขตการบังคับคดีความเสียหายจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ เคหะ แห่งชาติ เคย มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ก็ ยอมรับ แต่ ปฏิเสธ ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญาเช่า ไม่มี ผลบังคับ เพราะ ได้ มี บัญชา ของ นายกรัฐมนตรี ขณะ นั้น ให้ ระงับ โครงการ รื้อถอน และ ให้ ผู้เช่า รวมทั้ง จำเลย เช่า อยู่ ต่อไป แต่ จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น ดัง ที่ จำเลย อ้าง เพียง กล่าวอ้าง ลอย ๆ ถือว่า การ บอกเลิก การ เช่า มีผล สมบูรณ์ จำเลย อยู่ ใน ห้อง พิพาท โดย ละเมิด การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย เนื่องจาก การ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไม่มี ผลบังคับ เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย มีสิทธิ การ เช่า ใน ห้อง พิพาท ดีกว่า โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ ที่ ว่า โจทก์ จะ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ไม่ต้อง ด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3)( ก ) เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ โจทก์ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ต้องด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)( ข ) แล้ว ดังนี้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้ ตาม สัญญาเช่า ระบุ ว่า ผู้เช่า สัญญา จะ เป็น ผู้ดำเนินการ ให้ ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือ บุคคลอื่น ออกจาก สถานที่ เช่า และ สิ่งปลูกสร้าง ใน สถานที่ เช่า จน สามารถ ครอบครอง สถานที่ เช่า ได้ ทั้งหมด โดย ผู้ให้เช่า เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตาม ที่ ผู้เช่า จ่าย จริง ภายใน วงเงิน ไม่เกิน สิบ ล้าน บาท นั้น สัญญา ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า ผู้เช่า คือ โจทก์ เป็น ผู้ดำเนินการ โดย ผู้ให้เช่า คือ โจทก์ร่วม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย จึง เป็น เรื่อง การ กำหนด ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคลภายนอก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม ด้วย นั้น เมื่อ ปรากฏ ตาม คำร้อง เข้า เป็น โจทก์ร่วม ว่า โจทก์ร่วม เพียงแต่ ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ห้อง พิพาท และ ห้ามเข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก เท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า คำขอ อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกา สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง เป็น จำเลย ไม่ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้รับประโยชน์ต้องแสดงเจตนาและชำระหนี้ตามกำหนด จึงมีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไป โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ความยุติธรรม ดังนี้มิใช่คำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่เป็นเรื่องขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะอนุญาตได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ช. บิดาโจทก์ที่ 4 และจำเลยที่ 1เป็นบุตรของ ฉ. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ฉ. ได้ความตามที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า ฉ. ขอยืมเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้ว สัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท คนละ 15 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ ถือว่า ฉ. กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช. บิดาของโจทก์ที่ 4มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และเสนอจะชำระเงินคนละ 4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช. จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาส่วนโจทก์ที่ 1 แม้จะไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินอ้างว่าได้เตรียมเงินจำนวน 4,400 บาทไปชำระตามข้อกำหนดในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงโจทก์ที่ 1 น่าจะต้องระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำขออายัด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การไม่ชำระเงินตามสัญญาทำให้สิทธิขาดเสีย
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่า ขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นว่า แม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลา แต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้า โดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่ 31ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่า ฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ 14 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากนั้น ฉ.จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้ โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 มาท้ายคำฟ้องด้วย จากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ฉ.กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามเอกสารหมาย จ.1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเอกสารหมาย จ.1 มีข้อความระบุว่า โจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 และ ช.จะต้องนำเงินคนละ 4,400 บาท ไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และ ช.บิดาโจทก์ที่ 4 ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมาย จ.1 และเสนอชำระเงินคนละ4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช.จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา สำหรับโจทก์ที่ 1 แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 5 ปี บัดนี้จะครบกำหนด 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้ โจทก์ที่ 1 จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้อง โดยไม่มีข้อความว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งที่ดิน: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ หากไม่ชำระเงินตามกำหนดและแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่าขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด30วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกาทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นว่าแม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลาแต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้าโดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่31ตุลาคม2538ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าวดังนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่าฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่1และที่2ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ14ไร่1งานโดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ4,400บาทแก่จำเลยที่1และที่2หลังจากนั้นฉ. จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้แต่จำเลยที่1และที่2บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1มาท้ายคำฟ้องด้วยจากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าฉ. กับจำเลยที่1และที่2ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามเอกสารหมายจ.1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น สัญญาเอกสารหมายจ.1มีข้อความระบุว่าโจทก์ที่1ถึงที่3และช.จะต้องนำเงินคนละ4,400บาทไปชำระให้แก่จำเลยที่1และที่2ภายใน5ปีนับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่1และที่2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่2ที่3และช.บิดาโจทก์ที่4ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้วแต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่2ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมายจ.1และเสนอชำระเงินคนละ4,400บาทภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาโจทก์ที่2ที่3และโจทก์ที่4บุตรของช. จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาสำหรับโจทก์ที่1แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมายจ.1ก็ตามแต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1และที่2สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่1ภายในกำหนด5ปีบัดนี้จะครบกำหนด5ปีแล้วก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้โจทก์ที่1จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้องโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์ที่1ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400บาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1แต่อย่างใดโจทก์ที่1จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3ถึงที่5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาร่วมรับผิดชอบหนี้: การเสนอร่วมรับผิดชอบและการสนองรับคำเสนอของจำเลยร่วม
การที่จำเลยร่วมที่ 1 ทำหนังสือมีข้อความว่า "ตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น จำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 20กุมภาพันธ์ 2533 โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์ หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยร่วมที่ 1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วม" นั้น เป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่ 1ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 โดยจำเลยร่วมที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว การที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่าราคาวิทยุคมนาคมมีราคาเครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ราคา 97,000 บาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยตกลงชำระค่าเช่าวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์และค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลข หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ทันทีที่โจทก์บอกเลิกสัญญา โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์คิดถึงวันฟ้องพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยร่วมและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคา เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่า นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับผิดร่วมกันจากการเช่าทรัพย์ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการเช่า
หนังสือที่จำเลยร่วมที่ 1 ได้ทำขึ้นมีข้อความว่า ตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น จำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยร่วมที่ 1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วม หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่ 1 ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 1 ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งจำเลยร่วมที่ 1 ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา และต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์ จำเลยร่วมที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวนั้นด้วย
ที่จำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาว่า หากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท มิใช่ในราคา 97,000 บาทนั้น คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยร่วมที่ 1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ 1,850 บาท กับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500 บาท ดังนั้น หากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคม และอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 27,338.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27 บาท โดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วย ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 2,350 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้น เป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7311/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาร่วมรับผิดชอบหนี้ – การยินยอมเป็นผู้ค้ำประกัน – หน้าที่ชำระหนี้ – ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์
หนังสือที่จำเลยร่วมที่1ได้ทำขึ้นมีข้อความว่าตามที่จำเลยได้รับหมายเรียกจากศาลเพื่อดำเนินคดีในการใช้และมีโทรศัพท์มือถือพิพาทของโจทก์ไว้ในครอบครองโดยได้รับแจ้งจากโจทก์ให้นำเครื่องส่งมอบคืนและชำระหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้นจำเลยได้ส่งมอบคืนให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่20กุมภาพันธ์2533โดยส่งคืนผ่านทางจำเลยร่วมที่1และจำเลยร่วมที่2เพื่อนำมอบให้แก่โจทก์หากมีการดำเนินคดีหรือเรียกร้องค่าเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดจำเลยร่วมที่1จะเป็นผู้รับผิดชอบร่วมหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของจำเลยร่วมที่1ที่จะร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์การที่จำเลยนำสำเนาหนังสือนั้นมาแนบท้ายคำให้การของจำเลยและขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่1เข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้นเป็นการสนองรับคำเสนอดังกล่าวของจำเลยร่วมที่1ทำให้เกิดสัญญาระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมที่1ซึ่งจำเลยร่วมที่1ยอมร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ดังนั้นเมื่อจำเลยต้องส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หากส่งคืนไม่ได้ต้องใช้ราคาและต้องรับผิดใช้เงินค่าเช่าที่ค้างชำระกับค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นให้แก่โจทก์จำเลยร่วมที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลยร่วมที่1ดังกล่าวนั้นด้วย ที่จำเลยร่วมที่1ฎีกาว่าหากไม่สามารถคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทให้โจทก์ได้จำเลยร่วมที่1ต้องใช้ราคาแทนเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทตามราคาทรัพย์เครื่องละไม่เกิน15,000บาทมิใช่ในราคา97,000บาทนั้นคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งฎีกาของจำเลยร่วมที่1ข้อนี้เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยได้ตกลงชำระค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทพร้อมอุปกรณ์ในอัตราเดือนละ1,850บาทกับค่าเช่าหมายเลขเครื่องวิทยุคมนาคมรวมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ500บาทดังนั้นหากจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองคืนเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมสามารถนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทนั้นไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยได้รับค่าเช่าในอัตราดังกล่าวได้การที่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์ย่อมทำให้โจทก์เสียหายขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าดังกล่าวดังนั้นแม้โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องวิทยุคมนาคมพิพาทแก่จำเลยแล้วโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการให้เช่าเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทจนกว่าจะได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนได้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินจำนวน27,338.27บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จเป็นการพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาเช่าจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน27,338.27บาทโดยให้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ร่วมกันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จด้วยส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ2,350บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทคืนโจทก์หรือชดใช้ราคานั้นเป็นการพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าใช้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ใช้ค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
of 26