พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองและการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้: สัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์โดยตรงหลังเปลี่ยนเจ้าหนี้
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคารแทนโจทก์โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมตกลงโอนหนี้ให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวด้วยใจสมัครเพื่อประกันหนี้จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรง โดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้ว การทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะต้องมีการทำเป็นหนังสือแยกต่างหาก
(วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2535)
(วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2535)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงจำนองเพื่อชำระหนี้แทนกัน การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ และผลของการทำสัญญาผูกนิติสัมพันธ์โดยตรง
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคารแทนโจทก์โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมจำเลยร่วมตกลงโอนหนี้ให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวด้วยใจสมัครเพื่อประกันหนี้จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรงโดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้วการทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะต้องมีการทำเป็นหนังสือแยกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228-231/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, อายุความ 10 ปี, การจดทะเบียนเช่า และการเริ่มนับอายุสัญญา
จำเลยกับต. ได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารมีสาระสำคัญว่าให้ต. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและดำเนินการก่อสร้างตึกแถวและทาวน์เฮาส์รวม92ห้องบนที่ดินของจำเลยให้แล้วเสร็จภายใน3ปีนับแต่วันทำสัญญาหากสร้างไม่ทันตามกำหนดก็ให้ยืดเวลาต่อไปอีก1ปีนอกจากนี้ต. ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้จำเลยอีก8,500,000บาทและส่งมอบตึกแถวที่ก่อสร้างให้แก่จำเลย2ห้องจำเลยยอมให้ต. มีสิทธิหาคนเช่าและเรียกเงินค่าช่วยก่อสร้างจากผู้มาจองเช่าได้ภายในระยะเวลาที่ดำเนินการก่อสร้างดังกล่าวโดยจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้มาจองเช่ามีกำหนด25ปีสัญญาก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยตกลงว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374โจทก์ทั้งสี่เป็นผู้เช่าจองอาคารกับต. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้ได้และการบอกกล่าวให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าเป็นการแสดงเจตนากับจำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้วโดยโจทก์ทั้งสี่ไม่จำต้องครอบครองอาคารพิพาทชำระค่าเช่าและภาษีโรงเรือนแก่จำเลยแต่อย่างใด โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าได้มอบอำนาจให้ต. ฟ้องคดีแทนจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิได้มอบอำนาจดังกล่าวไว้คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเรื่องมอบอำนาจว่าทำขึ้นโดยชอบหรือไม่คงฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้วจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามที่จำเลยฎีกามา ตามสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่า"เมื่อผู้เช่ามาติดต่อขอเช่าและผู้จัดสร้างได้รับเงินแล้วผู้ให้สร้างจะไปทำสัญญาให้แก่ผู้เช่ามีกำหนดเวลาเช่า25ปีโดยการจดทะเบียนเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบของสัญญาเช่าซึ่งได้แนบมาพร้อมนี้ทั้งนี้ผู้ให้สร้างจะไปทำสัญญาภายใน1เดือนนับแต่วันที่ผู้จัดสร้างบอกกล่าวให้ผู้ให้สร้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อความดังกล่าวมีความชัดเจนว่าระยะเวลา1เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยจะดำเนินการในเรื่องจดทะเบียนการเช่าหาใช่เป็นระยะเวลาเริ่มต้นของการนับอายุการเช่าไม่ส่วนตามสัญญาจองเช่าอาคารที่ต. ทำไว้กับโจทก์ทั้งสี่ระบุว่า"สัญญาเช่ามีกำหนด25ปีนับแต่วันทำการจดทะเบียนการเช่าณที่ทำการเขต"นั้นมีข้อความชัดอยู่แล้วให้นับอายุการเช่า25ปีเริ่มแต่วันจดทะเบียนการเช่าเป็นต้นไปซึ่งข้อความตามสัญญาก่อสร้างอาคารดังกล่าวหาได้ขัดแย้งกับสัญญาจองเช่าอาคารไม่กรณีจึงไม่ใช่ให้นับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว โจทก์เป็นบุคคลภายนอกซึ่งถือเอาประโยชน์ตามสัญญาก่อสร้างอาคารการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์จึงเป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาม374ซึ่งมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30หาใช่เป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(11)เมื่อนับแต่วันที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าจนถึงวันฟ้องยังไม่พ้น10ปีคดีของโจทก์ทั้งสี่จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องเรียกร้องได้ แม้ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์โดยตรง
แม้โจทก์ที่2จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่2เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัยโจทก์ที่2ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่2โดยมีโจทก์ที่1เป็นผู้รับประโยชน์จริงเช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่2เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไปจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามสัญญาประกันภัยนั้นโจทก์ที่2จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่1ผู้รับประโยชน์ได้แม้โจทก์ที่2จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่1ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้นคำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่1ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879วรรคแรกและศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าเช่าซื้อซื้อขายหรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่2เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่1ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่1ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาโจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์
แม้โจทก์ที่2จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่2เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัยโจทก์ที่2ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่2โดยมีโจทก์ที่1เป็นผู้รับประโยชน์จริงเช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่2เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไปจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามสัญญาประกันภัยนั้นโจทก์ที่2จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่1ผู้รับประโยชน์ได้แม้โจทก์ที่2จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่1ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้นคำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่1ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879วรรคแรกและศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าเช่าซื้อซื้อขายหรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่2เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่1ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่1ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาโจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์โดยตรง
แม้โจทก์ที่ 2 จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรง และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัย โจทก์ที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่ 2โดยมีโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประโยชน์จริง เช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่ 2 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไป จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ได้ แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้น คำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 วรรคแรก และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่ 2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่ 2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่ 1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า เช่าซื้อ ซื้อขาย หรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย หากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่ 2 เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่ 2เช่าซื้อมา โจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันภัย: อำนาจฟ้องเมื่อเกิดความเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งส.ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแต่จำเลยไม่ยอมชำระถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย: อำนาจฟ้องเมื่อเกิดความเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยซึ่ง ส. ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัย ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ อันเป็นสัญญาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแต่จำเลยไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้รับประโยชน์มีอำนาจฟ้องแม้ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย
ปัญหาที่ว่าขณะเอาประกันภัย ส.ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญานั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่ง ส.ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยนั้น ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหาย แต่จำเลยไม่ยอมชำระจนโจทก์ต้องฟ้องร้องเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญา, การมอบอำนาจ, และเจตนาในการยกทรัพย์ให้บุตร
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน100,000บาทดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง100,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว. บุตรสาวที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ2นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร2คนตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิมเมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่4สิงหาคม2524อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่4สิงหาคม2524และเริ่มนับใหม่ต่อไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่4กรกฎาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง2คนโดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียวและเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว. บุตรซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อว. เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้งย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้นต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว.ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้ การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิมก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิมซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ตามที่จำเลยอ้างไม่