คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 245

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างและค่าขาดไร้อุปการะจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาท ตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วย กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกนำมาร่วมกิจการขนส่งกับห้างจำเลยที่ 4 ลูกจ้างผู้ขับรถคันนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และที่ 4
เมื่อได้ความว่าห้างจำเลยที่ 4 ยังประกอบการขนส่งสาธารณะอยู่ แม้ใบอนุญาตขนส่งจะหมดอายุแล้ว ห้างจำเลยที่ 4 ก็ยังไม่พ้นความรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างกระทำลงในการขนส่งนั้น
แม้ผู้ตายจะมีอายุ 64 ปี แต่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยยังสามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าหากผู้ตายไม่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเสียก่อนย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ตายจะมีชีวิตต่อไปอีกมากกว่า 2 ปี โจทก์ซึ่งเป็นภริยาไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินเดือนที่ผู้ตายมอบให้เดือนละ 5,000 บาทตามพฤติการณ์ดังกล่าวที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ 2,000 บาทเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 96,000 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าทำละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดด้วยกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะพึงชดใช้แก่โจทก์ลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน เช็คคืนเงินไม่ได้ สิทธิเรียกร้องหนี้ และดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 60,000 บาท ออกเช็คให้โจทก์ไว้โจทก์โอนเช็คต่อไปจนถึง ว. ว. เบิกเงินไม่ได้ จำเลยทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ 84,000 บาท รวมกับหนี้ที่จำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์ ต่อมา ว. ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยดังนี้โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามเช็คสัญญากู้ที่จำเลยทำให้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้จำนวนนี้ ส่วนอีก 20,000 บาท ซึ่งจำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์นั้น จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ดอกเบี้ยอีก 4,000 บาท นั้นเป็นอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนดอกเบี้ยเป็นโมฆะโจทก์คงเรียกจากจำเลยได้เพียง 20,000 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้อง
หนี้ตามสัญญากู้ 84,000 บาท เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลดเป็นให้จำเลยใช้ 20,000 บาท ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598-1599/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด, การดำเนินคดีอนาถา, และการขยายผลความรับผิดชอบของนายจ้างต่อลูกจ้าง
โจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับฟ้องในวันนั้น เพราะโจทก์ที่ 2 ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องในภายหลังซึ่งเป็นเวลาเกิน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าคดีโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในวันยื่นฟ้อง ส่วนการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่ เป็นกระบวนพิจารณาของศาล แม้จะเนิ่นนานไปก็หาใช่ความผิดของโจทก์ที่ 2 ไม่คดีโจทก์ที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานขับรถประมาทำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1 ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตอลดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเด็กและผู้ดูแล, การลดค่าเสียหาย, และการพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
หลานอายุ 13 ปีมาพักเรียนหนังสืออยู่กับตายายๆ เป็นผู้ดูแลต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับหลานตาม มาตรา 430
ค่ารักษาพยาบาลบุตรซึ่งโจทก์เป็นข้าราชการเบิกจากทางราชการได้ครึ่งหนึ่ง ศาลให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียไปจริงเพียงครึ่งหนึ่ง
บิดาไม่ดูแลบุตรอายุ 4 ขวบ ปล่อยให้ไปเล่นในบริเวณที่เด็กเล่นไม้หึ่งจนได้รับอันตราย เป็นความผิดของบิดารวมอยู่ด้วย ศาลลดค่าเสียหายที่ผู้ทำละเมิดต้องใช้ลงได้
ค่าเสียหายฐานละเมิดซึ่งเด็กและผู้ดูแลเด็กต้องรับผิดร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยผู้เดียวฎีกา ศาลพิพากษาลดจำนวนลงแก่จำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 10,000 บาทเพราะผู้เสียหายตาบอด จำเลยอุทธรณ์ไม่คัดค้านว่าตาไม่บอดจำเลยฎีกาว่าตาไม่บอดไม่ได้ ศาลจึงไม่ต้องพิจารณาว่าค่าเสียหายเพราะตาบอดจำนวน 10,000 บาทนั้นมากเกินไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งผิด
ในชั้นตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีโจทก์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยคิดคำนวณจากทุนทรัพย์ภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่รับคำฟ้อง คำสั่งเช่นว่านี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง กรณีเป็นหนี้อันแบ่งแยกไม่ได้แม้จำเลยที่ 3,4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3,4 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, การจ่ายค่าทดแทนจากนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, การแก้ไขค่าเสียหาย, และหนี้ร่วม
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์เฉพาะคู่ความที่อุทธรณ์ในคดีผู้จัดการมรดก
ในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งมีผู้คัดค้านหลายคน และผู้คัดค้านเหล่านั้นต่างร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ผู้ร้องขอถอนคำร้องไม่ติดใจดำเนินคดี ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ถอนคำร้องได้ และสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด ให้ผู้คัดค้านไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อผู้คัดค้านคนหนึ่งอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของคนต่อไป หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ดำเนินการไต่สวนคำร้องเฉพาะของผู้คัดค้านที่อุทธรณ์ จะให้ดำเนินคดีไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านอื่น ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าปลงศพ, ละเมิด, ความรับผิดนายจ้าง
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน(อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอยด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
of 17