คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 245

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดและการเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่สมบูรณ์มีผลต่อสิทธิของโจทก์ร่วม
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาของทนายมีผลถึงจำเลยร่วม แม้ไม่ได้ร่วมฎีกา หากมูลคดีเกี่ยวเนื่องกับการชำระหนี้
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน และทนายได้ยื่นฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวนและในฎีกามีข้อความว่า "จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย" ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาของจำเลยร่วมผูกพันจำเลยร่วมอื่น เมื่อมูลคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้และสิทธิการเช่า
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน และทนายได้ยื่น ฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2 สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวน และในฎีกามีข้อความว่า "จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย" ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของฎีกาที่ยื่นโดยทนายร่วม และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาฎีกาต่อจำเลยร่วมที่ไม่ฎีกา
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน. และทนายได้ยื่นฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา. เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวนและในฎีกามีข้อความว่า 'จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย'. ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย.
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์. โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้. ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม. แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย.จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย. เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกหนี้เมื่อใดก็ได้ การค้ำประกันจึงไม่ผูกพันเมื่อไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้. และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น. เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94.
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น. จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่.
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700. แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่.
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย. แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่.และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท. โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้. ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาทที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน. ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น. ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์.แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเก็บได้เสมอ การค้ำประกันไม่หลุดพ้นแม้มีการผ่อนเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้เสมอ การนำสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ถึงจำเลยที่ขาดนัด
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยนี้ขาดนัด และศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยผู้นี้แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดจำเลยที่ 1,2,3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยทุกคนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษากลับถึงจำเลยขาดนัดในคดีที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนด จำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยนี้ขาดนัด และศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยผู้นี้ แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนด จำเลยที่ 1, 2, 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยทุกคนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยขาดนัด
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนด.จำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ. โจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยนี้ขาดนัด. และศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยผู้นี้. แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนด. จำเลยที่ 1,2,3อุทธรณ์. ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยทุกคนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245. เพราะคำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้.
of 17