คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 245

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเปลี่ยนมือ และอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อปี 2530 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทอยู่ในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายภายในกำหนด 10 ปี การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530 จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตามแต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อจำกัดตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการครอบครองและสิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้อง ราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ ให้แก่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตาม แต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่า จะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทน โจทก์อีกต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบแล้วอันเป็นส่วนสำคัญของสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไป ดังนั้นในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่ ไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: การถือเอาประโยชน์จากการชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรก โจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้ แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลัง แต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้ว ดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าสำเร็จจากการชี้ช่องผู้ซื้อ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง ก็ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์จากนายหน้าเดิม
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา 13,650,000 บาท โดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าว แต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคา ต่อมา ส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้แม้ ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้ เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้ คดีสำหรับโจทก์ที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายหน้าชี้ช่องขายที่ดินสำเร็จ ได้รับค่าบำเหน็จ แม้มีผู้ประสานงานภายหลัง
จำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยและของบุตรสาวในราคา13,650,000บาทโดยเริ่มแรกโจทก์ทั้งสามติดต่อกับบริษัทผู้ซื้อเพื่อขายที่ดินของจำเลยในราคาดังกล่าวแต่ไม่ตกลงกันในเรื่องราคาต่อมาส.ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าวดังนี้แม้ส.จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินสำเร็จในภายหลังแต่ก็คงขายให้แก่บริษัทผู้ซื้อซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ติดต่อไว้ก่อนในราคาเดิมซึ่งโจทก์ทั้งสามเคยเสนอไว้เป็นกรณีที่จำเลยถือเอาประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ติดต่อบอกขายที่ดินแก่บริษัทผู้ซื้อมาตั้งแต่ต้นถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่1และที่2เป็นนายหน้าชี้ช่องจัดการโจทก์ที่1และที่2จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนานหน้าตามข้อตกลงร้อยละ5ของราคาที่ดินที่ขายได้แต่คดีนี้โจทก์ที่3มิได้อุทธรณ์ฎีกาโดยโจทก์ที่3ได้ถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วดังนี้คดีสำหรับโจทก์ที่3จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ที่1และที่2สองในสามส่วนของค่านายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟังข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาไม่พบความประมาท คดีแพ่งก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่1เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่1มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีละเมิด: การวินิจฉัยประมาทเลินเล่อในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีบัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องอายุความ 2 ปี เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรโดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถนนเงินอัตโนมัติได้ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันเมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วตามที่จำเลยที่2ฎีกาแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
of 17