พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อ ศาลลดดอกเบี้ยเมื่อสูงเกินส่วน และขอบเขตผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาประการใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการใดประการหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อย่อมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระและหรือค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี..." เมื่อเงินค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถที่เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาได้แต่ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกสัญญาซึ่งเกินคำขอของโจทก์ที่ขอดอกเบี้ย มานับแต่วันฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงคนเดียว แต่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร่วมรับผิดในหนี้เงินกู้, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
จำเลยให้การว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์จริง แต่จำนวนหนี้ไม่มากเท่ากับที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้เพียงว่าจะต้องรับผิดเพียงใดเท่านั้น การที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ได้รับเงินต้นคืนบางส่วน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวเป็นประเด็นมาแต่ศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เงินกู้ เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ชำระเงินต้นให้แก่โจทก์ไปแล้วบางส่วน คงเหลือหนี้ต้นเงินอีกบางส่วนศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่ง มิได้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยึดทรัพย์เพื่อบรรเทาความเสียหายของผู้ร้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ที่ดินที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำยึดและอายัด ผู้ร้องมีภาระที่จะต้องจัดสรรขายและทำนิติกรรมให้แก่ผู้อื่น หากไม่เพิกถอนการยึด ผู้ร้องและบุคคลภายนอกย่อมได้รับความเสียหาย และสมุดเงินฝากธนาคารที่ผู้ร้องเสนอเพื่อนำมาวางเป็นประกัน และจะนำมาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาล ก็มีจำนวนเงินมากกว่าราคาที่ดินที่พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้เฉพาะส่วนที่จำเลยมีสิทธิได้รับ และโจทก์สามารถยึดชำระหนี้ได้เมื่อผู้ร้องแพ้คดี นอกจากนี้ห้าง บ.ได้นำเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องส่งศาลเป็นประจำทุกเดือนตามที่ผู้ร้องกับโจทก์ได้ตกลงกัน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และแม้จะมีการเพิกถอนการยึดและอายัดแล้ว ศาลก็ยังคงพิจารณาไต่สวนเรื่องการร้องขอปล่อยทรัพย์ต่อไป หาทำให้เหตุพิพาทในเรื่องร้องขัดทรัพย์ที่ผู้ร้องร้องหมดไปไม่ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์พิพาท ทั้งนี้ โดยอาศัยเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเพื่อบรรเทาความเสียหายให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นการสั่งโดยอำนาจของศาลที่จะสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าซื้อและการรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าซื้อ
ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ จำเลยที่ 1อาจโอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์อยู่หาพ้นความรับผิดไม่ เว้นแต่จะได้มีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 การที่บริษัทส. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ กับให้จำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์คำร้องขอเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยร่วม สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ยังไม่ระงับและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1
จำเลยร่วมมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้.
จำเลยร่วมมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าซื้อ, หน้าที่ลูกหนี้, อำนาจฟ้อง และการที่จำเลยร่วมไม่ใช่คู่สัญญา
ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ จำเลยที่ 1อาจโอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จำเลยที่ 1ยังมีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์อยู่หาพ้นความรับผิดไม่ เว้นแต่จะได้มีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 การที่บริษัทส. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ กับให้จำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์คำร้องขอเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยร่วม สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ยังไม่ระงับและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด แม้ไม่ได้ฎีกาด้วย
เมื่อสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่สมบูรณ์แล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาด้วยก็ตามเพราะเป็นคำพิพากษาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บริษัท, อำนาจฟ้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิพากษาคดีในปัญหาข้อนี้ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัท
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้