คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 61

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หากพ้นกำหนดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 2 อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายควบคู่การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และผลของการเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 13และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณาใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลยแม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณา ใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณา ใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ ดำเนินคดีมาตาม ขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดี ล้มละลายต่อไปตาม ขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้อง กระทำโดย เร่งด่วนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดย ให้พิจารณาใหม่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วย ตาม บทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจพิพากษาล้มละลายได้ แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยคดีล้มละลายต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน
พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้วส่วนปัญหาที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่กระทบกระเทือนถึงการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เพราะคดีล้มละลายต้องกระทำโดยเร่งด่วน ตามมาตรา 13 หากต่อมาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 62

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้มีการอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้วส่วนปัญหาที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่กระทบกระเทือนถึงการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เพราะคดีล้มละลายต้องกระทำโดยเร่งด่วน ตามมาตรา 13 หากต่อมาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: ศาลพิพากษาล้มละลายได้แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เนื่องจากขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วน
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่กระทบกระเทือนถึงการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เพราะคดีล้มละลายต้องกระทำโดยเร่งด่วนตามมาตรา 13 หากต่อมาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 62

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, คู่สัญญา, มุ่งหมายให้ได้เปรียบ
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่
การซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติชำระต่อกัน ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านตกลงซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับจำเลย ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขายและจำเลยก็มีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื่อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 แล้ว
ผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิใช่เป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนขายทรัพย์สินพิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ระยะเวลา 3 เดือน, เจ้าหนี้, และเจตนาให้ได้เปรียบ
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเอง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม คำว่า "ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย" ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึง ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตาม มาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรง มิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การพิจารณาช่วงเวลาและเจตนาเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้
คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว ดังนี้ เป็นคำร้องที่บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอเข้าใจได้แล้ว เพราะที่ผู้ร้องบรรยายว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' มีความหมายว่าวันที่มีการขอให้ล้มละลายคือวันที่โจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายนั่นเองคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม.
คำว่า 'ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย' ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115 หมายถึงก่อนวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย หาใช่ก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบถึงผลการประชุมเจ้าหนี้เพื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้หรือจำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ไม่ เมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2523 นับถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จึงอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ซึ่งอาจมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้
การซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนังงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายนั้นแก่ผู้คัดค้าน ฉะนั้นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 115
ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้โดยตรงมิใช่บุคคลภายนอกตามมาตรา 116 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้าน ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนให้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 5