พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ, การยกเลิกความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า, และขอบเขตการอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง เนื่องจากโจทก์ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว แต่จำเลยได้ขอแก้ไขคำให้การก่อนสืบพยานจำเลยเป็นให้การรับสารภาพในข้อหานี้แล้ว เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 222 ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 26 มีนาคม 2552 ซึ่งเป็นวันนัดพร้อมว่า ในวันดังกล่าวโจทก์ จำเลย และทนายจำเลยมาศาล จำเลยแถลงขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ตามฟ้อง ส่วนข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ยังคงยืนยันให้การปฏิเสธ ตามคำให้การจำเลยที่ศาลบันทึกไว้ การให้การรับสารภาพของจำเลยในข้อหาความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ตามฟ้อง เป็นการให้การรับสารภาพโดยสมัครใจและเป็นการร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยก่อนศาลพิพากษา เมื่อความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงไม่ใช่ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อนหากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดในฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ตามฟ้องได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานนี้โดยระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยให้การปฏิเสธและโจทก์ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในข้อหาความผิดฐานดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
แม้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังมีบทบัญญัติในมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้น เป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมดังเช่นที่บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ความคุ้มครองไว้ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติใน ป.อ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และเมื่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2504 เท่านั้น ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แห่ง ป.อ. ดังกล่าวมิได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การที่จำเลยผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH RACING PROJECT" มิใช่การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร แต่เป็นกรณีที่จำเลยคิดเครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH RACING PROJECT" ขึ้นเอง มิใช่การปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 โจทก์ร่วมมิได้นำสินค้าของโจทก์ร่วมเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยมิได้มีเจตนาปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้ห้ามผู้จำหน่ายสินค้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยจึงมิใช่เรื่องแปลกดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยนั้น อุทธรณ์ดังกล่าวทั้งหมดเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษปรับจำเลยในข้อหานี้ 5,000 บาท และไม่ปรากฏว่ามีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งรับรองว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39
แม้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังมีบทบัญญัติในมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้น เป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมดังเช่นที่บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ความคุ้มครองไว้ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติใน ป.อ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และเมื่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2504 เท่านั้น ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แห่ง ป.อ. ดังกล่าวมิได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การที่จำเลยผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH RACING PROJECT" มิใช่การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร แต่เป็นกรณีที่จำเลยคิดเครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH RACING PROJECT" ขึ้นเอง มิใช่การปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 โจทก์ร่วมมิได้นำสินค้าของโจทก์ร่วมเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยมิได้มีเจตนาปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้ห้ามผู้จำหน่ายสินค้าจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยจึงมิใช่เรื่องแปลกดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยนั้น อุทธรณ์ดังกล่าวทั้งหมดเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษปรับจำเลยในข้อหานี้ 5,000 บาท และไม่ปรากฏว่ามีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งรับรองว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8511/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริตจากข้อเท็จจริงในคดีเปิดเผย ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยลงพิมพ์ข้อความโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ พ.2/2543 ของศาลล้มละลายกลาง และคดีหมายเลขดำที่ 2450/2546 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง ทั้งข้อมูลดังกล่าวยังเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นศาลที่ดำเนินไปโดยเปิดเผย แม้ในการลงพิมพ์ข้อความของจำเลยจะเป็นการกล่าวสรุปโดยมิได้อ้างว่าเป็นเรื่องของการกล่าวอ้างของคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาล แต่ก็มิได้เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ และความผิดปกติต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นเรื่องที่วิญญูชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าความจริงเป็นเช่นใดแน่ก็ตาม ประกอบกับเนื้อหาในการลงพิมพ์ข้อความของจำเลยโดยรวมมิได้กล่าวถึงการกระทำของโจทก์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกล่าวในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ความล้มเหลวของบรรษัทภิบาลในเอเชียหลังวิกฤตการณ์ด้านการเงินปี 2540 โดยกล่าวถึงการแก้ปัญหาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอินโดนีเซียและประเทศสิงคโปร์ด้วย ส่วนที่มีการกล่าวถึงบริษัท อ. เนื่องจากเป็นบริษัทได้รับผลกระทบที่เป็นผลร้ายมากที่สุดและมีข้อพิพาทรุนแรงที่สุดในเรื่องล้มละลาย ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ อันเป็นเรื่องประชาชนควรรู้ จึงไม่พอถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาร้าย หากแต่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเกิน 250 มิลลิลิตร ถือเป็นมีไว้เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายยาเสพติด
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า ยาแก้ไออันเป็นตำรับยาแผนปัจจุบันที่มีโคเดอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอันถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวน 7 ขวด ของกลาง มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร และตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้ว ไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) จึงต้องถือตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกิน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล หรือไม่ ดังนี้ เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกิน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และการลงโทษฐานกระทำชำเราต่างกรรมต่างวาระ
คดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ชวนผู้เสียหายไปที่ห้องพักของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 6 ครั้ง ซึ่งหลังจากกระทำชำเราผู้เสียหายในแต่ละกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้วข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ในสถานที่เกิดเหตุเพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใด โดยผู้เสียหายได้กลับไปที่บ้าน ผู้เสียหายย่อมพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละกรรมแล้ว แม้จำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2548 เดือนละ 2 ครั้ง และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเดียวกันคือกระทำชำเราก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายไว้จนผู้เสียหายไม่สามารถไปไหนได้ ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า เมื่อระหว่างกลางเดือนตุลาคม 2548 ถึงปลายเดือนธันวาคม 2548 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายรวม 6 ครั้ง และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นต่างกรรมต่างวาระกัน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ง. ว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2549 เวลากลางคืน ถึงวันที่ 5 มกราคม 2549 เวลากลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นกรรมเดียวกันแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ข.
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ง. ว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2549 เวลากลางคืน ถึงวันที่ 5 มกราคม 2549 เวลากลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นกรรมเดียวกันแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5087/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าในคดีชุลมุนต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงและฟันผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลฉีกขาดที่แขนขวาท่อนล่างยาว 5 เซนติเมตร เอ็นฉีกขาดและเส้นประสาทขาด บาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าอกด้านซ้ายกว้าง 1.5 เซนติเมตร ลึก 2 เซนติเมตร นิ้วก้อยซ้ายและนิ้วนางซ้ายขยับไม่ได้ ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ แสดงให้เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บมากจนนิ้วก้อยซ้ายและนิ้วนางซ้ายขยับไม่ได้ ผู้เสียหายที่ 1 รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 5 วัน และรักษาตัวที่บ้านประมาณ 2 เดือน แผลจึงหายเป็นปกติ ระหว่างที่รักษาตัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จึงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายที่ 1 ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันเป็นอันตรายสาหัส
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าแต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 1 ถูกทำร้ายเนื่องจากการชุลมุนต่อสู้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกอันเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากการชุลมุนดังกล่าวหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าแต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 1 ถูกทำร้ายเนื่องจากการชุลมุนต่อสู้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกอันเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากการชุลมุนดังกล่าวหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าขนส่งและการรับสารภาพของจำเลย ศาลพิจารณาความถูกต้องของหนี้และดอกเบี้ย
ตอนแรกจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยทั้งสองตกลงว่าจะชำระเงินให้โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันวางบิล แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 ขอผ่อนผันเป็นชำระเงินภายใน 90 วัน โดยจำเลยทั้งสองยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาท ซึ่งโจทก์ก็ตกลงด้วย แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์วางบิลเรียกเก็บเงิน จำเลยทั้งสองไม่ชำระโดยมียอดหนี้ค่าขนส่งสินค้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเสียหายตามที่ตกลงกันไว้เดือนละ 20,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,402,302.29 บาท และจำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาท 4 ฉบับ ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แล้วโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานต่อในนัดหน้า แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองขอถอนคำให้การเดิมแล้วให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดจริงตามฟ้องโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า ค่าเสียหายเดือนละ 20,000 บาท เป็นเบี้ยปรับก็ดี เป็นเรื่องที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะสูงเกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือ 15 ต่อปี หนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ จึงรวมเอาหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายไว้ด้วยก็ดี ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและขัดกับข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดสนับสนุนการออกใบเสร็จปลอม - การลงโทษซ้ำซ้อน
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีโดยมิชอบเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นผู้ปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีและเมื่อมีการล่อซื้อใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีปลอมจำนวน 69 ชุดในครั้งเดียวการกระทำของจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินปลอมรวม 69 ชุด จึงเป็นความผิดกรรมเดียว การที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ในความผิดฐานนี้ 69 กระทง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเรื่องที่จำเลยอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายอยู่กินกับผู้อื่นก่อน แต่ยังอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา
คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ฎีกาว่ามิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 3 มีอาการคลุ้มคลั่งไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้คดีได้ก็เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 3 ว่า การที่ผู้เสียหายได้ออกจากบ้านบิดามารดาโดยไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่นมาก่อน เมื่อเลิกกับสามีจึงมาอยู่กับจำเลยที่ 3 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะพาผู้เสียหายไปค้าประเวณีจะเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาหรือไม่ ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนี้ไว้ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้ใหม่ได้
เด็กหญิง อ. ผู้เสียหายอายุไม่เกินสิบห้าปีอาศัยอยู่กับมารดาจนปี 2537 ผู้เสียหายทะเลาะกับมารดาจึงออกจากบ้านไปทำงานที่ร้านอาหารข้างบ้าน จากนั้นผู้เสียหายมีสามีโดยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่ก็มิได้ทำการสมรส โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 และยังคงอยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 3 ว่า การที่ผู้เสียหายได้ออกจากบ้านบิดามารดาโดยไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่นมาก่อน เมื่อเลิกกับสามีจึงมาอยู่กับจำเลยที่ 3 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะพาผู้เสียหายไปค้าประเวณีจะเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาหรือไม่ ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนี้ไว้ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้ใหม่ได้
เด็กหญิง อ. ผู้เสียหายอายุไม่เกินสิบห้าปีอาศัยอยู่กับมารดาจนปี 2537 ผู้เสียหายทะเลาะกับมารดาจึงออกจากบ้านไปทำงานที่ร้านอาหารข้างบ้าน จากนั้นผู้เสียหายมีสามีโดยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่ก็มิได้ทำการสมรส โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 และยังคงอยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนรั้วเพื่อสร้างรั้วใหม่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของเดิมยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์เดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ.มาตรา 83, 84,91, 358, 363, 365 และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ว่า การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้ทำให้รั้วลวดหนามเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์จากการใช้สอยสำหรับโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ถูกต้องก่อนว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเสารั้วและลวดหนามนั้นหรือไม่
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์