พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนรั้วเพื่อสร้างรั้วใหม่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของเดิมยังสามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,91,358,363,365 และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ว่า การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้ทำให้รั้วลวดหนามเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์จากการใช้สอยสำหรับโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ถูกต้องก่อนว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเสารั้วและลวดหนามนั้นหรือไม่
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดย พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดิน และผลกระทบต่อความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตปฏิรูปที่ดินทำให้การบุกรุกป่าสงวนฯ สิ้นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26(4)ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้องที่ไม่เป็นสาระสำคัญ และสิทธิของผู้ทรงเช็ค
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส.ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ. ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส.มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย เช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ.จึงเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ภริยาจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือว่าภริยาจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญ และมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงต่อสู้
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส.ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ. ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส.มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย เช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ.จึงเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ภริยาจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือว่าภริยาจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญ และมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐาน และการตีความบทอาญาต้องเคร่งครัด
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้น จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหาย จึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์สินที่จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากมาตรา 218 เป็น 217
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้นจำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)กประกอบด้วยมาตรา247และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา217จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดจะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแรงแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218แต่เมื่อมาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา217ไว้ด้วยจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา217ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารปลอมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ และการวินิจฉัยความเสียหายไม่เกินคำขอ
สำเนาเอกสารสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่จำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา118ก็ตามจะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมว่าโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายป.ส.ช.ล.ผู้อื่นและประชาชนโดยไม่ได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมอาจจะฟ้องร้องให้ผู้มีชื่อเป็นผู้จะขายที่ดินโอนที่ดินให้โจทก์ร่วมนั้นมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญาซื้อขายไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ การพิพากษาเกินคำขอ
สำเนาเอกสารสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่จำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วม ศาลรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามป.รัษฎากร มาตรา 118 ก็ตาม จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะคดีแพ่งเท่านั้นไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมว่า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ป. ส. ช. ล.ผู้อื่น และประชาชน โดยไม่ได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมอาจจะฟ้องร้องให้ผู้มีชื่อเป็นผู้จะขายที่ดินโอนที่ดินให้โจทก์ร่วมนั้น มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมว่า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ป. ส. ช. ล.ผู้อื่น และประชาชน โดยไม่ได้บรรยายว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมอาจจะฟ้องร้องให้ผู้มีชื่อเป็นผู้จะขายที่ดินโอนที่ดินให้โจทก์ร่วมนั้น มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกล่าวถ้อยคำสบประมาทต่อหน้า: ความผิดฐานดูหมิ่น vs. หมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้ พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คนร.ส.พ.ทำงานกันอย่างนี้หรือ" โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตาม ป.อ. มาตรา 393 และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นซึ่งหน้าและการสบประมาทในที่ทำงาน: การวินิจฉัยความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อหน้าโจทก์ร่วมและลูกน้องของโจทก์ร่วมว่า"แม่มึงไม่ต้องไปฟัง กูจะเอาอย่างนี้ ถ้าเซ็นไม่ได้ก็ไม่เป็นไรคุณเป็นหัวหน้าคนได้อย่างไร ทำงานไม่รับผิดชอบ ตัดสินปัญหาไม่ได้พอมีปัญหาก็โยนกันไปโยนกันมา คน ร.ส.พ. ทำงานกันอย่างนี้หรือ"โดยกล่าวในที่ทำงานของโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังปฏิบัติหน้าที่จึงเป็นการสบประมาทโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมอับอายขายหน้าเป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393และเนื่องจากถ้อยคำดังกล่าวเป็นการวิจารณ์การทำงานของโจทก์ร่วมที่กล่าวต่อโจทก์ร่วมโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท