คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 222

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์: การปฏิบัติหน้าที่ราชการแม้ไม่ได้สังกัดหน่วยงานโดยตรง
จำเลยทั้งสองเป็นครูโรงเรียนวิสุทธิกษัตรีสังกัดกรมสามัญศึกษาไม่ได้สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนแต่จำเลยทั้งสองได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ทางธุรการและการเงินของโรงเรียนผู้ใหญ่วิสุทธิกษัตรีสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยราชการด้วยกันย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานและได้ปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ไม่จัดการนำส่งประธานกรรมการเก็บรักษาเงินตามระเบียบจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์โดยทุจริตอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147ซึ่งความผิดดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้จะร้องทุกข์เกิน3เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีก็หาขาดอายุความไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้ากับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่ และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้า เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่ เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปอันเป็นการประกอบกิจการ ท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลย ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือกับฎีกาว่าเรือสมิหลา2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสอง แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์ จากกิจการดังกล่าวก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่างๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำความผิด เกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรงย่อมถือว่าจำเลยที่ 2ร่วมกระทำ ความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้า กับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด 1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป อันเป็นการประกอบกิจการท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือ กับฎีกาว่าเรือสมิหลา 2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าว ก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งโดยไม่ครบถ้วนไม่ถือเป็นความเท็จ ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจำต้องฟัง ข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย การยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน หรือมีหลักฐานการจ่ายเงินไม่ครบถ้วน ไม่ถือว่าเป็นการยื่นรายการค่าใช้จ่ายเป็นเท็จ เป็นเพียงการยื่นที่บกพร่องหรือไม่สมบูรณ์เท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษไว้ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานตาม ม.157 จากการหลอกลวงราษฎรเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในการจัดสร้างทำนบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนมีหน้าที่ด้านพัฒนาชุมชนโดยเป็นผู้วางแผนหรือวางโครงการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับราษฎรและติดต่อประสานงานระหว่างราษฎรกับทางราชการ จำเลยเป็น ผู้วางโครงการจัดสร้างทำนบฝายน้ำล้นตามความต้องการของราษฎร เพื่อเสนอให้ พ. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนำไปชี้แจงขอรับ เงินจัดสรร จากรัฐบาล การที่จำเลยหลอกลวงเอาเงินราษฎรที่ เข้าร่วมประชุมด้วยการเสนอข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยอ้างว่าเพื่อจะนำไปมอบ ให้ พ. เป็นค่าใช้จ่ายในการวิ่งเต้นขอจัดสรรเงินจากทางราชการ และเอาเงินนั้นไว้เป็นของตนจึงเป็นการ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแม้จะเป็นการจูงใจ ให้ราษฎรที่ประชุมมอบเงินหรือทรัพย์สินให้แก่จำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั้น ถือเอาเจตนาแสดง ข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อสำคัญ มิได้ถือเอาจำนวน ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมากหรือน้อยเป็นเกณฑ์ การที่ จำเลยหลอกลวงเอาเงินจากราษฎรที่มาประชุมจัดสร้างทำนบ ฝายน้ำล้นแม้บุคคลที่ถูกจำเลยหลอกลวงจะมีหลายคน ก็ถือ ไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน ตามมาตรา 343 คดีที่โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟัง ข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 แต่ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้นไม่พอแก่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใน สำนวนเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานหลอกลวงประชาชนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าข่ายความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ด้านพัฒนาชุมชนโดยเป็นผู้วางแผนหรือวางโครงการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับราษฎรและติดต่อประสานงานระหว่างราษฎรกับทางราชการ จำเลยเป็น ผู้วางโครงการจัดสร้างทำนบฝายน้ำล้นตามความต้องการของราษฎร เพื่อเสนอให้ พ. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนำไปชี้แจงขอรับ เงินจัดสรร จากรัฐบาล การที่จำเลยหลอกลวงเอาเงินราษฎรที่ เข้าร่วมประชุมด้วยการเสนอข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยอ้างว่าเพื่อจะนำไปมอบ ให้ พ.เป็นค่าใช้จ่ายในการวิ่งเต้นขอจัดสรรเงินจากทางราชการ และเอาเงินนั้นไว้เป็นของตนจึงเป็นการ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแม้จะเป็นการจูงใจ ให้ราษฎรที่ประชุมมอบเงินหรือทรัพย์สินให้แก่จำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั้น ถือเอาเจตนาแสดง ข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อสำคัญ มิได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมากหรือน้อยเป็นเกณฑ์ การที่ จำเลยหลอกลวงเอาเงินจากราษฎรที่มาประชุมจัดสร้างทำนบ ฝายน้ำล้นแม้บุคคลที่ถูกจำเลยหลอกลวงจะมีหลายคน ก็ถือ ไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน ตามมาตรา 343
คดีที่โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222แต่ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้นไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใน สำนวนเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกาย: ศาลพิจารณาจากลักษณะการกระทำและอาวุธที่ใช้เพื่อวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทมาตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้มีดปอกผลไม้ทั้งด้ามและตัวมีดยาวเพียง 1 คืบ แทงผู้เสียหายไป 1 ที ขณะชกต่อยกัน แล้วมิได้แทงซ้ำอีก แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ไม่ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกาย: พิจารณาจากลักษณะการกระทำและอาวุธที่ใช้ เพื่อวินิจฉัยความผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือพยายามฆ่า
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทมาตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้มีดปอกผลไม้ทั้งด้ามและตัวมีดยาวเพียง 1 คืบแทงผู้เสียหายไป 1 ที ขณะชกต่อยกัน แล้วมิได้แทงซ้ำอีก แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่าจากข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ไม่ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อมูลลงเวลาทำงานโดยนายจ้าง ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า "ให้มันยุติธรรมหน่อย" และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด แม้เป็นการมอบตัวอย่างเพื่อหลอกลวง ก็ถือเป็นการจำหน่ายได้ และการริบของกลางต้องเป็นของจำเลย
ตำรวจปลอมตัวเป็นพ่อค้าไปล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลย แต่จำเลยนำผงซักฟอกมาหลอกขายให้แทน ในการหลอกขายนี้จำเลยได้นำเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกครึ่งหลอดมามอบให้ตำรวจ มิใช่เพียงมอบให้ดูเท่านั้น แต่มอบให้ตำรวจไปเลย แม้จำเลยจะมอบให้เพื่อเป็นตัวอย่างในการหลอกขายผงซักฟอกก็ตาม ก็เป็นการมอบเฮโรอีนให้แก่ผู้อื่น ถือเป็นการจำหน่ายแจกจ่ายเฮโรอีนครึ่งหลอดนั้นให้แก่ตำรวจ คำว่า "จำหน่าย" มิได้หมายความเฉพาะการขายเท่านั้น การจำหน่ายแจกจ่ายด้วยประการใดก็ถือเป็นการจำหน่าย
ธนบัตรของกลางฉบับละห้าร้อยบาท 10 ฉบับ ที่เจ้าพนักงานนำมาใช้ล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าเป็นเงินที่ตำรวจยืมมาจากสำนักงานปราบปรามยาเสพติดให้โทษอเมริกา ฯ หาใช่เป็นของจำเลยไม่ ฉะนั้นจึงต้องคืนธนบัตรนั้นให้แก่เจ้าของจะริบไม่ได้
of 21