พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้เจตนาในการรับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดมีผลต่อการลงโทษตามมาตรา 357
การจะลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อได้ความว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคท้าย เมื่อทางพิจารณาได้ความเพียงว่า รถกระบะของกลางเป็นทรัพย์ที่ น. ได้มาจากการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ คงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16275/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทโดยสุจริตและสำคัญผิด: การยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 62 และ 330
แม้ขณะที่จำเลยทำหนังสือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในขณะนั้นจะไม่ปรากฏคำว่า "แกนนำ" แต่ก็เป็นถ้อยคำที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายทั้งในสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และในสังคมไทยที่มีการชุมนุมกันทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ มากมาย โดยเป็นการนำความหมายของคำว่า "แกน" ซึ่งเป็นคำนามหมายความว่า วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสำหรับยึดให้อยู่ และความหมายของคำว่า " นำ" ซึ่งเป็นคำกริยาหมายความว่า ไปข้างหน้า เช่น นำขบวนหรือออกหน้ามากล่าวรวมกันเป็น "แกนนำ" เพื่อบ่งบอกว่า ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการชุมนุมกันทางการเมืองนั้น เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นหลักยึดเป็นผู้นำให้แก่ผู้ร่วมชุมนุมนั่นเอง ซึ่งต่อมาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็ให้ความหมายในทำนองนี้ว่า "แกนนำ" เป็นคำนามแปลว่า ผู้ที่เป็นหลักในการเจรจาเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงอาจถือเอาตามความหมายที่รู้และเข้าใจกันในการสื่อสารในสังคมไทยในขณะนั้นเพื่อพิจารณาว่าข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือไม่
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทของ ด. เป็นแกนนำในการจัดกำลังพนักงานพิทักษ์ป่าและเคลื่อนกำลังไปชนกับกลุ่มของ ส. ที่ชุมนุมกันอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายและความไม่สงบขึ้นกับบ้านเมืองจริงตามข้อความที่จำเลยเขียน ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เป็นแกนนำกระทำการดังที่จำเลยกล่าวใส่ความจริง แต่จำเลยสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 62 ประกอบมาตรา 330 และปัญหาว่า การกระทำของจำเลยได้รับยกเว้นโทษเพราะสำคัญผิดในข้อที่หาว่าหมิ่นประมาท เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทของ ด. เป็นแกนนำในการจัดกำลังพนักงานพิทักษ์ป่าและเคลื่อนกำลังไปชนกับกลุ่มของ ส. ที่ชุมนุมกันอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายและความไม่สงบขึ้นกับบ้านเมืองจริงตามข้อความที่จำเลยเขียน ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เป็นแกนนำกระทำการดังที่จำเลยกล่าวใส่ความจริง แต่จำเลยสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 62 ประกอบมาตรา 330 และปัญหาว่า การกระทำของจำเลยได้รับยกเว้นโทษเพราะสำคัญผิดในข้อที่หาว่าหมิ่นประมาท เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่น: เจตนาและเหตุการณ์ที่เล็งเห็นผลได้ในการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปยังบ้านที่เกิดเหตุพร้อมกับ ว. แล้ว จำเลยที่ 2 เรียกชื่อเล่นของ น. ว่า ปู เมื่อผู้ตายตะโกนว่าปูไม่อยู่ ว. ใช้อาวุธปืนยิงไปที่ประตูบ้านถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยทั้งสองและ ว. พากันหลบหนีไป ว. ไปถอดหมวกนิรภัยและเสื้อที่สวมใส่ในขณะก่อเหตุที่บ้านของจำเลยทั้งสองก่อนจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองบ่งชี้ว่ามีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับ ว. จึงเป็นตัวการร่วมกัน แต่การที่ ว. ใช้อาวุธปืนยิงไปที่ประตูบ้าน 2 นัด หลังจากผู้ตายตะโกนบอกว่าปูไม่อยู่ กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกคนในบ้านถึงแก่ความตายเท่านั้น มิได้ประสงค์ต่อผลโดยตรงที่จะยิงให้ถูก น. เนื่องจากมองไม่เห็นว่า น. อยู่ที่ใด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงลงโทษได้ในฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น โดยบุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนโดยทราบว่าไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
จำเลยทราบแล้วว่าไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังคงครอบครองปลูกต้นส้มต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เพราะทำให้กลายเป็นสวนส้ม ไม่เป็นป่าตามสภาพเดิม จำเลยไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ตาม ป.อ. มาตรา 62 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้าย ยิงป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.69, 62
จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาลักผลไม้ในไร่และผู้ตายเดินเข้ามาจะทำร้ายจำเลย แต่ผู้ตายไม่ได้มีอาวุธหรือพูดข่มขู่หรือมีกิริยาอาการว่าจะทำร้ายจำเลยโดยวิธีใดอันจะทำให้จำเลยได้รับอันตรายร้ายแรง หากจำเลยเพียงแต่ยิงขู่ก็น่าจะเป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ตายเกรงกลัวและหลบหนีไปได้เพราะผู้ตายมิใช่คนร้าย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตายที่บริเวณหน้าท้อง 1 นัด จนผู้ตายล้มลงแล้วจำเลยยังใส่กระสุนปืนลูกซองเข้าไปใหม่แล้วยิงผู้ตายที่ศีรษะซ้ำอีก 1 นัด จนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยป้องกันอันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 69 และความสำคัญผิดของจำเลยเกิดขึ้นโดยความประมาท เนื่องจากมิได้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบว่าผู้ตายกับพวกเป็นคนร้ายจริงไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 โดยผลของมาตรา 62 วรรคสองด้วย ซึ่งแม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่เป็นการต่างกันระหว่างการกระทำความผิดโดยเจตนากับประมาท ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้เจตนาขณะกระทำผิดมีผลต่อการลงโทษตามมาตรา 357 วรรคสอง
แม้ในทางพิจารณาจะได้ความว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรของจำเลยได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการปล้นทรัพย์ ซึ่งต้องด้วยลักษณะฉกรรจ์ในความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่า ในขณะกระทำความผิดจำเลย ได้รู้อยู่แล้วว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ทั้งนี้ ตามมาตรา 62 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยได้รู้อยู่แล้วว่าทรัพย์ของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ คดีจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร อันต้องด้วยลักษณะฉกรรจ์ตามมาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม มาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น
ปัญหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225.
ปัญหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่อเนื่องในการฆ่า, ความผิดสองกรรม, และการลดโทษจากสารภาพ
ถ้อยคำที่ผู้ตายที่ 1 ด่าจำเลยว่า "โคตรพ่อโคตรแม่" แม้จะเป็นถ้อยคำก้าวร้าวหยาบคายเป็นที่ระคายเคืองแก่จำเลยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72
ในชั้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การต่อสู้โดยอ้างเหตุบันดาลโทสะสำหรับความผิดฐานฆ่าผู้ตายที่ 2 เท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยสำคัญผิด ส่วนในชั้นสืบพยาน จำเลยนำสืบต่อสู้ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ว่าจำเลยยิงผู้ตายที่ 2 เพื่อป้องกันตัวโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 จะเข้ามาทำรายจำเลย และในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้อ้างเหตุสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 เป็นการกระทำโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 ได้นำเครื่องมือทำงานที่เป็นเหล็กแหลมและค้อนติดตัวมาด้วย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดมิให้ผู้ตายกับพวกเข้ามาทำร้ายจำเลยซึ่งมีขาพิการนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 1 แล้ว จำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 และหลานชายผู้ตายที่ 2 กรูเข้ามาหาจำเลยโดยวิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดขึ้นไป รวมทั้งใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 ด้วย แสดงว่าจำเลยมีเจตนายิงผู้ตายที่ 1 ก่อน ต่อมาเมื่อจำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 วิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงเกิดมีเจตนายิงผู้ตายที่ 2 เสียด้วย ซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง แม้จะเป็นการกระทำความผิดในเวลาต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดที่อาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรม
ในชั้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การต่อสู้โดยอ้างเหตุบันดาลโทสะสำหรับความผิดฐานฆ่าผู้ตายที่ 2 เท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยสำคัญผิด ส่วนในชั้นสืบพยาน จำเลยนำสืบต่อสู้ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ว่าจำเลยยิงผู้ตายที่ 2 เพื่อป้องกันตัวโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 จะเข้ามาทำรายจำเลย และในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้อ้างเหตุสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 เป็นการกระทำโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 ได้นำเครื่องมือทำงานที่เป็นเหล็กแหลมและค้อนติดตัวมาด้วย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดมิให้ผู้ตายกับพวกเข้ามาทำร้ายจำเลยซึ่งมีขาพิการนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 1 แล้ว จำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 และหลานชายผู้ตายที่ 2 กรูเข้ามาหาจำเลยโดยวิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดขึ้นไป รวมทั้งใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 ด้วย แสดงว่าจำเลยมีเจตนายิงผู้ตายที่ 1 ก่อน ต่อมาเมื่อจำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 วิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงเกิดมีเจตนายิงผู้ตายที่ 2 เสียด้วย ซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง แม้จะเป็นการกระทำความผิดในเวลาต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดที่อาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัวโดยสำคัญผิด: การกระทำพอสมควรแก่เหตุเมื่อสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายในสถานการณ์ที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม
ช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุมและก่อนเกิดเหตุจำเลยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ การที่ผู้ตายเข้าไปในบ้านจำเลยในยามวิกาลโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและจำเลยไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยอาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันที และจำเลยยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ยิงซ้ำ การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาตัดสินให้พิจารณาอุทธรณ์เรื่องความผิดฐานบุกรุกโดยร่วมกระทำความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเฉพาะความผิดฐานบุกรุก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 นำกุญแจเปลี่ยนใส่ห้องพิพาทแทนกุญแจของโจทก์และเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินในห้องพิพาทเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 (2) ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 362 เท่านั้น โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกตามมาตรา 365 (2) ด้วยหรือไม่ โดยไม่ปรากฏเหตุผล การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย มาตรา 186 (6) ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 15
ป.วิ.พ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่อยู่ในนิยาม 'ป่า' การตัดไม้ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 3(2) จึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1)การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก.ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่ง