คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: คำว่า 'TWO WAY' ไม่เป็นลักษณะบ่งเฉพาะ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยใช้คำนี้กับสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ละเมิดสิทธิ
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน ศาลต้องตรวจข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์และข้อเถียงตามคำให้การของจำเลยทั้งสิบเอ็ด หากมีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในคำฟ้อง แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดให้การโต้เถียงปฏิเสธไม่รับ ศาลต้องกำหนดข้อที่ไม่รับกันนั้นไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 เมื่อจากคำฟ้องและคำให้การเห็นได้ชัดแจ้งว่าคดีมีข้ออ้างและข้อเถียงกันเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า จำเลยร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 370236 โดยเจตนาไม่สุจริตหรือไม่ เพราะโจทก์อ้างในคำฟ้องโดยแจ้งชัดว่าจำเลยร่วมผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 370236 ได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "TWO WAY" ไปใช้รวมกับคำอื่นโดยวางใต้อักษรโรมันคำว่า "Za" แล้วนำไปยื่นขอจดทะเบียนโดยมีเจตนาไม่สุจริตอาศัยการมีชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดให้การปฏิเสธไม่รับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างในคำฟ้อง โดยให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธว่า การที่จำเลยร่วมผู้ขอจดทะเบียนได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 370236 โดยมีคำว่า "TWO-WAY FOUNDATION" อยู่ใต้คำว่า "Za" โดยปฏิเสธที่จะขอถือสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า "TWO-WAY" ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยร่วมกระทำการโดยสุจริต ปัญหาเรื่องผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสุจริตหรือไม่ จึงมิได้มีเฉพาะกรณีการใช้เครื่องหมายการค้าต่างเจ้าของโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 27 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในชั้นชี้สองสถานจึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาว่าด้วยการพิจารณา
การที่จำเลยร่วมยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 รวมทั้งสินค้าแป้งผัดหน้าหรือแป้งแข็งด้วยตามคำขอเลขที่ 370236 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2541 เป็นเพียงการนำคำว่า "TWO WAY" ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อใช้กับสินค้าแป้งผัดหน้าหรือแป้งแข็งดังกล่าวมาใช้ประกอบกับคำว่า "Za" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า ทั้งปรากฏว่า จำเลยร่วมผู้ขอจดทะเบียนไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า "TWO WAY" ดังนี้ การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามคำขอเลขที่ 370236 ของจำเลยร่วมจึงหาใช่การนำคำว่า "TWO WAY" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ของโจทก์มาใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้า โดยมีเจตนาไม่สุจริตอาศัยชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทและตั๋วแลกเงิน เป็นการคิดในอัตราสินเชื่อผิดนัด แต่อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์และจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในอัตราสินเชื่อผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เอกสารหมาย จ. 58 เป็นการคิดดอกเบี้ยผิดไปจากสัญญาที่ระบุไว้โดยไม่มีสิทธิที่จะคิดได้โดยชอบ จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาแผนกทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
คำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอให้จำเลยวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นคำร้องเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 253 ที่จะให้ความคุ้มครองโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง โดยคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษาหากมีกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 93 ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องสำเร็จเมื่อมีเงินเข้าบัญชี แม้ไม่ครบหนี้ โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนอายัด
การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารมิใช่เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 313 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รวมตลอดถึงจำนวนเงินซึ่งถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย การที่ธนาคารส่งมอบเงินในบัญชีเงินฝากที่โจทก์ขอให้อายัดซึ่งมีจำนวนเพียง 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี การอายัดสิทธิเรียกร้องจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงิน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกสถานหนึ่งต่างหาก กรณีจึงไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่โจทก์จะขอถอนการอายัดซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วนั้นอีก ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่การที่โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท ที่อายัดได้นั้นโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินในบัญชี การคิดค่าธรรมเนียมเมื่ออายัดสำเร็จ และสิทธิในการอายัดเงินที่เกิดขึ้นใหม่
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,347,571.19 บาท แต่ในบัญชีของจำเลยที่ 2 มีเงินเพียง 490 บาท โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท พร้อมแถลงไม่ติดใจอายัดเงินในบัญชีของจำเลยที่ 2 การที่ธนาคารส่งมอบเงินตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 จำนวน 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามเพิ่มเติมว่าบัญชีของจำเลยที่ 2 ที่ใช้กับธนาคารมียอดเป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์ขอให้อายัดมีจำนวนเงินเพียง 490 บาท ตามที่ธนาคารส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงินจำนวน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ขออายัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอรับเงินจำนวน 490 บาท ที่อายัดได้นั้น โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2 ของจำนวนเงิน 490 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การที่ตัวแทนผู้ขนส่งยกอายุความมีผลถึงผู้ขนส่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องในมูลสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์ผู้ส่งฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: หลักฐานความเป็นนิติบุคคลและคำแปลเอกสารสำคัญที่ศาลต้องได้รับ
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำฟ้องโดยไม่ได้แนบหลักฐานแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 มาท้ายคำฟ้อง คงแนบมาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ที่ให้ ท. ฟ้องคดีนี้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จำเลยให้การว่าโจทก์อ้างว่ามีการมอบอำนาจ แต่ไม่บรรยายว่าผู้ใดเป็นกรรมการบรรษัทโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและเอาเปรียบจำเลย ขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นเรื่องอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยส่งหนังสือรับรองบรรษัทโจทก์ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 ที่ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มิได้ส่งคำแปลเอกสารทั้งสองฉบับเป็นภาษาไทยซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้โจทก์แปลเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดีแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งพยานเอกสารทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เสียหายแก่จำเลยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสาม พยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ท. ฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายตามน้ำหนักและอัตราจำกัด, การจำกัดความรับผิดตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล
ข้อตกลงระหว่างบริษัท ท. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งผ่านทางจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับเงื่อนไขในการขนส่งกำหนดว่า ผู้ส่งมีหน้าที่เพียงหีบห่อและผูกมัดสินค้าม้วนเหล็กไว้บนฐานรองไม้ให้เรียบร้อยแล้วส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ท่าเรือ โดยต้องชำระเงินทั้งค่าระวางและค่ารัดตรึงสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งไปในคราวเดียวกัน จากนั้นทางฝ่ายผู้ขนส่งตามสัญญารับขนระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ท. จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไปทั้งในเรื่องการบรรจุ การรัดตรึงสินค้าและการขนส่ง และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 2 ออกให้ไว้แก่บริษัท ท. อันถือเป็นหลักฐานแห่งการรับสินค้า ระบุไว้ว่าผู้ขนส่งสินค้ารับสินค้าไว้ในสภาพเรียบร้อยดีและไม่มีการบันทึกข้อสงวนเกี่ยวกับสภาพสินค้าและการหีบห่อเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่ง จึงถือไม่ได้ว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของบริษัท ท. ผู้ส่ง หากแต่เป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญาที่ทำกับบริษัท ท. ที่ไม่ได้บรรจุและรัดตรึงสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าขณะอยู่ในความดูแลของตนเองให้ดีพอ เมื่อความเสียหายไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ส่ง ผู้ขนส่งจึงไม่อายปฏิเสธความรับผิดชอบ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 52 (9) ได้ เมื่อผู้ขนส่งต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ตกลงทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงต้องรับผิดตามสัญญาด้วย เมื่อ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดระบุข้อยกเว้นให้ตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเอง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องเป็นไปตามมาตรา 824 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งบังคับใช้กับสัญญาโดยทั่วไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายของสินค้าม้วนเหล็กระบุจำนวนสินค้าม้วนเหล็กและเลขที่ของสินค้าม้วนเหล็กรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 31,676.40 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินบาทจำนวน 1,369,154.01 บาท และปรากฏตามเอกสารซึ่งโจทก์นำสืบว่าเป็นรายงานการสำรวจความเสียหายพร้อมคำแปลระบุรายละเอียดค่าเสียหายเป็นดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทจำนวนตรงกัน โดยมีรายละเอียดของสินค้าม้วนเหล็กและเลขที่ของสินค้าม้วนเหล็กนอกเหนือจากที่ระบุในฟ้องแต่ตรงกับที่โจทก์ระบุขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ระบุในคำฟ้องผิดพลาดไป การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์เพื่อขอเพิ่มเติมจำนวนสินค้าม้วนเหล็กที่ได้รับความเสียหายเป็นการแก้ไขรายละเอียดให้ตรงตามยอดค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ระบุไว้ตั้งแต่แรก จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว 1 ปาก ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 60 ในกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า" ส่วนมาตรา 60 บัญญัติว่า การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58 มิให้ใช้บังคับแก่กรณีดังกล่าวไปนี้... (4) ผู้ส่งของได้แจ้งราคาของที่ขนส่งให้ผู้ขนส่งทราบและผู้ขนส่งยอมรับโดยแสดงราคาของนั้นไว้ในใบตราส่ง เมื่อพิจารณาใบตราส่งไม่ปรากฏว่าใบตราส่งได้ระบุราคาของหรือสินค้าเหล็กม้วนพิพาทไว้ กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้ใช้มาตรา 58 บังคับตามความในมาตรา 60 ดังกล่าว จึงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า แต่ในกรณีที่คำนวณราคาของหรือสินค้าที่สูญหายหรือเสียหายได้มาตรา 61 แล้ว ปรากฏว่าของนั้นราคาต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าวข้างต้นให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้นั้น การคำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายมีหลักเกณฑ์ตามมาตรา 61 ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของนั้นสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า สินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กสแตนเลสมีลักษณะม้วนเป็นวงกลมทบกันหลายชั้น แต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ ดังนั้น แผ่นเหล็กสแตนเลส 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง และเนื่องจากแผ่นเหล็กสแตนเลสดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิของแต่ละม้วนที่เสียหายในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งมีจำนวนเงินมากกว่าการคำนวณจากหน่วยการขนส่งในอัตราม้วนละ 10,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจำเลยร่วม และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารและข้อตกลงในสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 แถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ ไม่ติดใจต่อสู้ตามคำให้การและทางนำสืบของตน เท่ากับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ทุกประเภทที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์แล้ว ฉะนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 6 อีกต่อไป การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไปวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ถูกต้อง
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนวนที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ และตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาแต่อย่างใด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิพากษาค่าเสียหายและขอบเขตคำขอให้ระงับการกระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้
of 29