คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานจากต่างประเทศ: ฟ้องชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุหลักเกณฑ์คุ้มครองของประเทศนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 61 โดยกล่าวในฟ้องว่างานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศภาคแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ลงวันที่ 15พฤษภาคม 2539 จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า กฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42ซึ่งถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 61แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำพิพากษาศาล: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีได้หากพยานหลักฐานเพียงพอและเชื่อมโยงกับประเด็นข้อพิพาท
แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีของตนในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาก็ตามแต่การที่ศาลดังกล่าวจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลทั่ว ๆ ไปในคดี รวมทั้ง พิจารณาถึงความสุจริต ในการดำเนินคดีของโจทก์ และผลได้ผลเสียของ คู่ความทุกฝ่ายด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องคดีเพราะโจทก์เข้าใจว่าโจทก์จะต้องแพ้คดีซึ่งทนายโจทก์ย่อมทราบดีว่า หากศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย พฤติการณ์การขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตอาจทำให้ จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 กำหนดให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้ง โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างก็ได้อ้าง สำนวนคดีแพ่งก่อนของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลได้มีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาแล้วและศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งก่อนเพียงพอให้รับฟัง ได้เป็นยุติและเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น อีกต่อไป ศาลก็ย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์หลังศาลพิพากษา และการไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ชอบที่ยื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลนั้นพิพากษา การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาคดีไปแล้วย่อมเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ที่ 4 ขอถอนอุทธรณ์ อ้างว่าตนตกลงกับโจทก์ได้แล้วและโจทก์แถลงไม่คัดค้านการถอนอุทธรณ์ ย่อมมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ถอนอุทธรณ์ได้
ข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตให้คู่ความใช้วิธีบันทึกถ้อยคำแทนการนำตัวพยานซึ่งอยู่ต่างประเทศเสนอต่อศาลอยู่แล้ว การส่งประเด็นไปสืบพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างประเทศต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน เมื่อจำเลยที่ 5 มีความประสงค์จะสืบตัวจำเลยที่ 3 เป็นพยานอีกเพียงปากเดียวแต่มิได้แสดงเหตุผลถึงความเป็นเป็นพิเศษในการที่จะขอส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 3ที่ดินแดนไต้หวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นและงดสืบพยานจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หลังการซื้อขาย และขอบเขตการอนุญาตใช้สิทธิ
คำฟ้องเป็นเพียงการบรรยายสรุปถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้าเพื่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหาย รวมทั้งคำขอบังคับที่จะให้จำเลยทั้งห้ารับผิดต่อโจทก์อย่างไรพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ซึ่งซื้อมาจากจำเลยที่ 3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 นำเพลงพิพาทไปทำดนตรีขึ้นใหม่แล้วให้นักร้องร้องบันทึกลงในแถบเสียงออกจำหน่ายทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาจำเลยทั้งห้าเพื่อที่จะขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ทั้งคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยทั้งห้าแต่ละคนต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอบังคับเอากับจำเลยทั้งห้าแต่ละคนให้รับผิดในส่วนของแต่ละคนที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมไปได้ สัญญาซื้อขายเพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระบุไว้ในข้อ 2 ว่า "ผู้จัดการมรดกตกลงโอนขายและ ป. ตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามข้อ 1การโอนขายนี้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์"ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งรวมเพลงพิพาททั้งสี่นับแต่วันซื้อขายเป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในเพลงพิพาททั้งสี่ไปจัดหาประโยชน์แต่อย่างใด ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้แก่โจทก์ในวันที่ 16 กรกฎาคม2535 จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 นำไปบันทึกเทปเผยแพร่หาประโยชน์ได้โดยชอบตามหนังสือสัญญาลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกเผยแพร่หาประโยชน์ แต่หลังจากที่จำเลยที่ 3 ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 5 ไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ได้เลย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ทำหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงในสี่เพลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 จึงเป็นการกระทำหลังจากวันที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงดังกล่าวอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงทั้งสี่ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 3 โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงของเจ้ามรดกก็ตามแต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นบุตรของจำเลยที่ 3 กับเจ้ามรดก จำเลยที่ 4 ก็รู้เห็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์อีกถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา109, 110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539มาตรา 45 เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 109 และมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับและยืนยันความผิดฐานมีสินค้าละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ. ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2539 มาตรา 45เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109 และมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ประกอบกิจการท่าเรือนอกเหนือจากฐานะผู้ขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยกฟ้องฐานความรับผิดนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าสุราที่โจทก์รับประกันภัยทอดสุดท้ายจากท่าเรือสิงคโปร์ถึงท่าเรือของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย และระหว่างที่สินค้าสุรา อยู่ที่ลานพักสินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสินค้าสุราดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการ ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่งทางทะเลจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าสุราพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ ความเสียหายมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งทอดสุดท้ายเพียงแต่จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจท่าเรืออย่างเดียว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดในการที่สินค้าเสียหาย อันเนื่องมาจากการขนส่งไม่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ มีหน้าที่บำรุงรักษารวมทั้งจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ท่าเรือ ของจำเลยที่ 2 การที่น้ำท่วมลานพักสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะฝนตกหนักไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้ประกอบกิจการท่าเรือแล้วไม่ดูแลรักษาสินค้าจนทำให้สินค้าต้องเสียหายไว้แต่อย่างใด จึงเป็นการ วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องความเสียหายทางชื่อเสียงไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องหนี้สัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์หลายคราว กับขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต แล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญามูลคดีสืบเนื่องจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้ง ของจำเลยอ้างว่า โจทก์ทำให้จำเลยขาดความเชื่อถือ ในทางการค้า ต้องเสียหายขาดประโยชน์รายได้จากการ ประกอบธุรกิจ ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหาย ฟ้องแย้ง เป็นการตั้งประเด็นว่า การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการแกล้งฟ้อง เป็นการละเมิดต่อจำเลย ทำให้ชื่อเสียงของจำเลยเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นมูลเหตุคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ไม่อาจจะรวมการพิจารณาชี้ขาดตัดสิน เข้าด้วยกันได้ ตามที่บัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความเท็จในการฟ้องเดิม ศาลไม่รับ เพราะเป็นคนละเรื่อง
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตนำความเท็จมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดค่าจ้างทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในศาลอีก จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาลฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความเท็จในการฟ้องเดิม: ไม่รวมพิจารณา
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตนำความเท็จมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาด ค่าจ้างทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในศาลอีก จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
of 29