พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปประยุกต์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
องค์ประกอบของความผิดในส่วนการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) คือการกระทำซ้ำหรือดัดแปลงเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า โดยองค์ประกอบในส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้นต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยได้มาตามเงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย เพราะลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่มีจำกัดเวลาให้ได้รับความคุ้มครองอยู่ภายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากพ้นกำหนดอายุการคุ้มครองแล้วงานอันมีลิขสิทธิ์จะตกเป็นสมบัติสาธารณะที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์จากงานนั้นได้ ดังนี้ ในส่วนขององค์ประกอบของความผิดที่ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายนั้นจึงเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ที่เป็นสาระสำคัญ
แม้งานออกแบบและแบบร่างชุดกระโปรงจะเป็นงานจิตรกรรม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า อันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมแล้ว งานของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นงานศิลปประยุกต์ ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (7) แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีลักษณะงานและอายุแห่งการคุ้มครองแตกต่างไปจากงานจิตรกรรม ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (1) การที่จะรู้ว่างานดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้โฆษณางานในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน โจทก์ทั้งสามได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดให้ครบองค์ประกอบของความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) ไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้งานออกแบบและแบบร่างชุดกระโปรงจะเป็นงานจิตรกรรม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า อันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมแล้ว งานของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นงานศิลปประยุกต์ ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (7) แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีลักษณะงานและอายุแห่งการคุ้มครองแตกต่างไปจากงานจิตรกรรม ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (1) การที่จะรู้ว่างานดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้โฆษณางานในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน โจทก์ทั้งสามได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดให้ครบองค์ประกอบของความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) ไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคู่ความเข้าสู่คดี: ตัวแทนต้องแสดงเหตุผลการไล่เบี้ยจากตัวการจึงจะเรียกได้
ตามคำให้การและคำร้องที่ขอให้เรียก ย. ม. และบุคคลอื่นเข้ามาเป็นจำเลยร่วม จำเลยอ้างเพียงว่า เพื่อให้จำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นเพียงตัวแทนของ ย. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่แท้จริง โดยจำเลยไม่ได้แสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยอาจฟ้องหรือถูกบริษัทดังกล่าวฟ้องได้เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน และไม่มีกฎหมายบังคับให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)
ที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า หากศาลให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนต่อโจทก์ จำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยและได้รับค่าสินไหมทดแทนจาก ย. และ ม. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 นั้น เห็นว่า มาตราดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนจัดทำกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตัวแทนและเป็นเหตุให้ตัวแทนต้องเสียหาย โดยมิใช่ความผิดของตัวแทน ตัวแทนเรียกค่าสินไหมทดแทนจากตัวการได้ แต่ตามคำให้การจำเลยมิได้จัดทำกิจการอันใดแทน ย. ที่จำเลยอ้างว่าเป็นตัวการ จึงเป็นการยกข้อกฎหมายไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคำให้การ แต่ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ข้างต้นเท่านั้น
ที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า หากศาลให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนต่อโจทก์ จำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยและได้รับค่าสินไหมทดแทนจาก ย. และ ม. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 นั้น เห็นว่า มาตราดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนจัดทำกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตัวแทนและเป็นเหตุให้ตัวแทนต้องเสียหาย โดยมิใช่ความผิดของตัวแทน ตัวแทนเรียกค่าสินไหมทดแทนจากตัวการได้ แต่ตามคำให้การจำเลยมิได้จัดทำกิจการอันใดแทน ย. ที่จำเลยอ้างว่าเป็นตัวการ จึงเป็นการยกข้อกฎหมายไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคำให้การ แต่ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิไล่เบี้ยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ข้างต้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีความลับทางการค้าต้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
องค์ประกอบของความผิดข้อหนึ่งที่โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คือ การเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปซึ่งหมายถึงการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้ล่วงรู้ในลักษณะที่มีผลทำให้ข้อมูลนั้นเสียสภาพหรือคุณสมบัติการเป็นความลับ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเอาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายไปเปิดเผยให้กับบุคคลผู้มีชื่ออันเป็นบุคคลทั่วไปล่วงรู้ถึงข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และจำเลยทั้งสามมีเจตนากลั่นแกล้ง อันเป็นเหตุให้ข้อมูลซึ่งเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายสิ้นสภาพความเป็นความลับทางการค้า ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นว่าเป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร กระจายเสียง หรือการแพร่ภาพหรือเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด จึงไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าดังกล่าว แต่เป็นการยืนยันเพียงว่าเป็นการเปิดเผยแก่บุคคลหนึ่งที่เป็นบุคคลทั่วไป จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาเหตุงดบังคับคดี: ไม่จำเป็นต้องไต่สวนเสมอไป
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลตามรูปคดีว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ คำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 เป็นคำขอให้ศาลสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ เพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 25 ซึ่งมิได้บัญญัติว่าศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยต้องทำการไต่สวนก่อน ดังนั้นหากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงแห่งคดีเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำขอของจำเลยที่ 2 แล้วก็ไม่จำต้องทำการไต่สวนคำขอ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้ยกคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้ามีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีคำทั่วไป หากรูปภาพโดดเด่นและสื่อถึงความแตกต่างของสินค้า
เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน คือ ส่วนรูปประดิษฐ์ซึ่งตรงกลางมีอักษรประดิษฐ์คำว่า Rasasi และส่วนอักษรโรมันคำว่า Rasasi การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วย 2 ภาคส่วน จึงต้องพิจารณาทั้งสองภาคส่วน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า Rasasi อยู่ 2 ตำแหน่ง ก็หาได้หมายความว่า Rasasi จะสำคัญกว่าภาคส่วนที่เป็นรูปประดิษฐ์ การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะโดยมุ่งเน้นแต่คำว่า Rasasi เพียงส่วนเดียวจึงยังไม่ครบถ้วน เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบด้วยรูปประดิษฐ์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นแตกต่างจากรูปประดิษฐ์ของบุคคลอื่น และมีคำว่า Rasasi ซึ่งมีความหมายว่า สีเทาหรือสีตะกั่วอันไม่ใช่คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำหอมหรือเครื่องสำอางตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 768528 โดยตรง ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าดังกล่าวของโจทก์ย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์ดังกล่าวแตกต่างจากของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (2)
การที่โจทก์เคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาครั้งหนึ่งแล้วและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียน โจทก์มิได้ฟ้องคดีต่อศาลแต่นำเครื่องหมายการค้าเดิมมายื่นขอจดทะเบียนต่อจำเลยอีก โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เพราะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในการขอจดทะเบียนครั้งหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเพราะโจทก์ยังไม่เคยเสนอคดีต่อศาลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าตามคำฟ้องคดีนี้มาก่อน
เมื่อคำว่า Rasasi เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ทั้งคำดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการขายสินค้าน้ำหอมหรือเครื่องสำอางในอันที่โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าวในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่อาจสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 768528 แสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า Rasasi ได้
การที่โจทก์เคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาครั้งหนึ่งแล้วและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียน โจทก์มิได้ฟ้องคดีต่อศาลแต่นำเครื่องหมายการค้าเดิมมายื่นขอจดทะเบียนต่อจำเลยอีก โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เพราะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในการขอจดทะเบียนครั้งหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเพราะโจทก์ยังไม่เคยเสนอคดีต่อศาลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าตามคำฟ้องคดีนี้มาก่อน
เมื่อคำว่า Rasasi เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ทั้งคำดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการขายสินค้าน้ำหอมหรือเครื่องสำอางในอันที่โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าวในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่อาจสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 768528 แสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า Rasasi ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ทราบเหตุสุดวิสัย และต้องระบุเหตุผลชัดเจน
จำเลยทั้งสองทราบว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับลงวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยเหตุว่าตามคำร้องมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 โดยอธิบายเหตุแห่งการขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุแห่งการที่ล่าช้า เพื่อให้คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองสมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง กรณีดังกล่าวมีผลเพียงทำให้จำเลยทั้งสองสามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับที่สองได้โดยไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 หรือคำร้องฉบับที่สอง แม้จะมีเนื้อหาต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกับคำร้องฉบับแรก และจำเลยทั้งสองใช้ชื่อคำร้องว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เพิ่มเติมก็ตาม แต่คำร้องฉบับที่สองก็คือคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง และระยะเวลาการยื่นคำร้องต้องเป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง คือภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ หรือในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 ค้นพบคำบังคับเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 จึงถือว่าวันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ดังกล่าว และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำวันดังกล่าวมาใช้คำนวณระยะเวลา ดังนั้น เมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัดยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล และเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอล่าช้ากว่ากำหนดตามวรรคหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอฉบับแรกวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งแต่เพียงเหตุที่จำเลยทั้งสองได้ขาดนัดยื่นคำให้การตามคำร้องขอข้อ 1 และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ตามคำร้องขอข้อ 2 เท่านั้น ส่วนเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอล่าช้าจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งสองไม่อาจยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้นโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันจะทำให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ศาลจึงไม่อาจไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองฉบับแรกได้จนกว่าจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยบรรยายชัดแจ้งซึ่งเหตุทั้งสามประการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัดยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล และเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอล่าช้ากว่ากำหนดตามวรรคหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอฉบับแรกวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งแต่เพียงเหตุที่จำเลยทั้งสองได้ขาดนัดยื่นคำให้การตามคำร้องขอข้อ 1 และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ตามคำร้องขอข้อ 2 เท่านั้น ส่วนเหตุแห่งการยื่นคำร้องขอล่าช้าจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งสองไม่อาจยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้างต้นโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันจะทำให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ศาลจึงไม่อาจไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองฉบับแรกได้จนกว่าจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยบรรยายชัดแจ้งซึ่งเหตุทั้งสามประการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ติดบนหีบห่อสินค้า ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) แต่ศาลต้องพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ว่า ผู้เสียหายที่ 1 ประกอบอาชีพขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และหมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า โดยนำออกจำหน่ายในฐานะเจ้าของสินค้าในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 16 รายการสินค้า ผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ และสำหรับสินค้าจำพวก 2 รายการสินค้า หมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าว แล้วนำไปทำให้ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก และสติกเกอร์ของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำปลอม โดยนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึก จากนั้นประกอบเข้าที่เดิมพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอม และนำสติกเกอร์ที่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า เป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์มาใช้ให้ปรากฏบนสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายที่ 1 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า ที่โจทก์อ้างก็คือเครื่องหมายเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การที่จำเลยทั้งสองนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึกพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 และนำสติกเกอร์ที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์นั้นถือเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 กับสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 เพราะการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่นกับสินค้าปลอมอาจเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับตัวสินค้าหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าว่าโดยสภาพของสินค้าสามารถติดเครื่องหมายการค้าที่ตัวสินค้าได้หรือไม่ สำหรับสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์ในคดีนี้เห็นได้โดยสภาพของสินค้าว่าไม่อาจติดเครื่องหมายการค้าที่สินค้าหมึกได้แต่ต้องติดเครื่องหมายการค้าที่หีบห่อบรรจุสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์เท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 โดยปิดที่ถุงกระดาษบรรจุตลับหมึกและนำสติกเกอร์ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอมไปติดบนหีบห่อที่บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ส่วนการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่ไม่ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (8) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่ไม่ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (8) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15453-15454/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน: ศาลแก้ไขค่าเสียหายและขอบเขตความรับผิดของจำเลย
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกเดิมเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์โจทก์โดยร่วมกันทำซ้ำดัดแปลงที่รูปภาพหรือตัวงานที่เรียกว่า อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ชนิดต่าง ๆ มาจัดทำสมุดภาพระบายสี ขาย เสนอขาย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสมุดภาพระบายสีที่ละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์เพื่อการค้าและหากำไรและจำเลยที่ 1 แอบอ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในอุลตร้าแมน เอซ อุลตร้าแมน อุลตร้าเซเว่น อุลตร้าแมนทาโร่ อุลตร้าแมนซอฟฟี่ อุลตร้าแมนแจ็ค จัมโบเอหรือจัมบอร์กเอซ และได้ตั้งตัวแทนในการจัดหาผู้รับอนุญาตผลิตสินค้ารูปอุลตร้าแมนออกจำหน่าย ทำสัญญาให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบันทึกสำเนาภาพยนตร์เป็นวีดิทัศน์โดยนำไปแสวงหาประโยชน์ทางการค้า และแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ และขายสิทธิในตัวอุลตร้าแมนแก่บริษัท ซ. ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหาย แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 อนุญาตให้จำเลยที่ 3 สร้างอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม อุลตร้าแมนโซลหรือดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิท โดยลอกเลียนดัดแปลงลักษณะพิเศษหรือคาร์แรกเตอร์ของอุลตร้าแมนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นงานที่โจทก์สร้างขึ้นภายหลังภาพยนตร์อุลตร้าแมนทั้งเก้าเรื่องที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีคดีพิพาทกันตามคดีก่อน จำเลยทั้งสามร่วมกันนำตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม อุลตร้าแมนโซลหรือดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิทออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์การค้า โดยการนำออกแสดงสดบนเวทีและเก็บค่าแสดง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่างกรรมกันกับคดีละเมิดในคดีก่อนและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมไว้แล้ว ทั้งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โดยที่โจทก์มิอาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ จึงไม่ใช่คำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เมื่อพิจารณาลักษณะของการกระทำของจำเลยทั้งสามที่จัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิท เพื่อนำไปอนุญาตให้บุคคลอื่นผลิตตัวหุ่นและของเล่น หรือใช้กับฉลากสินค้าต่าง ๆ หรือจัดทำเป็นชุดหุ่นที่ใช้ในการแสดงบนเวทีแล้ว มีเหตุผลให้เชื่อว่า การจัดทำอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามจนทำให้ปรากฏเป็นรูปลักษณะตามคำฟ้องได้ต้องอาศัยรายละเอียดจากภาพวาดที่แสดงลักษณะอุลตร้าแมนของโจทก์ ดังนั้นการจัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำต่อผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์ที่แสดงออกในรูปของงานจิตรกรรมอันได้แก่ภาพวาดที่แสดงลักษณะของอุลตร้าแมน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์ได้ออกแบบหรือสร้างสรรค์ก่อนที่โจทก์จะนำงานจิตรกรรมนั้นมาดัดแปลงเป็นงานภาพยนตร์อุลตร้าแมน
เมื่อเปรียบเทียบตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อนแล้วจะเห็นได้ว่าอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อน และความคล้ายคลึงกันดังกล่าวเป็นความคล้ายคลึงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพราะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าอุลตร้าแมนที่จำเลยทั้งสามสร้างขึ้นเป็นอุลตร้าแมนที่ปรากฏในภาพยนตร์อุลตร้าแมนจนมีบุคคลที่สามมาขออนุญาตใช้สิทธิในอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามหรือทำให้จำเลยทั้งสามสามารถนำไปจัดแสดงบนเวทีได้โดยใช้ชื่องานว่าอุลตร้าแมนไลฟ์โชว์ได้ จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามดัดแปลงงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนของโจทก์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในคดีก่อนพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ร่วม จำเลยที่ 1 ได้รับโอนสิทธิเฉพาะผลงานภาพยนตร์ 9 เรื่อง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทเท่านั้น ส่วนภาพยนตร์ตอนใหม่ ๆ ที่โจทก์ผลิตขึ้นเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ดังนั้น เมื่ออุลตร้าแมนเพาเวอร์ อุลตร้าแมนคิง อุลตร้าแมนทิก้า และอุลตร้าแมนคอสมอส เป็นผลงานจากภาพยนตร์ตอนใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ในสัญญาพิพาท ประกอบกับจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์โต้แย้งในประเด็นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 สร้างตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิทโดยดัดแปลงจากผลงานอุลตร้าแมนอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่า ทำการสร้างสรรค์อุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทไปโดยชอบ อีกทั้งภายหลังศาลฎีกาพิพากษาว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนได้อีก
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน สัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์อันเกิดแต่ลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมน การที่โจทก์และตัวแทนการค้าของโจทก์นำผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และแต่งตั้งบริษัท พ. ให้เป็นตัวแทนโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1
ผลงานอุลตร้าแมนซึ่งเป็นตัวละครในภาพยนตร์ที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้น โจทก์ประสงค์ให้ตัวละครอุลตร้าแมนเป็นภาพลักษณ์ของฝ่ายคุณธรรมโดยเป็นผู้พิทักษ์โลก การที่จำเลยทั้งสามดัดแปลงโดยสร้างตัวอุลตร้าแมนให้มีลายเส้นเน้นให้เห็นกล้ามเนื้อที่บริเวณผิวแตกต่างจากอุลตร้าแมนของโจทก์ซึ่งไม่ใช้ลายเส้นเน้นกล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยที่แตกต่างจากเดิมเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ที่แสดงออกของตัวอุลตร้าแมนออกมาอีกลักษณะหนึ่งเท่านั้น หาได้ทำให้ภาพลักษณ์ของตัวอุลตร้าแมนผู้ทรงคุณธรรมพิทักษ์โลกเสียไปแต่อย่างใดไม่ การดัดแปลงตัวอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงไม่ใช่การบิดเบือนผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดในธรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสามได้
เมื่อพิจารณาลักษณะของการกระทำของจำเลยทั้งสามที่จัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิท เพื่อนำไปอนุญาตให้บุคคลอื่นผลิตตัวหุ่นและของเล่น หรือใช้กับฉลากสินค้าต่าง ๆ หรือจัดทำเป็นชุดหุ่นที่ใช้ในการแสดงบนเวทีแล้ว มีเหตุผลให้เชื่อว่า การจัดทำอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามจนทำให้ปรากฏเป็นรูปลักษณะตามคำฟ้องได้ต้องอาศัยรายละเอียดจากภาพวาดที่แสดงลักษณะอุลตร้าแมนของโจทก์ ดังนั้นการจัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำต่อผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์ที่แสดงออกในรูปของงานจิตรกรรมอันได้แก่ภาพวาดที่แสดงลักษณะของอุลตร้าแมน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์ได้ออกแบบหรือสร้างสรรค์ก่อนที่โจทก์จะนำงานจิตรกรรมนั้นมาดัดแปลงเป็นงานภาพยนตร์อุลตร้าแมน
เมื่อเปรียบเทียบตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อนแล้วจะเห็นได้ว่าอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อน และความคล้ายคลึงกันดังกล่าวเป็นความคล้ายคลึงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพราะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าอุลตร้าแมนที่จำเลยทั้งสามสร้างขึ้นเป็นอุลตร้าแมนที่ปรากฏในภาพยนตร์อุลตร้าแมนจนมีบุคคลที่สามมาขออนุญาตใช้สิทธิในอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามหรือทำให้จำเลยทั้งสามสามารถนำไปจัดแสดงบนเวทีได้โดยใช้ชื่องานว่าอุลตร้าแมนไลฟ์โชว์ได้ จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามดัดแปลงงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนของโจทก์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในคดีก่อนพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ร่วม จำเลยที่ 1 ได้รับโอนสิทธิเฉพาะผลงานภาพยนตร์ 9 เรื่อง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทเท่านั้น ส่วนภาพยนตร์ตอนใหม่ ๆ ที่โจทก์ผลิตขึ้นเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ดังนั้น เมื่ออุลตร้าแมนเพาเวอร์ อุลตร้าแมนคิง อุลตร้าแมนทิก้า และอุลตร้าแมนคอสมอส เป็นผลงานจากภาพยนตร์ตอนใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ในสัญญาพิพาท ประกอบกับจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์โต้แย้งในประเด็นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 สร้างตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิทโดยดัดแปลงจากผลงานอุลตร้าแมนอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่า ทำการสร้างสรรค์อุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทไปโดยชอบ อีกทั้งภายหลังศาลฎีกาพิพากษาว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนได้อีก
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน สัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์อันเกิดแต่ลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมน การที่โจทก์และตัวแทนการค้าของโจทก์นำผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และแต่งตั้งบริษัท พ. ให้เป็นตัวแทนโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1
ผลงานอุลตร้าแมนซึ่งเป็นตัวละครในภาพยนตร์ที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้น โจทก์ประสงค์ให้ตัวละครอุลตร้าแมนเป็นภาพลักษณ์ของฝ่ายคุณธรรมโดยเป็นผู้พิทักษ์โลก การที่จำเลยทั้งสามดัดแปลงโดยสร้างตัวอุลตร้าแมนให้มีลายเส้นเน้นให้เห็นกล้ามเนื้อที่บริเวณผิวแตกต่างจากอุลตร้าแมนของโจทก์ซึ่งไม่ใช้ลายเส้นเน้นกล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยที่แตกต่างจากเดิมเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ที่แสดงออกของตัวอุลตร้าแมนออกมาอีกลักษณะหนึ่งเท่านั้น หาได้ทำให้ภาพลักษณ์ของตัวอุลตร้าแมนผู้ทรงคุณธรรมพิทักษ์โลกเสียไปแต่อย่างใดไม่ การดัดแปลงตัวอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงไม่ใช่การบิดเบือนผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดในธรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14618/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจากประวัติผู้ต้องหา การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาลงโทษขัดต่อกฎหมาย
แม้จะปรากฏจากคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางถึงเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรของผู้อื่นมาแล้วหลายคดี แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงดังกล่าวได้มาจากรายงานเจ้าหน้าที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดจากระบบงานบริหารสำนวนคดี โดยที่โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และไม่ปรากฏว่ามีการสอบข้อเท็จจริงนี้จากจำเลยด้วย รายงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่พยานหลักฐานแต่เป็นเพียงเอกสารภายในหน่วยงานเพื่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลกับศาล การที่จำเลยให้การรับสารภาพจึงเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยนั้น จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาพิจารณาลงโทษจำเลย ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14617/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสินค้าควบคุมฉลากผิดกฎหมายเป็นความผิดต่างกรรมกันจากละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลแก้คำพิพากษาเพิ่มโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขาย เสนอขาย สินค้าเครื่องสำอางชิเซโดจำนวน 2 กล่อง เครื่องสำอางปัดคิ้วยี่ห้อแม็กจำนวน 1 กล่อง อันเป็นสินค้าควบคุมฉลากตามกฏหมาย โดยเสนอขายต่อผู้มาติดต่อซื้อ ซึ่งฉลากของสินค้าดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงวิธีใช้และข้อแนะนำการใช้หรือข้อห้าม ไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายที่แท้จริงของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรโดยชอบ