คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิสูจน์ความผิดจากพยานหลักฐานการสั่งซื้อ และการบังคับคดีค่าปรับ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่โฆษณาภาพตัวอย่างเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไว้เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวได้ และเคยผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวให้แก่ลูกค้ารายอื่นมาแล้ว ประกอบกับการที่ ว. สั่งให้จำเลยที่ 1 ผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ตามแบบที่จำเลยที่ 1 โฆษณาอยู่แล้ว โดยไม่ได้นำภาพลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ มาให้จำเลยที่ 1 ใช้ผลิตเสื้อกีฬา หรือสั่งให้จำเลยที่ 1 ออกแบบภาพลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปผลิตเสื้อกีฬา ย่อมชี้ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้อยู่แล้วว่าลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาขายเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว การที่ ว. สั่งผลิตเสื้อกีฬาตามแบบที่จำเลยที่ 1 โฆษณาเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ว. เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยซึ่งมีอำนาจร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง พยานหลักฐานที่เกิดจากการสั่งซื้อเสื้อกีฬาดังกล่าวสามารถรับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีไม่ใช่พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบหรือพยานหลักฐานที่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 226 และมาตรา 226/1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)
คดีนี้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม อันเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมเพื่อการค้า โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ตามคำร้องในคดีส่วนแพ่ง แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีส่วนแพ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดการคัดลอก/ดัดแปลงให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) นั้น โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด รวมทั้งต้องเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้จำเลยเข้าใจว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยว่า "..จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานนวนิยายของโจทก์ดังกล่าวด้วยการคัดลอกและดัดแปลงบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉาก ในนวนิยายของโจทก์แต่ละเล่มแล้วนำไปเรียบเรียงไว้ในบทนวนิยายของจำเลย..." อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนที่อยู่ในนวนิยาย 2 เล่ม ของโจทก์ หาใช่เป็นการคัดลอกดัดแปลงนวนิยายทั้งฉบับทั้ง 2 เล่ม ที่การบรรยายฟ้องนี้อาจจะทำให้จำเลยพอเข้าใจได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร แต่เมื่อเป็นการคัดลอกดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมจะต้องบรรยายฟ้องข้อเท็จจริงให้พอเข้าใจได้ว่าบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉากนั้น เป็นส่วนไหนในนวนิยายเล่มใดใน 2 เล่ม ของโจทก์ และจำเลยคัดลอกและดัดแปลงงานดังกล่าวอย่างไร รวมทั้งนำไปใช้อยู่ในส่วนไหนของนวนิยายของจำเลย อันจะทำให้จำเลยสามารถเทียบเคียงได้ว่า ข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้นเป็นการคัดลอกดัดแปลงจริงหรือไม่ กรณีเช่นนี้หาใช่รายละเอียดที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นหรือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาไม่ อีกทั้งเป็นการพิจารณาถึงการแสดงออก (Expression) ไม่ใช่แนวคิด (Idea) ต่างจากที่โจทก์ฎีกาว่า การวินิจฉัยต้องพิจารณาเนื้อหาของงานทั้งหมดโดยรวมประกอบกัน มิใช่แยกพิจารณาออกมาเป็นส่วน ๆ เฉพาะที่มีการคัดลอกเท่านั้น อนึ่ง การบรรยายฟ้องที่เพียงใช้ข้อความตามกฎหมาย เช่น การทำซ้ำหรือดัดแปลง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามสมควรว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงอย่างไร ย่อมไม่อาจทำให้จำเลยสามารถเข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ ประกอบกับปัญหานี้เป็นการพิจารณาเฉพาะในส่วนของการบรรยายฟ้องเรื่องการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด จึงไม่เกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องอื่น ๆ ส่วนการพิจารณาว่าฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากฟ้องเท่านั้น ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องมาพิจารณาประกอบได้ ทั้งเป็นขั้นตอนที่ต้องพิจารณาก่อนไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนมูลฟ้องมาพิจารณาประกอบเช่นกัน เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในส่วนของการกระทำความผิดของจำเลยว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงนั้นถูกกระทำโดยจำเลยในส่วนไหน อย่างไร ย่อมต้องถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายสินค้าโดยอ้างตราสัญลักษณ์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีเจตนาหลอกลวงผู้ซื้อ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้มีความผิด
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี...(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี" คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ และคุณภาพอันเกี่ยวกับสินค้า โฆษณา เสนอขาย และขายสินค้าชุดเทิดพระเกียรติเพื่อร่วมเผยแพร่แสดงความจงรักภักดี "โครงการมหามงคลครองราชย์ 60 ปี หนังสือดี "ชีวิตสมถะ" "พระจิตรลดา" "ซึ่งในชุดประกอบด้วย หนังสือดี "ชีวิตสมถะ" "พระจิตรลดา" สายข้อมือ (ริสต์แบนด์) วิดีโอซีดีพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สติกเกอร์ "เรารักในหลวง" บัตรถวายพระพร บัตรคาถาเงินล้าน สติกเกอร์ตราสัญลักษณ์ทรงครองราชย์ 60 ปี และพระจิตรลดาหรือพระสมเด็จมหามงคล รุ่นทรงครองราชย์ 60 ปี (มวลสารจิตรลดา) รวม 9 รายการ บรรจุอยู่ในกล่องเดียวกัน โดยมีการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ติดไว้บนสินค้าดังกล่าว โดยเสนอขายและขายแก่ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปในราคาชุดละ 299 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายอย่างถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ หรือเกี่ยวข้องกับสำนักราชเลขาธิการซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงสำนักราชเลขาธิการไม่เคยอนุญาตให้จำเลยใช้ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ จำเลยแสวงหาผลกำไรและประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยมิชอบ ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 271 บัญญัติว่า "ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ..." เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์ประกอบมาตรา 271 ดังกล่าวแล้ว ในส่วนของการกระทำโดยการหลอกลวงซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดมาตรา 271 เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ได้บรรยายระบุการกระทำหรือวิธีการหลอกลวงไว้แล้วว่า จำเลยโฆษณา เสนอขาย และขายสินค้าชุดเทิดพระเกียรติ โดยพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ติดไว้บนสินค้าดังกล่าว เพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อและประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายอย่างถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ อันเป็นความเท็จ ย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าการหลอกลวงขายของของจำเลยคือการที่จำเลยพิมพ์ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ลงบนกล่องสินค้า โดยที่รู้อยู่แล้วว่าความจริงมิได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ในการขาย แต่ทำไปเพื่อหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ขายโดยถูกต้องจากสำนักราชเลขาธิการ จึงถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว นอกจากนี้ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การจำเลยฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2559 โดยขณะนั้นจำเลยยังไม่มีทนายความว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธ เพราะไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา และตามคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 โดยจำเลยได้แต่งตั้งทนายความในวันดังกล่าวแล้วปรากฏว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ รายละเอียดจะได้นำสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นพิจารณาต่อไป ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงและข้อหาตามคำฟ้องแล้ว จึงให้การปฏิเสธ ประกอบกับตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ปรากฏว่า จำเลยแถลงว่า วันนี้ได้แต่งตั้งทนายความเพื่อต่อสู้คดีแล้ว และได้พบปรึกษากับทนายความแล้ว ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยแถลงว่าเข้าใจข้อหาโดยตลอดแล้ว ยืนยันให้การปฏิเสธ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดเรือชน: เจ้าของเรือต้องรับผิดแม้ความผิดเกิดจากผู้นำร่องหรือนายเรือลูกจ้าง
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเรือโอเชียน เฟลเวอร์ และเหตุเรือโดนกันเกิดจากความผิดของเรือโอเชียน เฟลเวอร์ เพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัยทั้งสี่แล้วตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. 2548 มาตรา 12 ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าว และพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) มาตรา 11 ต่างบัญญัติว่า ไม่ว่าเหตุเรือโดนกันดังกล่าวจะเกิดจากความผิดของนายเรือของเรือโอเชียน เฟลเวอร์ หรือเกิดจากความผิดของผู้นำร่องตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองเรือโอเชียนเฟลเวอร์ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่ผู้เอาประกันภัยทั้งสี่ไป จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) แสดงเหตุว่า จำเลยอาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ เมื่อจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสองตามที่วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนได้ ส่วนจำเลยร่วมจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยหรือไม่ ก็มีผลเพียงให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกให้จำเลยกับจำเลยร่วมร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเรียกร้องให้จำเลยหรือจำเลยร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้เต็มจำนวนได้เท่านั้น ไม่มีผลให้ความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ทั้งสองต้องเปลี่ยนแปลงไปแม้ในการนำร่องผู้นำร่องอาจให้คำบอก คำแนะนำ หรือคำสั่งการในบังคับเรือได้ แต่ในการทำหน้าที่ดังกล่าวของผู้นำร่องเป็นการดำเนินการโดยอยู่ในความรับรู้และเห็นชอบของนายเรือ โดยนายเรือมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการของผู้นำร่องหรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องได้หากเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือจะทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหาย จึงถือได้ว่านายเรือยังคงมีอำนาจในการควบคุมเรืออยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ที่ผู้นำร่องเป็นผู้กล่าวออกคำสั่งการต่าง ๆ โดยผู้นำร่องจะสั่งคำสั่งไปยังลูกเรือซึ่งรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ กล่าวคือ สั่งคำสั่งเกี่ยวกับเครื่องยนต์ไปยังผู้ช่วยต้นเรือ และคำสั่งเกี่ยวกับหางเสือไปที่ผู้บังคับหางเสือ ลูกเรือผู้รับผิดชอบจะทวนคำสั่ง ปฏิบัติ และทวนคำสั่งอีกครั้งหลังปฏิบัติแล้ว แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำร่องถือว่าเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำแก่ลูกเรือว่าจะให้ปฏิบัติตามอย่างไรเท่านั้น ผู้นำร่องจะไม่สั่งการไปที่กัปตันเรือ แต่จะสั่งการไปที่ลูกเรือที่ปฏิบัติหน้าที่แต่ละจุดโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่องฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2534) ข้อ 37 ที่กำหนดให้ผู้นำร่องต้องแนะนำนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และวรรคสองกำหนดคำว่า "ทำการนำร่อง" หมายความว่า เข้าทำการช่วยเหลือหรือทำหน้าที่แทนนายเรือโดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วยกับคำบอก คำแนะนำ หรือคำสั่งการของผู้นำร่อง และข้อ 47 ที่นายเรือยังคงมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการ หรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องได้ ดังนั้น ลำพังเพียงการที่ผู้นำร่องออกคำสั่งการต่าง ๆ ไปยังลูกเรือโดยตรง จึงไม่อาจถือเป็นการบังคับควบคุมเรือได้ เนื่องจากคำสั่งการต่าง ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500-501/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดสัญญา, อนุญาโตตุลาการ, การบังคับตามคำชี้ขาด, การโต้แย้งดุลพินิจ
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 ซึ่งในการยื่นคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น ประเด็นที่ต้องพิจารณามีเพียงว่าศาลจะบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น โดยศาลอาจปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดหากมีเหตุตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 และ 45 สำหรับคำร้องในส่วนที่ขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับให้ได้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องขอถอนคำร้องในส่วนที่ขอบังคับตามสัญญาจำนำหุ้นซึ่งไม่ได้อยู่ในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เหลือประเด็นเฉพาะการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบต่อประเด็นหลักที่ศาลต้องพิจารณาในคดีนี้ และไม่ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องเสียเปรียบแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งจะพิจารณาเฉพาะตัวคำชี้ขาดตามคำร้องเท่านั้น ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์อ้างทำนองว่า การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำหุ้นระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ คงให้เหลือเฉพาะประเด็นการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เท่ากับเป็นการอนุญาตให้แก้ไขคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 179 นั้น เห็นว่า ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นมีเนื้อหาเป็นการขอถอนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับจำนำหุ้นและขอแก้เป็นให้บังคับเฉพาะผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อันมีลักษณะเป็นการสละข้อหาตามคำร้องเดิมบางข้อออกไป โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อหา ข้อกล่าวอ้าง หรือข้อเท็จจริงอื่นใดอันจะมีผลทำให้คำร้องในส่วนที่ไม่ชอบกลับมาเป็นคำร้องที่ชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่ผู้ร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งได้ความว่าการถอนคำร้องดังกล่าวไม่ทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องเสียเปรียบดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งดังกล่าวมานั้นจึงชอบแล้ว
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า การที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวนั้นขัดต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และข้อบังคับของสำนักงานศาลยุติธรรมที่กำหนดให้เป็นสิทธิของคู่พิพาท และยังถือเป็นการจำกัดสิทธิอันชอบธรรมของคู่สัญญาอีกฝ่ายในการแสวงหาหรือการเข้าถึงความยุติธรรมในศาล ขัดต่อหลักกฎหมายอังกฤษ หลักสิทธิมนุษยชน และหลักนิติกรรม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงถือเป็นข้อสัญญาที่บังคับไม่ได้นั้น เห็นว่า วิธีอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการระงับข้อพิพาททางการพาณิชย์ระหว่างประเทศดังที่ปรากฏตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็นำกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL Model Law on International Commercial Arbitration) มาเป็นหลักในการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย ทั้งประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ต่างก็เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ.1958 แห่งสหประชาชาติ หรืออนุสัญญานิวยอร์ก (The United Nations Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards, The New York Convention) ดังนั้น แม้สัญญาการเข้าร่วมจะกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ เพราะเมื่อผู้ร้องเลือกที่จะระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการแล้ว ก็ต้องดำเนินการตามข้อบังคับศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์ (SIAC Rules) โดยผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำคัดค้านต่อสู้ในคดีดังกล่าวได้ ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการดำเนินการอนุญาโตตุลาการที่ประเทศสิงคโปร์จะทำให้ผู้ร้องได้เปรียบผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อย่างไร ทั้งเมื่อมีคำชี้ขาดแล้วหากผู้ร้องประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวในประเทศไทยก็ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และ 42 ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็อาจยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดได้หากสามารถพิสูจน์ได้ตามมาตรา 43 ดังเช่นที่มีการดำเนินคดีนี้ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตกลงยินยอมให้ผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิในการเลือกระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการจึงไม่ถือเป็นการจำกัดสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในการแสวงหาหรือเข้าถึงความยุติธรรมดังที่อ้างมาแต่อย่างใด ข้ออ้างในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า คำชี้ขาดกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เห็นว่า ในส่วนของความเสี่ยงภัยของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเงินที่สัญญาการเข้าร่วมกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชำระให้แก่ผู้ร้อง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และผลตอบแทนการมีส่วนร่วมที่ค้างชำระนั้น ได้ความตามที่อนุญาโตตุลาการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า เงินทั้งสามส่วนดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยแต่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องชำระให้แก่ผู้ร้อง ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะผิดสัญญาหรือไม่ การนำเงินสามส่วนแรกนี้มาคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่มีคำชี้ขาดจึงไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยทบต้น ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยหลังจากวันที่มีคำชี้ขาดที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่ามีการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น เห็นว่า ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถึงความชัดแจ้งของสัญญาการเข้าร่วม ข้อ 12 หัวข้อ "ดอกเบี้ยผิดนัด (Default Interest)" ข้อ 12 (บี) ซึ่งระบุว่า ดอกเบี้ยผิดนัด (หากไม่ชำระ) ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ค้างชำระนั้น สามารถคิดทบต้นกับเงินที่ค้างชำระได้ในวันครบกำหนดดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อครบรอบปีแรก" อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวทำให้ผู้ร้องสามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ และเห็นด้วยกับผู้ร้องที่ขอให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายปี (Annual Basis) โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 รับภาระน้อยที่สุด ดังนี้ คำชี้ขาดในส่วนดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการนำส่วนของดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมารวมกับต้นเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณของปีถัดไปอันเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ในส่วนนี้ฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาเรื่องเครื่องหมายการค้า: การขัดขืนคำบังคับและการจับกุมผู้มีอำนาจกระทำการ
เมื่อเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาและคำสั่งชี้แจงของศาลฎีกาเกี่ยวกับข้อสงสัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสามในเครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าที่มีรูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง ส่วนเหตุที่ศาลไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค199455 ด้วยนั้น เป็นเพียงเพราะโจทก์นำคดีในส่วนนี้มาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้มีการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาในส่วนนี้ว่า ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า เรือใบไวกิ้ง กับสินค้าของจำเลยทั้งสาม จึงรวมไปถึงการให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค199455 ด้วย อันถือได้ว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยทั้งสามทราบคำบังคับดังกล่าวแล้ว และได้ความจากคำขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยทั้งสามของโจทก์ประกอบคำแถลงของจำเลยทั้งสามในวันนัดพร้อมเพื่อสอบถามจำเลยทั้งสามว่า จำเลยทั้งสามยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค199455 อยู่ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้บังคับได้ จึงเป็นการชอบที่ศาลจะมีคำสั่งจับกุม กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และจำเลยที่ 3 ได้ ตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านตู้คาราโอเกะ: การพิสูจน์เจตนา 'รู้' หรือ 'ควรรู้' ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) บัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้...(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน..." แม้โจทก์มิได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดดังกล่าว แต่คดีนี้โจทก์ก็บรรยายฟ้องในตอนต้นว่า จำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อร้องและทำนองของผู้เสียหาย โดยการนำสิ่งบันทึกเสียงที่มีคำร้อง ทำนองเสียงเพลง อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญในลักษณะทำซ้ำหรือดัดแปลงให้ปรากฏคำร้องและทำนองเสียงเพลงในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ อันเป็นการบรรยายให้พอเข้าใจได้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวนั้นเป็นงานที่ได้กระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เนื่องจากอ้างว่าเป็นงานที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปในตอนท้ายว่า โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยการเปิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังกล่าวผ่านทางตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าในร้านที่เกิดเหตุโดยเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนจากลูกค้า เพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้วย่อมพอเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องที่อ้างว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: เจ้าของต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์และมิได้รู้เห็นการกระทำผิด
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง & ค่าธรรมเนียมศาล
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องพิสูจน์ได้และค่าใช้จ่ายในการส่งหมายไม่ใช่ค่าธรรมเนียม
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
of 29