คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 444

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รถไฟละเลยปิดกั้นถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ ผู้ประกอบการต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่าเมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนนการที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยหน้าที่ปิดแผงกั้นทางรถไฟทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้รับผิดชอบต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย -จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ปิดกั้นแผงกั้นถนนเมื่อมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านตรงที่ทางรถไฟตัดผ่านถนน ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไป ตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 มาตรา 72 บัญญัติว่า เมื่อทางรถไฟผ่านข้ามถนนสำคัญเสมอระดับ ให้ทำประตูหรือขึงโซ่หรือทำราวกั้นขวางถนน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ต้องป้องกันภัยในการที่จะเดินรถไฟตัดผ่านถนน การที่จำเลยที่ 2 ไม่นำแผงมาปิดกั้นถนนขณะที่ขบวนรถไฟจะแล่นผ่านจึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรง ถ้าหากปิดแผงกั้นถนนแล้ว รถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจขับผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟจนเกิดเหตุชนกันได้ จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทมากกว่าโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าวันเกิดเหตุพนักงานรถไฟบางส่วนนัดหยุดงาน ไม่สามารถหาคนมาปฏิบัติงานให้ทันท่วงทีได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด
โจทก์มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรักษาต่อที่บ้าน ค่าทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า และค่าที่ต้องทนทุกข์เวทนาที่ได้รับจากการละเมิดของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้เยาว์ แม้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ชีวิต โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งในฐานะตนเองและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
จำเลยกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้เยาว์ของโจทก์บาดเจ็บสาหัสแม้โจทก์ในฐานะส่วนตัวจะเรียกค่าเสียหายมิได้เพราะบุตรไม่ถึงตายก็ตามแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายแทนบุตรผู้เยาว์ได้ ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าบุตรโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขอคิดค่าเสียหายจึงถือว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายแทนบุตรผู้เยาว์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถชนทำให้พิการถาวร และการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต
โจทก์ถูกจำเลยขับรถชน ร่างกายโจทก์พิการ เดินไม่ได้แขนขวาเป็นอัมพาต ต้องนอนอยู่กับเตียง อันเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยทำละเมิดขับรถชนโจทก์ ตามลักษณะเห็นได้ว่าร่างกายโจทก์ต้องพิการและเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต โจทก์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตลอดไป แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเวลาอนาคตจำเลยก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444
โจทก์ขอให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายในอนาคตเป็นเวลา 5 ปีเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมหลังจากวันฟ้อง 3 ปี 1 เดือน ศาลก็กำหนดให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายในอนาคตนับจากวันฟ้องไปอีกเพียง 3 ปี 1 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารและการเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรส
ลูกจ้างของจำเลยขับรถประจำทางโดยประมาทเลินเล่อเลี้ยวรถด้วยความเร็วเกินสมควร โจทก์เตรียมจะลงยืนที่หน้าประตูรถถูกรถเหวี่ยงตกจากรถ ต้องผ่าตัดสมอง โจทก์ทุพพลภาพตลอดชีวิต ถูกทรมานทั้งกายและจิตใจ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านี้
กรณีละเมิดต่อร่างกายของภริยา สามีทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดโดยภริยาไม่รู้เห็นด้วย สัญญานั้นไม่ผูกพันภริยา สิทธิเรียกร้องของภริยาไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ละเมิด แม้ผู้เสียหายได้รับเงินจากรัฐ
แม้โจทก์เป็นข้าราชการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลบุตรผู้เยาว์ซึ่งถูกทำละเมิดจากทางราชการแล้ว ก็ยังมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดอีกได้ เพราะสิทธิ์ของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจากทางราชการ เป็นสิทธิ์ที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ในการละเมิดทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างใดได้บ้าง มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444, 445 และ 446 ซึ่งหาได้ให้สิทธิ์แก่บิดาที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิดต่อไปในอนาคตไม่
ฟ้องเรียกค่าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งต้องทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิด แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบเป็นทำนองขอเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่บุตรเสียความสามารถสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ศาลก็จะบังคับให้ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ละเมิด แม้ได้รับเงินจากราชการแล้ว และขอบเขตการฟ้องร้องตามที่ระบุในคำฟ้อง
แม้โจทก์เป็นข้าราชการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลบุตรผู้เยาว์ซึ่งถูกทำละเมิดจากทางราชการแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดอีกได้ เพราะสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจากทางราชการ เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ในการละเมิดทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างใดได้บ้างมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444,445,และ 446 ซึ่งหาได้ให้สิทธิแก่บิดาที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิดต่อไปในอนาคตไม่
ฟ้องเรียกค่าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งต้องทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิด แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบเป็นทำนองขอเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่บุตรเสียความสามารถสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ศาลก็จะบังคับให้ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่18/2519

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในส่วนของโจทก์ที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ถูกละเมิดแม้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกัน โดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคนมิได้เรียกร้องเป็นจำนวนรวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์คนใดไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์คนนั้นมิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
แม้ผู้ถูกทำละเมิดเป็นข้าราชการ มิสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้ถูกทำละเมิดที่จะเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดต้องระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องเป็นกรณีขาดนัด และการชดใช้ค่าเสียหายจากความสูญเสียความสามารถในการทำมาหากิน
กรณีที่จำเลยจะขอให้พิจาณาคดีใหม่ได้จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อน การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยประวิงคดีไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่ติดใจนำพยานสืบนั้นมิใช่เรื่องจำเลยขาดนัดพิจารณาจำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
แม้จะพิจารณาจากฎีกาของจำเลยที่ขอให้พิจารณาคดีดังกล่าวใหม่ว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องโต้แย้งเสียก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ให้จำเลยก็หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาของจำเลยดังกล่าว
โจทก์เป็นผู้เยาว์ช่วยมารดาขายขอ นำของไปเร่ขายวันหนึ่งมีกำไร 10 บาท แม้จะเป็นการช่วยมารดาขายของ ก็เป็นการประกอบอาชีพอันเป็นความสามารถในการประกอบการงานและทางทำมาหาได้ของโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์สามารถขายของมีกำไรวันละ 10 บาท และโจทก์ต้องเสียความสามารถดังกล่าวไปเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันเป็นค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และในการคิดค่าเสียหาย ศาลชอบที่จะคิดจากการที่โจทก์เคยมีรายได้วันละ 10 บาทได้ หาใช่ว่าหากก่อนเกิดเหตุโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวัน จะต้องหักวันที่โจทก์ไม่ทำงานออกเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่และการประเมินค่าเสียหายจากความสูญเสียในการประกอบอาชีพ
กรณีที่จำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อน การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยประวิงคดีไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบนั้นมิใช่เรื่องจำเลยขาดนัดพิจารณาจำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
แม้จะพิจารณาจากฎีกาของจำเลยที่ขอให้พิจารณาคดีดังกล่าวใหม่ว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องโต้แย้งเสียก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ในข้อนี้ให้จำเลยก็หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาของจำเลยดังกล่าว
โจทก์เป็นผู้เยาว์ช่วยมารดาขายของ นำของไปเร่ขายวันหนึ่งมีกำไร 10 บาทแม้จะเป็นการช่วยมารดาขายของ ก็เป็นการประกอบอาชีพอันเป็นความสามารถในการประกอบการงานและทางทำมาหาได้ของโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์สามารถขายของมีกำไรวันละ 10 บาท และโจทก์ต้องเสียความสามารถดังกล่าวไปเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันเป็นค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และในการคิดค่าเสียหาย ศาลชอบที่จะคิดจากการที่โจทก์เคยมีรายได้วันละ 10 บาทได้ หาใช่ว่าหากก่อนเกิดเหตุโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวัน จะต้องหักวันที่โจทก์ไม่ทำงานออกเสียก่อนไม่
of 10