พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบบพิมพ์เช็คยังไม่กรอก ไม่ถือเป็นเอกสารทางอาญา มาตรา 188 จึงไม่ผิดฐานเอาเอกสารไป
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการเท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจึงไม่เป็นเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไป ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลไม่ถือเป็นเอกสารตามกฎหมายอาญา
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการเท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข อันเป็น หลักฐานแห่งความหมายนั้น จึงไม่เป็นเอกสารตามมาตรา 1 (7) แห่ง ป.อ. แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไปตามฟ้องก็หาเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกเงิน, และเบียดบังทรัพย์สินจากหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมได้รับเช็คของลูกค้าเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม แต่กลับนำเช็คนั้นไปเบิกเงินแล้วเก็บไว้เองจึงมีความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเช็คอันเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมและทำให้ไร้ประโยชน์ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมผู้อื่นหรือประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และฐานยักยอกเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารผู้อื่นไป การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตรเอ.ที.เอ็ม.เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตาม ป.อ. มาตรา 188ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักบัตรเอทีเอ็ม-ลักเงิน: ความผิดหลายกรรม, เจตนาแยกจากกัน, บทหนักกว่า
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็มดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้นเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188
บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบการกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกันแม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้นเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188
บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบการกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกันแม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารของผู้อื่นไป การแยกความผิดหลายกรรม และเจตนาในการกระทำผิด
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเช็คโดยมิชอบ การนำเช็คไปชำระหนี้แทนเจ้าของ และความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเช็ค
จำเลยเป็นตัวแทนของคณะนายทหารประเทศเธอร์แลนด์นำเช็ค 4 ฉบับ ไปชำระหนี้ให้แก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย3 ฉบับ และบริษัทท. อีก 1 ฉบับ ซึ่งตราบใดที่เช็คทั้งสี่ฉบับดังมิได้ส่งมอบให้แก่การสื่อสารฯ และบริษัทท.เช็คทั้งสี่ฉบับจึงยังไม่โอนไปยังการสื่อสารฯ และบริษัทท. คณะนายทหารดังกล่าวยังเป็นเจ้าของเช็คทั้งสี่ฉบับและเป็นผู้ได้รับความเสียหาย การที่จำเลยนำเอาเช็คสามฉบับที่ผู้เสียหายสั่งจ่ายให้แก่ การสื่อสารแห่งประเทศไทยไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยที่ จำเลยไม่มีสิทธิ แม้เช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวจะไม่มีการขีดฆ่า คำว่าผู้ถือออกก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิด ฐานเอาไปเสียซึ่งเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ทำลายเอกสาร, ยักยอกทรัพย์โดยพนักงานธนาคาร
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหายตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้งเป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐานต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000 บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมการที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้งเป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย