พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกกรณีสมรสซ้อน: สุจริตของผู้สมรสย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ" ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลการพิสูจน์ลายมือชื่อเป็นข้อตกลงแพ้ชนะคดี
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของบิดาจำเลยในเอกสารที่โจทก์ฟ้องเป็นลายมือชื่อบุคคลคนเดียวกันกับเอกสารที่จำเลยอ้างจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ โจทก์ยอมแพ้ การท้าเอาแพ้ชนะกันในผลแห่งการพิสูจน์ดังกล่าว ย่อมหมายถึงแพ้ชนะในผลแห่งคดีโดยสละประเด็นข้ออื่นอยู่ในตัว เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยสุจริตแม้เป็นโมฆะ ก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ"ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าต้องเป็นไปตามที่จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หากรังวัดไม่ได้ ศาลไม่อาจพิพากษาตามคำท้าได้
คำท้าซึ่งคู่ความตกลงกันแล้วรังวัดไม่เสร็จตามนั้นเพราะคู่ความขัดแย้งกัน ศาลชั้นต้นนัดคู่ความมาอธิบายคำท้า จำเลยไม่มาศาลชั้นต้นเปลี่ยนข้อความโดยเห็นว่าเป็นเจตนาแท้จริงของคู่ความแต่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้าน ดังนี้ ต้องถือตามคำท้าเดิม เปลี่ยนแปลงโดยจำเลยไม่ตกลงด้วยไม่ได้ เมื่อรังวัดตามนั้นไม่ได้ก็ต้องยกเลิกคำท้า และพิจารณาคดีไปตามวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290-1291/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าประเด็นทางพิพาท, การครอบครองปรปักษ์, ที่ดินมือเปล่า และการจดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ถ้าพยานคนหนึ่งเบิกความว่าทางพิพาทมีมาเกิน 10 ปี จำเลยยอมแพ้ถ้าไม่มีทางพิพาทมาก่อนโจทก์ยอมแพ้คำสั่งไม่อนุญาตให้ยกเลิกคำท้าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาพยานเบิกความว่ามีทางมา 20 ปี จำเลยต้องแพ้ข้อที่ว่าจำเลยครอบครองมากว่า 10 ปีไม่มีประเด็นในคำท้า แต่เป็นที่ดิน ส.ค.1 โอนทางทะเบียนไม่ได้ศาลไม่พิพากษาให้จดทะเบียนภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุตรใช้ชื่อสกุลมารดาได้ แม้มีบิดา โดยความยินยอมของบิดามารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พ.ศ. 2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พ.ศ. 2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุตรใช้สกุลมารดา: การยินยอมของบิดาและมารดาเป็นสำคัญ แม้มีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาและในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใคร เป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้ บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาเมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้อ อื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วพ.ศ.2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้อ อื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วพ.ศ.2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ฟ้องขับไล่, สัญญาต่างตอบแทน, คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลที่ให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 และพิพากษาเมื่อวันที่ 24 เดือนเดียวกัน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ ค่าเช่าเดือนละ 200 บาทครบกำหนดอายุการเช่าตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากตึกที่เช่า จำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ออก ทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยปลูกครัวในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่นอกอาคารที่เช่าได้หนึ่งหลัง ถ้าโจทก์ต้องการที่ดินในส่วนนั้นเมื่อใดจำเลยจะรื้อถอนครัวออกทันที ถ้าจำเลยผิดสัญญาคือไม่รื้อไปโจทก์จะเลิกสัญญาเช่าทันที ดังนี้ หามีผลทำให้สัญญาเช่าเดิมกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ ค่าเช่าเดือนละ 200 บาทครบกำหนดอายุการเช่าตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากตึกที่เช่า จำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ออก ทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยปลูกครัวในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่นอกอาคารที่เช่าได้หนึ่งหลัง ถ้าโจทก์ต้องการที่ดินในส่วนนั้นเมื่อใดจำเลยจะรื้อถอนครัวออกทันที ถ้าจำเลยผิดสัญญาคือไม่รื้อไปโจทก์จะเลิกสัญญาเช่าทันที ดังนี้ หามีผลทำให้สัญญาเช่าเดิมกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และการบรรยายฟ้องที่ชัดเจนครบถ้วน
คำสั่งศาลที่ให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 และพิพากษาเมื่อวันที่ 24 เดือนเดียวกัน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ ค่าเช่าเดือนละ 200 บาท ครบกำหนดอายุการเช่าตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากตึกที่เช่า จำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ออก ทำให้โจทก์เสียหายจึงขอฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยปลูกครัวในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่นอกอาคารที่เช่าได้หนึ่งหลัง ถ้าโจทก์ต้องการที่ดินในส่วนนั้นเมื่อใด จำเลยจะรื้อถอนครัวออกทันที ถ้าจำเลยผิดสัญญาคือไม่รื้อไป โจทก์จะเลิกสัญญาเช่าทันที ดังนี้ หามีผลทำให้สัญญาเช่าเดิมกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ ค่าเช่าเดือนละ 200 บาท ครบกำหนดอายุการเช่าตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากตึกที่เช่า จำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ออก ทำให้โจทก์เสียหายจึงขอฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยปลูกครัวในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่นอกอาคารที่เช่าได้หนึ่งหลัง ถ้าโจทก์ต้องการที่ดินในส่วนนั้นเมื่อใด จำเลยจะรื้อถอนครัวออกทันที ถ้าจำเลยผิดสัญญาคือไม่รื้อไป โจทก์จะเลิกสัญญาเช่าทันที ดังนี้ หามีผลทำให้สัญญาเช่าเดิมกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ซึ่งมีว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุนซึ่งจำเลยที่ 3 ทำต่อจำเลยที่ 2 เจ้าของรถมีว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยจำเลยที่ 2 ยินยอมถือเสมือนจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายตามคำท้าโจทก์ซ่อมรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล้วโจทก์ได้รับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 3 ได้