คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 182

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าคดีโดยอ้างเอกสาร เอกสารหายไม่อาจใช้ชี้ขาดได้ โจทก์มีหน้าที่นำสืบหลักฐาน
คู่ความท้ากันว่า. ถ้าจำเลยนำหนังสือซื้อขายที่ดินหรือสำเนาที่อำเภอรับรองมาจากอำเภอได้. โจทก์ยอมแพ้. ถ้าไม่มีหนังสือดังกล่าวที่พิพาทตกเป็นของโจทก์. เมื่ออำเภอมีหนังสือแจ้งมาว่าค้นไม่พบ. คู่ความท้ากันใหม่ว่าให้ศาลเอาหนังสือตอบนี้ไปประกอบกับคำท้าเดิมแล้ววินิจฉัยว่าที่พิพาทจะเป็นของฝ่ายใด. ศาลวินิจฉัยว่าตามหนังสือตอบของอำเภอฟังไม่ถนัดว่ามีหนังสือซื้อขายที่พิพาทหรือไม่. จึงชี้ขาดให้แพ้ชนะกันตามคำท้าไม่ได้. เมื่อต่างแถลงไม่สืบพยานคดีนี้ หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์ โจทก์จึงต้องแพ้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่จำเป็นต้องชี้สองสถานหากพยานหลักฐานเพียงพอ และไม่ต้องวินิจฉัยทุกประเด็นหากข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นเพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บังคับให้ศาลจำต้องชี้สองสถานเสมอไป ฉะนั้น การที่ศาลมิได้ชี้สองสถานในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แต่จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้โจทก์ทำขึ้นเอง และลายเซ็นช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายเซ็นของจำเลยนั้น จึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
การวินิจฉัยพยานหลักฐานนั้น เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นวินิจฉัยเพียงพอแก่การชี้ขาดแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยิบยกข้อเท็จจริงอื่นขึ้นวินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสินเดิมที่ทำโดยไม่ชอบ และการแบ่งมรดก
ก่อนสามีโจทก์ตาย ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินสินเดิม (ซึ่งเป็นสินบริคณห์)ของสามีให้จำเลยโดยเสน่หาโดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์จึงเป็นนิติกรรมที่ทำไปโดยมิชอบการเพิกถอนก็ต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะบางส่วนหาได้ไม่ เพราะที่ดินนี้เป็นสินเดิมทั้งแปลง
โจทก์ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งที่พิพาทซึ่งสามีโจทก์ยกให้จำเลยก่อนตายอ้างว่าเป็นสินสมรส (ซึ่งเป็นสินบริคณห์) ระหว่างโจทก์กับสามีผู้ตายแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าที่พิพาทเป็นสินเดิมของผู้ตายซึ่งต้องตกเป็นมรดกของผู้ตายอันจะพึงได้แก่ทายาทต่อไปเช่นนี้ศาลจะแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ในชั้นนี้ยังไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งในฐานะเป็นผู้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์และขอบเขตที่ดินตามโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่เศษ จำเลยเข้าทำนาโดยการละเมิด ขอให้ขับไล่จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่แปลงนี้เป็นของจำเลยโดยจำเลยครอบครองมาครั้นเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปทำแผนที่พิพาทปรากฎว่าที่ดินที่โจทก์ฟ้องและจำเลยต่อสู้นี้เป็นแปลงเดียวกัน มีอาณาเขตตรงกัน แต่มีเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ดังนี้ เมื่อแผนที่หลังโฉนดของโจทก์เป็นแผนที่อย่างเก่าไม่มีหลักเขตปัก เอาความแน่นอนอย่างสมัยปัจจุบันไม่ได้ตามฟ้อง โจทก์ก็กล่าวในเรื่องเนื้อที่โดยการประมาณเท่านั้น และเป็นการพิพาทกันทั้งแปลง เจ้าของที่ดินและเจ้าหน้าที่ดูแลเขตคลองที่ติดต่อกับที่พิพาทก็รับรองว่าที่พิพาทมิได้รุกล้ำที่ใคร ทั้งโจทก์ก็ได้เสียค่าขึ้นศาลเต็มตามเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและการสิ้นสุดสิทธิเช่าเมื่อถูกบอกกล่าว
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัยดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สิทธิการเช่าไม่สามารถใช้ต่อสู้คดีขับไล่ได้
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัย ดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดที่พิพาทโดยอ้างสภาพที่ดินเป็นพยานย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลไปดูสภาพของที่พิพาท แล้วให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ที่พิพาทจะเป็นของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งหมดหรือบางส่วน ตามแต่ศาลจะเห็นสมควร โดยไม่ต้องคำนึงถึง คำพยานที่สืบมาแล้ว และจะยอมรับคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวของศาลเป็นยุติ ข้อตกลงเช่นนี้ เป็นเรื่องสืบพยานธรรมดา โดยอ้างวัตถุพยาน คือ ที่พิพาทเป็นพยานร่วมนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวนี้ก็สมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะเป็นคดีส่วนแพ่ง เป็นเรื่องที่คู่ความจะตกลงกันเช่นนี้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม ตามที่ตกลงกันไว้ นั้นเท่ากับ เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ถือ เอาคำขอและคำต่อสู้คดีในรูปเดิม แต่ขอให้ศาลไปตรวจที่พิพาทแล้ว พิพากษาชี้ขาดได้ตลอดจนได้ยอมให้ศาลแบ่งที่ดินนายพิพาทได้ด้วย คือ จะแบ่งเท่ากันหรือไม่เท่ากันหรือใช้แก่ฝ่ายใดทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อศาลได้ไปตรวจสภาพของที่พิพาทตามข้อตกลง ไม่พบแนวเจตที่จะถือเป็นหลักในการแบ่ง ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยคนละครึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดแบ่งที่พิพาทโดยตรง ถือเป็นสืบพยานธรรมดาและผูกพันคู่ความ
โจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลไปดูสภาพของที่พิพาท แล้วให้ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดแบ่งที่พิพาทว่าจะเป็นของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ตามแต่ศาลจะเห็นสมควร โดยไม่ต้องคำนึงถึงคำพยานที่สืบมาแล้วและจะยอมรับคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวของศาลเป็นยุติข้อตกลงเช่นนี้เป็นเรื่องสืบพยานธรรมดา โดยอ้างวัตถุพยานคือ ที่พิพาทเป็นพยานร่วมนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวนี้ก็สมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะเป็นคดีส่วนแพ่ง เป็นเรื่องที่คู่ความจะตกลงกันเช่นนี้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม ตามที่ตกลงกันไว้นั้นเท่ากับเป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ถือเอาคำขอและคำต่อสู้คดีในรูปเดิม แต่ขอให้ศาลไปตรวจที่พิพาทแล้วพิพากษาชี้ขาดได้ตลอดจนได้ยอมให้ศาลแบ่งที่ดินรายพิพาทได้ด้วย คือ จะแบ่งเท่ากันหรือไม่เท่ากัน หรือให้แก่ฝ่ายใดทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อศาลได้ไปตรวจสภาพของที่พิพาทตามข้อตกลง ไม่พบแนวเขตที่จะถือเป็นหลักในการแบ่ง ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทให้แก่โจทก์จำเลยคนละครึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11-13/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น การฟ้องไม่ชัดแจ้ง และการสืบพยานสุขภาพ
อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภารจำยอมก็เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเท่านั้น จะอ้างว่าใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์แก่การค้าน้ำแข็งหาได้ไม่
ผู้ที่ต้องยอมรับภารจำยอม คือ เจ้าของทรัพย์ จำเลยเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของวัด จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จะเรียกวัดเข้ามาเป็นจำเลย
โจทก์ฟ้องอ้างภารจำยอม โดยกล่าวว่าโจทก์ได้ใช้ที่ดินนั้นเข้าออกเพื่อประโยชน์อื่น เช่นนี้ เป็นการฟ้องเคลือบคลุม ไม่แจ้งชัดว่าประโยชน์ใด โจทก์จะนำสืบมิได้เพราะไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
ประเด็นในคดีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของโจทก์ภายหลังการกั้นรั้วของจำเลยหรือเพราะเหตุที่กั้นรั้วนั้นว่าโจทก์ยังสุขสบายตามสมควรหรือไม่ เช่นนี้ ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานถึงความสุขสบายของโจทก์ตั้งแต่ครั้งที่จำเลยยังไม่กั้นรั้วและศาลยังไม่ไปเดินเผชิญสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วย เช่นนี้ ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตรเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น
of 22