คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 182

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอม vs. ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาด
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วยเช่นนี้ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตร และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรคสอง คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ "ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วยซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ(เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู)ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน - ศาลไม่วินิจฉัยสิทธิครอบครองหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องการได้สิทธิจากการครอบครองหรือได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงเรื่องจำเลยได้สิทธิจากการครอบครองหรือไม่ หรือจำเลยได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่
การที่จำเลยนำสืบนอกประเด็นไปจากคำให้การ แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็มิได้ทักท้วงโดยศาลชั้นต้นยอมให้สืบมาก็ตาม ก็หาทำให้มีประเด็นเกิดขึ้นใหม่นอกเหนือไปจากคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นสิทธิครอบครองหากจำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องการได้สิทธิจากการครอบครองหรือได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตแต่อย่างใด. คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงเรื่องจำเลยได้สิทธิจากการครอบครองหรือไม่ หรือจำเลยได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่
การที่จำเลยนำสืบนอกประเด็นไปจากคำให้การแม้โจทก์จะมิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็มิได้ทักท้วงโดยศาลชั้นต้นยอมให้สืบมาก็ตามก็หาทำให้มีประเด็นเกิดขึ้นใหม่นอกเหนือไปจากคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีขัดทรัพย์: ผู้อ้างทรัพย์เป็นของตนต้องนำสืบก่อน
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลย ดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 / 2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ต้องนำสืบก่อนหากอ้างทรัพย์เป็นของตนเอง แม้โจทก์อ้างเป็นของจำเลย
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การกระทำต้องแสดงการเบียดบังทรัพย์เป็นของตน ไม่ใช่แค่ไม่ยอมไถ่คืน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกระบุการกระทำที่เป็นความผิดเฉพาะแต่ตอนที่ว่า "เจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้จำเลยไม่ยอมให้ไถ่" เช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าจำเลยเบียดบังที่จะเอาทรัพย์(แหวน เพชร) นั้นเป็นของตนโดยทุจริต หากเป็นแต่เพียงแสดงว่าจำเลยผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนข้อความที่บรรยายในฟ้องตอนต้นที่ว่า "จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาแหวนเพชร ซึ่งได้รับจำนำไว้เป็นประโยชน์ของตนเสีย" นั้น เป็นเพียงข้อความที่แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะยักยอกทรัพย์เท่านั้น หาใช่การกระทำไม่
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชร เป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอก: การกระทำต้องแสดงการเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต ไม่ใช่แค่การไม่ยอมไถ่คืน
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกระบุการกระทำที่เป็นความผิดเฉพาะแต่ตอนที่ว่า "เจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้จำเลยไม่ยอมให้ไถ่" เช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าจำเลยเบียดบังที่จะเอาทรัพย์(แหวนเพชร)นั้นเป็นของตนโดยทุจริต หากเป็นแต่เพียงแสดงว่าจำเลยผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนข้อความที่บรรยายในฟ้องตอนต้นที่ว่า "จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาแหวนเพชรซึ่งได้รับจำนำไว้เป็นประโยชน์ของตนเสีย" นั้น เป็นเพียงข้อความที่แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะยักยอกทรัพย์เท่านั้น หาใช่การกระทำไม่
เมื่อฟ้องของโจทก์ระบุการกระทำผิดแต่เพียงว่าเจ้าทรัพย์ได้ไปขอไถ่แหวนเพชรที่จำนำจำเลยไว้ จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ เช่นนี้ โจทก์จะนำสืบถึงการกระทำอย่างอื่นเพื่อแสดงว่าจำเลยเบียดบังเอาแหวนเพชรเป็นของตนก็ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟ้องของโจทก์แม้จะสืบได้ความก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การร้องทุกข์ การงดรอการดำเนินคดี และการนำสืบพฤติการณ์ใหม่เพื่อพิสูจน์การผิดสัญญา
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค. 99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย (โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านผู้ใหญ่บ้านห้ามจำเลยจำเลยว่า "เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า" ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค. 99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค. 99 กับในวันที่ 3 พ.ค. 99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค. 99) เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พฤษภาคม 2499) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธิ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือในวันที่ 3 พฤษภาคม 2499 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น(16 มีนาคม 2499) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินและการงดรอการดำเนินคดี ความผิดฐานบุกรุกยังคงอยู่แม้จะมีการตกลงไม่ดำเนินคดี
นาแปลงที่จำเลยบุกรุก โจทก์ร่วมได้โอนไปให้บุตรและบุตรไปแจ้ง ส.ค.1 แล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เจ้าของที่นาดังกล่าว ดังนั้นการร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย
วันที่ 16 มี.ค.99 จำเลยเข้าไปบุกรุกยกคันนา นายเชิดผู้เสียหาย(โจทก์ร่วมอีกคนหนึ่ง) ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ๆ ห้ามจำเลย ๆ ว่า"เป็นนาของนายเชิด ผมก็ไม่ทำ" ผู้ใหญ่บ้านถามนายเชิด โจทก์ร่วมว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป นายเชิดว่า "ถ้าเขาหยุดแล้วก็ไม่เอาเรื่อง" ต่อมาวันที่ 3 พ.ค.99 จำเลยกลับเข้าไปหว่านข้าวในนานั้นอีก นายเชิดจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอได้ดำเนินการสอบสวนคดีนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าจำเลยเชื่อฟังนายเชิดก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่ฟังก็ต้องเอาเรื่องกันต่อไป ซึ่งเท่ากับให้งดรอการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานไว้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยกลับเข้าไปทำงานอีก ผู้เสียหายจึงเอาเรื่องคือให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีที่งดรอไว้นั้นเอง ไม่มีทางที่จะให้รับฟังว่าความผิดฐานบุกรุกตอนแรกในวันที่ 16 มี.ค.99 นั้นเป็นอันสูญสิ้นไปแล้ว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกระทำผิด 2 คราวคือในวันที่ 16 มี.ค.99 กับในวันที่ 3 พ.ค.99 และผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ทั้ง 2 คราว แต่ฟ้องโจทย์ระบุชัดเจนว่าผู้เสียหายร้องทุกข์สำหรับความผิดในตอนแรก (16 มี.ค.99)เท่านั้น โจทก์จึงไม่ได้กล่าวฟ้องถึงความผิดในตอนหลัง (3 พ.ค.99) เลย จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตอนหลังนี้ไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธ์ที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนหลังคือ ในวันที่ 3 พ.ค.99 เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทำผิดคำรับรองในตอนต้น ( 16 มี.ค.99 ) ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง หาเป็นนอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2501 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794-1795/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่รู้ตัวผู้ละเมิด & ห้ามเปลี่ยนประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา
การนับอายุความ 1 ปี เรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ว่าใครควรรับผิดอย่างใด เมื่อมาฟ้องคดีเกินกว่าหนึ่งปี นับแต่ได้ทราบเรื่อง ก็ขาดอายุความ (ฎีกา 243/2497)
เมื่อโจทก์จำเลยกะประเด็นมาแต่ศาลขั้นต้นว่ามีประเด็นข้อสืบเป็นเรื่องละเมิดแล้ว ในชั้นฎีกาจะโต้เถียงว่าควรปรับอายุความเข้าตามบทมาตรา 164,165 ย่อมเป็นการแปรเรื่องเป็นอื่นซึ่งไม่ตรงกับคดี และจะโต้เถียงว่า หากจะมิใช่เป็นความผิดเรื่องละเมิดก็ต้องรับผิดในฐานเป็นตัวแทนผู้เสียหายด้วย ดังนี้เป็นเรื่องยกประเด็นขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้.
of 22