คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 182

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ8ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหายจำเลยให้การในตอนแรกว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่12ไร่โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี2517โดยรับโอนการครอบครองมาจากพ.โดยมีค่าตอบแทนจำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอดแต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่าหากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน1ปีแล้วนับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฎิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิงคดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้นกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค3ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความอ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การในตอนแรกว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่ 12 ไร่ โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี 2517 โดยรับโอนการครอบครองมาจาก พ. โดยมีค่าตอบแทน จำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอด แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า หากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน 1 ปีแล้ว นับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดิน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1 ปี หรือไม่ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลฎีกาเห็นชอบตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้ โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้น ไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำให้การ จะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็น และวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควร ทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องเสียเปรียบ เพราะจำเลยที่ 1 สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้ เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไร เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน การกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการเลื่อนคดี: การปฏิบัติตามกำหนดเวลาและคำสั่งศาล
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา182เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้วศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้นไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำให้การจะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็นและวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควรทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่1และที่3ต้องเสียเปรียบเพราะจำเลยที่1สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้วจำเลยที่1และที่3ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไรเมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่1และที่3ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันการกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยที่1เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันนัดชี้สองสถานชอบธรรม คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานไม่เป็นเหตุฎีกา
เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้วศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้นไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำให้การซึ่งจะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็นทั้งก็ไม่ทำให้จำเลยที่1และที่3ต้องเสียเปรียบเพราะจำเลยที่1สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้เมื่อศาลชี้สองสถานแล้วจำเลยที่1และที่3ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไรการกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยที่1เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานโดยรวม
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาทของคู่ความ ส่วนการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลัง ย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนการพิจารณา แต่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้น ต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่คู่ความนำสืบมาประกอบกัน โดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่าย หาใช่ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่
โจทก์ฟ้องว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่ 1 ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่า ๆ กัน จำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สิน และจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า 10 ปี แล้วจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่า บ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบ จนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ก. แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ว่า เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริต อันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่" แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาทของคู่ความส่วนการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่คู่ความนำสืบมาประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์ฟ้องว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่1ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินและจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด1ปีฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบจนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามน.ส.3ก.แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในน.ส.3กและได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วยดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า"โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่"แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่กรณี แม้มีการฟ้องแย้งหรืออุทธรณ์คดีอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่จำเลยฎีกาว่าการที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้นเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่218/2534ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมายจ.2มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยจำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วดังนี้คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคดีใหม่: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 218/2534 ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.2 มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
of 22