พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินรุกล้ำ, อายุความละเมิด, และการวินิจฉัยประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารและรั้วที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าที่ดินที่สร้างอาคารเป็นของจำเลยทั้งสองโดยมีรั้วเป็นแนวเขต เป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยทั้งสองรับว่าที่ดินบริเวณเดียวกับที่ดินดังกล่าวซื้อขายกันตารางวาละ 3,000 บาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท มิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทในศาลล่างทั้งสองมาก่อน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ
รั้วและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนนั้นยังคงมีอยู่ตลอดมาต้องถือว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารและรั้วที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารและสร้างรั้วในที่ดินของจำเลยทั้งสองโดยสุจริตและต่อสู้ในเรื่องอายุความกับค่าเสียหาย คดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดินและเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าใช้ที่ดินและให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมแก่จำเลยทั้งสองนั้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท มิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทในศาลล่างทั้งสองมาก่อน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ
รั้วและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนนั้นยังคงมีอยู่ตลอดมาต้องถือว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารและรั้วที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารและสร้างรั้วในที่ดินของจำเลยทั้งสองโดยสุจริตและต่อสู้ในเรื่องอายุความกับค่าเสียหาย คดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดินและเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าใช้ที่ดินและให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมแก่จำเลยทั้งสองนั้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้โอนหุ้นกรณีผู้ถือหุ้นใหม่ไม่สามารถชำระหนี้ค่าหุ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1133
จำเลยร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์หุ้นที่จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 โอนให้แก่บริษัท ท.เป็นหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่เต็มจำนวนค่าหุ้น ถ้าปรากฏว่าบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันจะพึงต้องออกใช้นั้น จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9ผู้โอนหุ้นดังกล่าวก็ยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ ส่งใช้ให้ครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1133 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9ให้รับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวได้ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการที่โจทก์นำสืบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมบางคนรวมทั้งตัวโจทก์ด้วยเป็นผู้มีชื่อถือหุ้นแทนผู้บริหารของธนาคารชุดเดิม ก็เป็นการนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่อถือหุ้นของจำเลยร่วมอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ตามมาตรา 1133(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานด้วยจึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9ผู้โอนหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1133 นั้นโจทก์หาได้ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยร่วมในการเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมไม่แต่เป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9รับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตามมาตรา 1133โดยใช้สิทธิของโจทก์เองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยร่วมโดยตรงทั้งนี้เพราะจำเลยร่วมหามีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ได้โดยไม่จำต้องเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของจำเลยร่วมก่อน การส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1121 นั้นเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทซึ่งผู้ถือหุ้นอยู่เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้น ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทเรียกให้ผู้โอนหุ้นซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นรับผิด ออกส่วนใช้หนี้ตามมาตรา 1133 ซึ่งเจ้าหนี้ของบริษัทมีสิทธิ เรียกร้องตามสิทธิของตนเองได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 1121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้โอนหุ้นในส่วนที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้โดยตรง
จำเลยร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ หุ้นที่จำเลยที่ 5ที่ 8 และที่ 9 โอนให้แก่บริษัท ท. เป็นหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่เต็มจำนวนค่าหุ้น ถ้าปรากฏว่าบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันจะพึงต้องออกใช้นั้น จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ผู้โอนหุ้นดังกล่าวก็ยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ให้รับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวได้ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการที่โจทก์นำสืบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมบางคนรวมทั้งตัวโจทก์ด้วยเป็นผู้มีชื่อถือหุ้นแทนผู้บริหารของธนาคารชุดเดิม ก็เป็นการนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่อถือหุ้นของจำเลยร่วมอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ตามมาตรา 1133 (2) แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานด้วย จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ผู้โอนหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 นั้น โจทก์หาได้ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยร่วมในการเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมไม่ แต่เป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 รับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตามมาตรา 1133 โดยใช้สิทธิของโจทก์เองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยร่วมโดยตรงทั้งนี้เพราะจำเลยร่วมหามีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ที่ 8 และที่ 9 ได้โดยไม่จำต้องเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของจำเลยร่วมก่อน
การส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121 นั้นเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทซึ่งผู้ถือหุ้นอยู่เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้น ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทเรียกให้ผู้โอนหุ้นซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ตามมาตรา 1133 ซึ่งเจ้าหนี้ของบริษัทมีสิทธิเรียกร้องตามสิทธิของตนเองได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 1121
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ผู้โอนหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 นั้น โจทก์หาได้ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยร่วมในการเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมไม่ แต่เป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 รับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตามมาตรา 1133 โดยใช้สิทธิของโจทก์เองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยร่วมโดยตรงทั้งนี้เพราะจำเลยร่วมหามีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ที่ 8 และที่ 9 ได้โดยไม่จำต้องเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของจำเลยร่วมก่อน
การส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121 นั้นเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทซึ่งผู้ถือหุ้นอยู่เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้น ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทเรียกให้ผู้โอนหุ้นซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ตามมาตรา 1133 ซึ่งเจ้าหนี้ของบริษัทมีสิทธิเรียกร้องตามสิทธิของตนเองได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 1121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำส่งหมายนัดชี้สองสถาน, การทิ้งฟ้อง, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 182 จะบัญญัติให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายและได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งท้ายคำร้องโจทก์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก ทั้งตามมาตรา 70 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งหมายนัดได้ ดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดนัดทำการชี้สองสถานไว้แล้วแต่จำเลยทั้งหกยังไม่ทราบวันนัดชี้สองสถาน เพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานให้แก่จำเลยทั้งหกตามคำสั่งศาล ศาลจึงไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดดังกล่าวได้ ย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป และการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชอบแล้ว และกรณีทิ้งฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้อง หรือถอนฟ้อง หรือยอมความกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาและการพิสูจน์ความรับผิดตามสัญญา/ละเมิด
แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้นำรถยนต์มาประกันภัยไว้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์จะรับช่วงสิทธิจากผู้เอา-ประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้หรือไม่ก็เป็นประเด็นย่อยที่รวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทำสัญญารักษาความปลอดภัย และรับฝากทรัพย์สินของเจ้าของหรือผู้อยู่ในบริเวณหมู่บ้าน พ. กับเจ้าของและผู้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านดังกล่าว รวมทั้งรับฝากรถยนต์โดยมีบำเหน็จ โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องเลยว่าจำเลยทำสัญญารักษาความปลอดภัยและรับฝากทรัพย์สินของ ป. กับ ป. เป็นผู้อาศัยอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน พ. และรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์เป็นของ ป. อันจะได้นำมาพิจารณาว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อ ป. ตามสัญญาหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษารถยนต์ตามฟ้อง การที่ลูกจ้างจำเลยไม่ได้ตรวจตราและมีคนนำรถยนต์คันดังกล่าวไปจากบริเวณหมู่บ้าน พ. ได้ จึงไม่เป็นการกระทำที่ผิดสัญญาหรือละเมิดต่อ ป. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ป. ทั้งในเรื่องสัญญาและละเมิด จึงไม่มีสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงจาก ป. มาเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้
เมื่อข้อกล่าวอ้างตามฟ้องเห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทำสัญญารักษาความปลอดภัย และรับฝากทรัพย์สินของเจ้าของหรือผู้อยู่ในบริเวณหมู่บ้าน พ. กับเจ้าของและผู้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านดังกล่าว รวมทั้งรับฝากรถยนต์โดยมีบำเหน็จ โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องเลยว่าจำเลยทำสัญญารักษาความปลอดภัยและรับฝากทรัพย์สินของ ป. กับ ป. เป็นผู้อาศัยอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน พ. และรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์เป็นของ ป. อันจะได้นำมาพิจารณาว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อ ป. ตามสัญญาหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษารถยนต์ตามฟ้อง การที่ลูกจ้างจำเลยไม่ได้ตรวจตราและมีคนนำรถยนต์คันดังกล่าวไปจากบริเวณหมู่บ้าน พ. ได้ จึงไม่เป็นการกระทำที่ผิดสัญญาหรือละเมิดต่อ ป. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ป. ทั้งในเรื่องสัญญาและละเมิด จึงไม่มีสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงจาก ป. มาเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้
เมื่อข้อกล่าวอ้างตามฟ้องเห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีเครื่องหมายการค้ายังไม่ได้จดทะเบียน และประเด็นการยกข้อไม่ขึ้นว่ากันในศาล
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาท ก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiral และรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. เดียวกัน
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiral และรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. เดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน และการพิสูจน์การลวงขายเพื่อเรียกค่าเสียหาย
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาทก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiralและรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่38โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าวโจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา29วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎหมายอนุญาโตตุลาการอังกฤษใช้บังคับ, คำชี้ขาดผูกพันจำเลย, ดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระค่าระวางเรือค่าเรือเสียเวลา ค่านายหน้า และค่าป่วยการต่าง ๆ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเรือทั้งสิ้นเท่าไร จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วเป็นเงินเท่าไร และยังคงต้องชำระแก่โจทก์เป็นค่าระวางและค่าเรือเสียเวลารวม 12,635.73 เหรียญสหรัฐแต่จำเลยไม่ยอมชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ซึ่งจำเลยก็โต้แย้งเพียงว่าจำนวนค่าเช่าเรือและค่าเรือเสียเวลาไม่ตรงกับการคำนวณของจำเลยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์เป็นอย่างดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5438/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบกัน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และการสละประเด็นข้อพิพาทในชั้นศาล
โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ตาม แต่ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ โจทก์กับจำเลยอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน 4 คน โจทก์เป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ส่วนจำเลยเป็นผู้ทำมาค้าขายแล้วออกเงินซื้อที่ดินและบ้านพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยกันตลอดมา พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์กับจำเลยเลิกร้างกันได้ตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท และโจทก์ได้รับส่วนแบ่งเป็นเงิน 400,000 บาทไปจากจำเลยแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไม่ได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อดังกล่าวขึ้นฎีกา ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้