คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 182

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องในคดีขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าโจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกัน
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สัญญา กู้ยืม และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากมีเหตุผลความจำเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืนมีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่2 มีนาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี ดังนี้เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลยทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้ว จำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (เดิม) ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531เป็นต้นเงิน 164,000 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน164,600 บาท ที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเองส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วันดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น ทางสาธารณะ และการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล: การเปิดทางพิพาทที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายรายและผ่านที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้" ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฯลฯ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3. ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วย แต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่าโจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใด ตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วยซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏในน.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ 1 เมตรเศษนอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดสัญญาถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่เป็นการจ้างงานลักษณะพิเศษ
ในกรณีที่มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือโดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนั้น ถือเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของคำว่าเลิกจ้างในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ดังกล่าวแล้ว เพราะถ้าไม่หมายความเช่นนั้นคือถือว่าไม่เป็นการเลิกจ้างแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ในกรณีทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ และได้กำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ เพราะเมื่อถือว่าไม่เป็นการเลิกจ้างนายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอยู่แล้วตามความในตอนต้นของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่ว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังนี้ ฯลฯ"ซึ่งหมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างก็เฉพาะกรณีที่มีการเลิกจ้างเท่านั้น ดังนี้ แม้การจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนโดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการจ้างไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างและจำเลยไม่ได้ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ในปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่มีการจ้างให้ทำงานดังกล่าวโดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการจ้างไว้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธฟ้องต้องระบุเหตุ หากไม่ระบุ ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง
การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ไม่ว่าปฏิเสธทั้งสิ้นหรือบางส่วนจำเลยต้องให้เหตุแห่งการปฏิเสธไว้ เท่ากับจำเลยจะต้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงไว้ในคำให้การเพื่อตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาท มิฉะนั้นจำเลยจะไม่มีประเด็นอะไรให้นำสืบตามหน้าที่ของจำเลยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 จำเลยให้การปฏิเสธว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธไว้ อีกทั้งไม่ได้ให้การปฏิเสธฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ออกเช็ค จำเลยที่ 2 ไม่ได้สลักหลังเช็ค และธนาคารผู้จ่ายไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็ค จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังนี้แล้ว ไม่จำต้องให้คู่ความนำสืบข้อเท็จจริงอื่นใดที่ไม่จำเป็นแก่คดีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย & การชี้สองสถานคดีภาษี: เหตุผลการถอนตัวไม่ชอบ & การดำเนินการชี้สองสถานชอบตามกฎหมาย
คำร้อง ของ ทนายโจทก์กล่าวเพียงว่าทนายโจทก์กับโจทก์มีความเห็นทางคดีไม่ตรงกัน และโจทก์ไม่ชำระค่าทนายความตามที่ตกลงกันจึงขอถอนตัวจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวในคำร้องว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว หรือหาตัวความไม่พบ ถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 บังคับไว้ เป็นคำร้องขอถอนตัวจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจทำการชี้สองสถานไปได้โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 13 การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา นอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 16 การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์นั้นชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ซึ่งกำหนดว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โจทก์มิได้คัดค้านว่าผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะในขณะนั้น ถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ ศาลภาษีอากรกลางนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว ทำการชี้สองสถานไปโดยมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้าง ข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้ง ข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบถาม เนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้วเป็นการชี้สองสถานที่ชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถาน, และการดำเนินการพิจารณาคดีภาษีอากรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตนเองจากการเป็นทนาย มิได้กล่าวว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบถือได้ว่าทนายโจทก์มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุดังกล่าวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 บังคับไว้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว การสั่งคำร้องของ ทนายโจทก์ที่ขอถอนตัวจากการเป็นทนายและขอเลื่อนคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำหรือออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 16 ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ได้กำหนดไว้ว่า ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆก็ได้ตามที่เห็นสมควร การที่ศาลภาษีอากรกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์ก็ชอบด้วยข้อกำหนดดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาคนเดียวทำการชี้สองสถานไม่ครบองค์คณะโจทก์มิได้คัดค้านในขณะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านในเรื่ององค์คณะ จึงยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ศาลภาษีอากรกลางทำการชี้สองสถานโดยนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความเทียบกันดูแล้ว กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบโดยศาลมิได้สอบถามคู่ความถึงข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ไม่จำต้องสอบถามเนื่องจากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว การชี้สองสถานนั้นก็ชอบด้วยข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสิทธิในมรดกนอกประเด็นฟ้อง การพิจารณาฐานะทายาทที่ยังไม่ได้ถูกยกขึ้นมาต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทเพียงผู้เดียวที่มีสิทธิได้รับ ที่ดินมรดกของ ฉ. จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. หรือมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน นั้น ทั้งตามคำสั่งศาลในคดีก่อนที่ให้ตั้งโจทก์กับจำเลยเป็น ผู้จัดการมรดกของ ฉ.ร่วมกันก็มิได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ.หรือมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีส่วนได้เสีย ในที่ดินมรดก จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งใน ที่ดิน ตามส่วนนั้น จึงเป็น การวินิจฉัยนอกประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ.
of 22