พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ตามฟ้องทำให้ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม แม้เรื่องดอกเบี้ย
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่มิได้ขาดนัดพิจารณาเมื่อจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้องเสียแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบแต่อย่างใดอีกเพราะข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ตามฟ้องตามที่จำเลยแถลงรับอยู่แล้ว แม้จะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรือการคิดดอกเบี้ยก็ตาม ศาลย่อมพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องให้โจทก์นำสืบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้ทรงคนก่อนได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนเว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบ มาตรา 989 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ส. เพื่อค้ำประกันโดยไม่มีมูลหนี้ จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ ส.แล้วแต่ส.ใช้อุบายชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และไม่จำต้องสืบพยาน เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้อาศัยให้รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ในราคา 20,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินงวดแรกให้โจทก์ 14,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงจะชำระให้เมื่อโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยชำระราคาบางส่วนแล้วจริงหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นอย่างกว้าง ๆ ตามคำให้การของจำเลย ซึ่งย่อมรวมถึงการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ชำระราคาบางส่วนและที่เหลือเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ อันเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อจะขายนั่นเองการที่จำเลยทั้งสองนำสืบตามคำให้การและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงหาเป็นการนำสืบและวินิจฉัยนอกประเด็นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการยกข้อกฎหมายที่ไม่เคยคัดค้านในชั้นพิจารณา
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทหรือไม่ โจทก์ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองในที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามหรือไม่เพียงใดโจทก์มิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไว้ ที่โจทก์ฎีกาว่า คำให้การของจำเลยขัดกันเอง เคลือบคลุม ไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นนำสืบ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์นั้น เป็นการฎีกาคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านไว้ก็จะยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226และปัญหาว่าคำให้การของจำเลยขัดกันเอง เคลือบคลุม ไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นนำสืบหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาในช่วงชีวิตสมรส
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้อ้างสิทธิริบตามระเบียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมหรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ให้แจ้งชัดถึงเรื่องเงินประกันว่า เพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ และจำเลยก็ไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของพนักงานดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้ตามระเบียบของจำเลยหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิริบเงินประกันตามระเบียบของจำเลย จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ก็มีผลใช้บังคับได้ และศาลฎีกาสามารถเพิ่มประเด็นข้อพิพาทได้
จำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่า จำเลยมีอำนาจทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์หรือไม่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวก่อนหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยได้คัดค้านไว้แล้วเมื่อจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มขึ้นอีก 2 ข้อ ตามที่จำเลยฎีกาและวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่เพิ่มขึ้นไปเสียทีเดียว โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกันภายหน้า แม้ขณะทำสัญญาผู้จะขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะเมื่อสัญญาถึงกำหนด หากผู้จะขายผิดสัญญาโอนทรัพย์สินให้ผู้จะซื้อไม่ได้ผู้จะซื้อก็สามารถให้ผู้จะขายชดใช้ค่าเสียหายแทนการโอนทรัพย์สินที่จะขายได้ สัญญาจะซื้อขายกำหนดวันไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนไว้แน่นอนแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การที่ พ.และด. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทมีชื่ออยู่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้ครอบครองแทนทายาท จำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ดินพิพาทย่อมตกได้แก่จำเลยเมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การจัดรูปที่ดินไม่ตัดสิทธิเจ้าของเดิม ต้องพิสูจน์สิทธิก่อน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งห้าซึ่งมีอำนาจหน้าที่ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ร่วมกันออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินของโจทก์เป็นการมิชอบ ขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะประเภทเลี้ยงสัตว์พาหนะซึ่งทางราชการได้ขึ้นทะเบียนไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเป็นจะต้องสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทอยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินมีผลเพียงให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับที่ดินต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เท่านั้น ไม่มีผลทำให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับที่ดินต้องเสียสิทธิในที่ดินไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต เจ้าของอาคารมีสิทธิในส่วนที่รุกล้ำ โจทก์ไม่สามารถบังคับรื้อถอนได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเอง หากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต และต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้ และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ศาลไม่อาจบังคับรื้อถอน แต่ให้ชำระค่าใช้ที่ดิน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเองหากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามป.พ.พ. มาตรา 1312 ศาลจึงไม่อาจพิจารณา พิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้.