พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาจ้างตัดไม้: การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย และสิทธิในการฟ้องคดีโดยตรง
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตัดฟันชักลากไม้ออกจากป่า จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุที่บริษัท ศ. ซึ่งได้รับอนุญาตให้ขยายเขตสัมปทานทับที่ ไม่ยอมให้จำเลยเข้าไปชักลากไม้มาเป็นข้ออ้างว่าการชำระหนี้ตามสัญญาที่มีต่อโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัย ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่จำเลยต้องดำเนินการให้ระงับการกระทำที่ไม่ชอบซึ่งอยู่ในวิสัยจำเลยกระทำได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาขึ้นแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องได้ และตามสัญญาก็มิได้บังคับว่าจะต้องให้ประธานกรรมการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิจารณาเสียก่อนจึงจะฟ้องร้องกันได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาขึ้นแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องได้ และตามสัญญาก็มิได้บังคับว่าจะต้องให้ประธานกรรมการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิจารณาเสียก่อนจึงจะฟ้องร้องกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวชั่วคราว: ความรับผิดทางแพ่งยังคงมีผลใช้บังคับ แม้ผู้ต้องหาได้รับนิรโทษกรรม
จำเลยทำสัญญาขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนกับโจทก์ ถ้าผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ยอมใช้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ โจทก์ถือว่าจำเลยผิดสัญญาสั่งปรับตามสัญญา ถึงแม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมผู้ต้องหาพ้นความรับผิดโดยสิ้นเชิง และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องแล้วก็ตาม ก็ย่อมไม่กระทบถึงสัญญาประกันระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นความรับผิดส่วนแพ่ง สัญญาประกันย่อมมีผลใช้บังคับไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ที่พ้นวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยกับการนิรโทษกรรม: สัญญาแพ่งยังใช้บังคับแม้ผู้ต้องหาพ้นความผิดอาญา
จำเลยทำสัญญาขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนกับโจทก์ ถ้าผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ยอมใช้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยส่งตัวผู้ต้องหาไม่ได้ โจทก์ถือว่าจำเลยผิดสัญญาสั่งปรับตามสัญญา ถึงแม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมผู้ต้องหาพ้นความรับผิดโดยสิ้นเชิง และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องแล้วก็ตาม ก็ย่อมไม่กระทบถึงสัญญาประกันระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นความรับผิดส่วนแพ่ง สัญญาประกันย่อมมีผลใช้บังคับไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ที่พ้นวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผล 'พ้นวิสัย' ไม่ครอบคลุมการขึ้นราคาน้ำมันดิบ ยางแอสฟัลท์ล่าช้าถือเป็นผิดสัญญา
"พ้นวิสัย" หมายถึงเหตุการณ์เกิดขึ้นทำให้การชำระหนี้เป็นไปไม่ได้ การที่ผลผลิตของน้ำมันดิบขาดแคลนเพราะต่างประเทศขึ้นราคาน้ำมันดิบ ไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยที่ผู้ขายจะส่งยางแอสฟัลท์แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนดเวลา ผู้ขายต้องรับผิดในการส่งชักช้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: การชดเชยค่าจ้างจากภาวะต้นทุนสูง และผลของการยอมรับเงินชดเชยบางส่วน
การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นไม่เป็นเหตุให้การชำระหนี้ของโจทก์ที่จะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นพ้นวิสัย โจทก์จะอ้างเรื่องวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงขึ้นมาเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ได้
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของ ประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการดังกล่าวอีก
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของ ประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดเชยค่าก่อสร้างที่สูงขึ้นจากวัสดุราคาแพง ไม่ผูกมัดผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาพอใจเงินชดเชยแล้ว ฟ้องบังคับไม่ได้
การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาสูงขึ้น ไม่เป็นเหตุให้การชำระหนี้ของโจทก์ที่จะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นพ้นวิสัย โจทก์จะอ้างเรื่องวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงขึ้นมาเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ได้
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและและถาวรวัตถุของประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวอีก
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและและถาวรวัตถุของประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยหรือคำสั่งทางราชการ
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้ว จำเลยก็ยอมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการ กรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ.ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยต้องจัดทำถนนและชำระเบี้ยปรับตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันและแทนกันทำการจัดสรรที่ดินให้โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ แล้วจำเลยทั้งสามประพฤติผิดสัญญา โดยไม่จัดการทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ และที่ดินที่จำเลยร่วมกันจัดสรรทุกแปลง จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญา เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อน ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมาก จึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้น แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวน จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี จำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปี จำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้ การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น มิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย และจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า หากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์ ให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า "หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมาย ทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำ และเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อน ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมาก จึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้น แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวน จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี จำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปี จำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้ การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น มิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย และจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า หากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์ ให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า "หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมาย ทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำ และเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าที่ดินและการส่งมอบทรัพย์ ศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หรือคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินที่ยังค้างชำระ 248,500 บาทจากโจทก์แล้วให้จำเลยส่งมอบที่พิพาทให้แก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงิน 101,500 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังนี้ ในชั้นบังคับคดีเมื่อโจทก์ยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขแรก และจำเลยก็แถลงว่าไม่มีเหตุขัดข้องที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแรกจำเลยจึงจะเลือกปฏิบัติตามเงื่อนไขหลัง คือคืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้เป็นเงิน 101,500 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ได้