คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 219

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งความเสี่ยงทรัพย์สินซื้อขาย - ไฟไหม้ทำลายทรัพย์สิน
เงินราคาของที่ผู้ซื้อวางไว้แก่ผู้ขาย ซึ่งผู้ขายจะต้องคืนแก่ผู้ซื้อได้กลายเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ไป ภายหลังทั้งสองฝ่ายต่างทำสัญญากันให้รับผิดชอบคนละครึ่งและผู้ขายได้ชำระให้ผู้ซื้อไปครึ่งหนึ่งแล้ว ส่วนทรัพย์ที่ซื้อขายตกลงกันให้ผู้ซื้อบอกขาย ขายได้กำไรเท่าใด แบ่งกันคนละครึ่งต่อมาของที่ขายก็ถูกไฟไหม้สูญหายไป ดังนี้ผู้ซื้อจะมาเรียกร้องให้ผู้ขายคืนเงินอีกครึ่งหนึ่งที่วางไว้ไม่ได้เพราะความตกลงกันเด็ดขาดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ไม่เป็นไปตามสัญญาจากเหตุภายนอก และประเด็นการฟ้องซ้ำ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 ที่บัญญัติถึงการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยนั้นหมายถึงว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ปฏิบัติการชำระหนี้นั้นไม่ได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ เวลาเจ้าพนักงานไปรังวัด มีผู้ร้องคัดค้านว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเขาจำเลยจึงขอต่อเจ้าพนักงานให้งดรังวัดไว้ก่อน เพื่อทำความตกลงกับผู้ร้องดังนี้ ยังไม่เรียกว่าจะทำให้การรังวัดและโอนขายให้โจทก์ไม่ได้
ข้อความในรายงานพิจารณานั้น ศาลจดไว้ตามสมควรแก่รูปคดีศาลไม่มีหน้าที่จดทุกอย่างที่คู่ความประสงค์ให้จด ศาลจะจดให้เฉพาะแต่ที่เป็นสาระแห่งคดีเท่านั้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความพอจะวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลย่อมไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงอื่นอันไม่สำคัญแก่รูปคดี และสั่งงดสืบพยานเสียได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยโดยอ้างสัญญาเดิมและอ้างว่าสัญญาใหม่ที่นำมาฟ้องในคดีนี้ใช้ไม่ได้ ต่อเมื่อศาลยกฟ้องแล้ว จึงหวนกลับเอาสัญญาใหม่มาฟ้องอีกดังนี้ ย่อมฟ้องได้เพราะเป็นคนละประเด็น ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขายไม่ผิดนัดสัญญา หากผู้ซื้อไม่ยอมรับการครอบครองก่อนโอน และผู้ขายคืนเงินมัดจำแล้ว ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านเรือนให้เขาโดยได้รับเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สามารถโอนให้ผู้ซื้อภายในกำหนดตามสัญญาได้ เพราะมีเหตุขัดข้อง เจ้าพนักงานยังไม่ยอมทำโอนให้ภายในกำหนดสัญญา ผู้ขายได้แสดงความจำนงให้ผู้ซื้อครอบครองที่ ๆ จะซื้อไปก่อน ผู้ซื้อไม่ยอม ดังนี้จะถือว่าผู้ขายเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ได้
ผู้รับมัดจำขอคืนเงินมัดจำแล้ว อีกฝ่าย 1 ไม่ยอมรับดังนี้จะฟ้องขอให้ผู้รับมัดจำเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายไม่ผิดนัดหากมีเหตุขัดข้องและเสนอให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองก่อน ส่วนดอกเบี้ยมัดจำ ผู้ขายไม่ต้องจ่ายหากไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญา
ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านเรือนให้เขา โดยได้รับเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สามารถโอนให้ผู้ซื้อภายในกำหนดตามสัญญาได้ เพราะมีเหตุขัดข้อง เจ้าพนักงานยังไม่ยอมทำโอนให้ภายในกำหนดสัญญาผู้ขายได้แสดงความจำนงให้ผู้ซื้อครอบครองที่ ที่ จะซื้อไปก่อนผู้ซื้อไม่ยอมดังนี้ จะถือว่าผู้ขายเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ได้
ผู้รับมัดจำขอคืนเงินมัดจำแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับดังนี้ จะฟ้องขอให้ผู้รับมัดจำเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินกับคนต่างด้าว: สิทธิบังคับตามสัญญาขึ้นอยู่กับการได้รับอนุญาต
ทำสัญญาขายที่ดินแก่คนต่างด้าว ผู้ขายเคยยื่นคำร้องต่ออำเภอ ขอโอนที่ให้คนต่างด้าวครั้งหนึ่งแล้ว แต่อำเภอไม่อนุญาต ส่วนตัวคนต่างด้าวผู้ซื้อยังไม่ได้ยื่นคำร้องเอง ดังนี้ ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้สัญญาต้องเลิกกัน หรือหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เพราะ พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มิได้ห้ามเด็ดขาดให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน หากวางเงื่อนไขบางประการให้ต้องขออนุญาตก่อนเท่านั้น
ผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว ยังมิได้ร้องขออนุญาตต่อทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องผู้ขายให้โอนที่แก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินกับคนต่างด้าว: สิทธิฟ้องบังคับเมื่อยังมิได้ขออนุญาต
ทำสัญญาขายที่ดินแก่คนต่างด้าว ผู้ขายเคยยื่นคำร้องต่ออำเภอขอโอนที่ให้คนต่างด้าวครั้งหนึ่งแล้วแต่อำเภอไม่อนุญาต ส่วนตัวคนต่างด้าวผู้ซื้อยังไม่ได้ยื่นคำร้องเองดังนี้ยังไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าเป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้สัญญาต้องเลิกกัน หรือหลุดพ้นจากการชำระหนี้เพราะพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน หากวางเงื่อนไขบางประการให้ต้องขออนุญาตก่อนเท่านั้น
ผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว ยังมิได้ร้องขออนุญาตต่อทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องผู้ขายให้โอนที่แก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ร่วมและการถือว่าลูกหนี้ละเลยหนี้เมื่อเจ้าพนักงานพร้อมโอนแต่จำเลยไม่ดำเนินการ
ทำสัญญาขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาไปขอทำการโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินในเรื่องนี้ตลอดมา ไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการโอน เหตุทางอำเภอยังไม่โอนให้ ก็เพราะรอฟังคำสั่งกรมที่ดินอยู่เท่านั้น ซึ่งในระหว่างนั้นทางการยังดำเนินการพิจารณาเรื่องราวที่ขอโอนอยู่ ดังนี้ไม่ถือว่าการโอนหรือการชำระหนี้เป็ฯพ้นวิสัยอันจะทำให้ผู้ขายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามมาตรา 219 และถือว่า สัญญาซื้อขายจะถือเอาการที่เจ้าพนักงานยังมิได้ทำสัญญาให้ดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาไม่ได้
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่า ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน
ทำสัญญาจะขายทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อซึ่งร่วมกันหลายคน ถือว่าผู้ซื้อแต่ละคนเป็นเจ้าหนึ้ร่วมกันตามมาตรา 298 เจ้าหนี้ร่วมเพียงคนเดียวก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมอบอำนาจให้ผูแทนฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้
โจทก์ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้คนหนึ่งให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่าใบมอบอำนาจฟ้องร้องไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ในวันชี้สองสถาน จำเลยแถลงว่าโจทก์ไมีมีอำนาจฟ้อง เพราะเจ้าหนี้ร่วมอีก2คน มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้อง ิได้โต้แย้งในเรื่องความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจนั้นแต่ประการใด จนเมื่อศาลสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงยกเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจ ดังนี้ถือว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความจริงแห่งใบมอบอำนาจ และถือได้ว่าจำเลยยอมรับในความแท้จริง แห่งใบมอบอำนาจนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขาย, การชำระหนี้, และผลของการละเลยหนี้ตามสัญญา
ทำสัญญาจะขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาไปขอทำการโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินในเรื่องนี้ตลอดมาไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการโอน เหตุที่ทางอำเภอยังไม่โอนให้ ก็เพราะรอฟังคำสั่งกรมที่ดินอยู่เท่านั้น ซึ่งในระหว่างนั้นทางการก็ยังดำเนินการพิจารณาเรื่องราวที่ขอโอนอยู่ ดังนี้ ไม่ถือว่าการโอนหรือการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยอันจะทำให้ผู้ขายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามมาตรา 219และถือว่าสัญญาจะซื้อขายคงมีผูกพันต่อกันอยู่ ผู้ขายจะถือเอาการที่เจ้าพนักงานยังมิได้ทำสัญญาให้ดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาไม่ได้
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน
ทำสัญญาจะขายทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อซึ่งร่วมกันหลายคน ถือว่าผู้ซื้อแต่ละคนเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันตามมาตรา 298 เจ้าหนี้ร่วมเพียงคนเดียวก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมอบอำนาจให้ผู้แทนฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้
โจทก์ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้คนหนึ่งให้ฟ้องจำเลยโดยส่งสำเนาใบมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง จำเลยต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่าใบมอบอำนาจฟ้องร้องไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายในวันชี้สองสถาน จำเลยแถลงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเจ้าหนี้ร่วมอีก 2 คน มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้อง มิได้โต้แย้งในเรื่องความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจนั้นแต่ประการใด จนเมื่อศาลสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงยกเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจดังนี้ถือว่าไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจ และถือได้ว่าจำเลยยอมรับในความแท้จริงแห่งใบมอบอำนาจนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการโอน และค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, และการเพิกถอนการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้วต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น
of 34