คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 219

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, อายุความ และข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์ของโรงแยกก๊าซจำนวน 3 กลุ่ม รวม 499 รายการ ตามรายการละเอียดแนบท้ายสัญญา รวมราคาทั้งสิ้น 3,788,109 บาท ตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนขาดส่งจำนวน 160รายการ คิดเป็นเงิน 1,122,478 บาท ตามสำเนาบันทึกข้อความการตรวจรับพัสดุเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน160 รายการ อันเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิด คุณสมบัติลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเลยมิได้ส่งมอบ และโจทก์ได้ตกลงจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ชนะการประกวดราคา ตามสำเนาสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอกสารท้ายฟ้องรวม 119 รายการ เป็นเงิน8,824,320 บาท และมีคำขอบังคับ เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งปรากฏรายละเอียดแห่งสินค้ามาด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมไม่จำต้องบรรยายว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาใหม่เป็นสินค้าอะไรบ้าง และเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่
เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 8 หมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคานั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่เมื่อจำเลยผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำสัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและเป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้และแม้โจทก์จะยอมรับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อนและหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุสุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย
ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย แต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือน ตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 474 มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่)
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้เป็นประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - การผิดสัญญา - การซื้อสินค้าจากผู้อื่น - ค่าปรับ - อายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์ของโรงแยกก๊าซจำนวน 3 กลุ่ม รวม 499 รายการตามรายการละเอียดแนบท้ายสัญญา รวมราคาทั้งสิ้น 3,788,109 บาทตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนขาดส่งจำนวน 160 รายการ คิดเป็นเงิน 1,122,478 บาทตามสำเนาบันทึกข้อความการตรวจรับพัสดุเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน 160 รายการอันเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิด คุณสมบัติลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเลยมิได้ส่งมอบ และโจทก์ได้ตกลงจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ชนะการประกวดราคา ตามสำเนาสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอกสารท้ายฟ้องรวม 119 รายการ เป็นเงิน 8,824,320 บาท และมีคำขอบังคับ เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งปรากฏรายละเอียดแห่งสินค้ามาด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมไม่จำต้องบรรยายว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาใหม่เป็นสินค้าอะไรบ้าง และเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หมายถึง เหตุใด ๆอันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การ ทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคา นั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่ เมื่อจำเลย ผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำ สัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตาม สัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและ เป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้ และแม้โจทก์จะยอม รับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อน และหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่ จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่า โจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุ สุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยแต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือนตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่) ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะร้องเรียกเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9 อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้ประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, หลักประกัน, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามประกาศประกวดราคาของกรมทางหลวงโจทก์ ข้อ 3กำหนดเพียงว่าโจทก์คาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ประมาณ 30 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา และตามข้อ 2 ระบุว่า หากว่าโจทก์มีความจำเป็นอันไม่อาจลงนามในสัญญาได้ตามกำหนดเวลาและจำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาต่อไปผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปไม่ถือกรณีเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญานี้เป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ประการใด กับในข้อ 4 ระบุว่าต้องยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา ส่วนในข้อ 10 ระบุอีกว่า โจทก์จะรับทำสัญญาผูกพันกับผู้ใดต่อเมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินสำหรับค่าของรายนี้แล้ว ดังนี้เห็นได้ว่าระยะเวลา30 วัน เป็นระยะเวลาที่ประมาณไว้และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ หาได้กำหนดเป็นระยะเวลาแน่นอนที่ต้องลงนามในสัญญาไม่ และในกรณีที่จำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญา ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปโดยไม่ถือการเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาเป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ทั้งประกาศประกวดราคาก็กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยื่นใบประกวดราคายืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาดังกล่าวด้วย แสดงว่าการลงนามในสัญญาอาจเกินกว่า 30 วันได้แต่หากเกิน 120 วัน จำเลยที่ 1 ย่อมปฏิเสธที่จะขายในราคาที่เสนอและปฏิเสธการลงนามในสัญญาได้ การที่โจทก์ออกประกาศกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2527 แต่โจทก์เพิ่งประกาศผลการประกวดราคาในวันที่ 6 กันยายน 2527 และให้จำเลยมาทำสัญญากับโจทก์ภายใน 15 วัน คือภายในวันที่ 21 กันยายน 2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อความในประกาศประกวดราคาและถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวโดยไม่ชอบ หรือไม่สุจริต
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวด-ราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7.เป็นจำนวนเงินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8.ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8.วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลยโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1 - 22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นเป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตามข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ การผิดสัญญา การค้ำประกัน และดอกเบี้ยผิดนัด
ตามประกาศประกวดราคาของกรมทางหลวงโจทก์ ข้อ 3 กำหนดเพียงว่าโจทก์คาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ประมาณ 30 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา และตามข้อ 2 ระบุว่า หากว่าโจทก์มีความจำเป็นอันไม่อาจลงนามในสัญญาได้ตามกำหนดเวลาและจำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาต่อไป ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปไม่ถือกรณีเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญานี้เป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ประการใด กับในข้อ 4 ระบุว่าต้องยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา ส่วนในข้อ 10ระบุอีกว่า โจทก์จะรับทำสัญญาผูกพันกับผู้ใดต่อเมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินสำหรับค่าของรายนี้แล้ว ดังนี้เห็นได้ว่าระยะเวลา 30 วัน เป็นระยะเวลาที่ประมาณไว้และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ หาได้กำหนดเป็นระยะเวลาแน่นอนที่ต้องลงนามในสัญญาไม่ และในกรณีที่จำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญา ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปโดยไม่ถือการเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาเป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ทั้งประกาศประกวดราคาก็กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยื่นใบประกวดราคายืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาดังกล่าวด้วย แสดงว่าการลงนามในสัญญาอาจเกินกว่า 30 วันได้แต่หากเกิน 120 วัน จำเลยที่ 1 ย่อมปฏิเสธที่จะขายในราคาที่เสนอและปฏิเสธการลงนามในสัญญาได้ การที่โจทก์ออกประกาศกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2527 แต่โจทก์เพิ่งประกาศผลการประกวดราคาในวันที่ 6 กันยายน2527 และให้จำเลยมาทำสัญญากับโจทก์ภายใน 15 วัน คือภายในวันที่ 21 กันยายน2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อความในประกาศประกวดราคาและถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวโดยไม่ชอบ หรือไม่สุจริต
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8. ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8. วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลย โจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1-22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดสัญญา โจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น เป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตาม ข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ, การฟ้องคดีก่อนกำหนด, การละเมิด, การป้องกันความเสียหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่30เมษายน2534โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามรายงานประจำวันจำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่30เมษายน2534และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีกแต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่24มิถุนายน2531แล้วจำเลยไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าวโดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีกโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ตามรายงานประจำวันระบุว่าจำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลงและจะกระทำการต่างๆเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดินฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีกถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำ
จำเลยทำสัญญาขายไม้ฟืนที่ตัดจากพื้นที่ที่จำเลยได้รับสัมปทานทำไม้ส่งมอบให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลง ทำให้การส่งไม้ฟืนเป็นไปไม่ได้ การชำระหนี้จึงตกเป็น พ้นวิสัยเพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้และสัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิเสธการรับโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจากกรรมสิทธิ์ร่วม และสิทธิในการบังคับตามสัญญา
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำจากโจทก์ทั้งสองการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยระงับไปแต่อย่างใดจำเลยยังคงมีความผูกพันกับโจทก์ทั้งสองตามสัญญาโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้อย่างไรก็ตามแต่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสองตามสัญญาได้เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกที่มิได้เกี่ยวข้องในระหว่างสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่อยู่นอกเหนือวิสัยและความรับผิดชอบของจำเลยกรณีจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่มีใครอาจฟ้องได้ การไม่อนุญาตสร้างอาคารยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขต ยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาตแต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีกเมื่อ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใดกรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย: คำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขตยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาต แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีก เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใด กรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยปลดหนี้สัญญา: การที่คนต่างด้าวป่วยเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยไม่ส่งตัว ห. คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะห. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่มีเจตนาปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญาที่ต้องจัดการให้ ห.เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับตามสัญญา ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามกฎหมาย เมื่อผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองมีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายทั้งในฐานะคู่สัญญากับจำเลยโดยตรงแล้วหนี้ค่าปรับจึงระงับสิ้นไป
of 34