คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 219

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลไม่อนุญาตขาย
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุตรผู้เยาว์ของจำเลย ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะขายได้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษไม่ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีเงื่อนไขสำเร็จผลเมื่อได้รับอนุมัติวิ่งรถ และความผิดสัญญาจากเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ
สัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทมีข้อตกลงให้มีผลบังคับต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร - ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต ไม่แน่นอนข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมากระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ได้ เงื่อนไขตามสัญญาจึงสำเร็จลงมีผลบังคับคู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อยึดรถยนต์พิพาทไป การที่จำเลยถูกยึดรถยนต์พิพาทเพราะไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจของจำเลยแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เหตุพ้นวิสัยหรือเหตุสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยที่จะป้องกันได้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขาย, ความผิดสัญญาเช่าซื้อ, เหตุพ้นวิสัย/สุดวิสัย, ความรับผิดทางสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทมีข้อตกลงให้มีผลบังคับต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร - ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต ไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมากระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ได้ เงื่อนไขตามสัญญาจึงสำเร็จลงมีผลบังคับคู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อยึดรถยนต์พิพาทไป การที่จำเลยถูกยึดรถยนต์พิพาทเพราะไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจของจำเลยแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เหตุพ้นวิสัยหรือเหตุสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยที่จะป้องกันได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยสัญญาซื้อขายไม้แป้นรองมิเตอร์: การปฏิบัติตามสัญญาเป็นพ้นวิสัยต้องพิจารณาจากข้อตกลงและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มิได้มีข้อความระบุถึงเรื่องให้จำเลยต้องนำไม้ที่จะขายให้โจทก์จากในป่าซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่กองทัพภาคที่ 1 ประกาศปิดป่า และในประกาศของกองทัพดังกล่าวก็ระบุไว้แต่เพียงห้ามบุคคลเข้าไปหรืออยู่อาศัยในเขตพื้นที่บางจังหวัดเท่านั้น ทั้งยังประกาศใช้บังคับมาก่อนจำเลยได้เสนอและทำสัญญาขายไม้แป้นรองมิเตอร์ ให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้จัดให้มีการประมูลใหม่ ผู้ที่ประมูลได้ก็จัดหาไม้แป้นรองมิเตอร์ ตามประเภท ชนิด และขนาดเช่นเดียวกับที่จำเลยทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ได้ การที่จำเลยไม่สามารถหาไม้แป้นรองมิเตอร์ มาขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ประกอบกิจการในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปการที่โจทก์ต้องเสียเวลาล่าช้าในการนำไม้แป้นรองมิเตอร์ ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366-5367/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมและพฤติการณ์ที่ไม่ติดใจค่าปรับ ทำให้ผูกพันตามสัญญาเดิม ไม่มีสิทธิเรียกคืน
แม้อุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่ก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาฉบับแรก โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 1มีการลดเวลาการก่อสร้างลงอีก 5 วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง 14 วัน ก็จะถึงกำหนดเวลาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และต่อมาเมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวเสร็จแล้วสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังเพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง 3 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับแรกครั้งที่ 2 โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาฉบับแรก กำหนดไว้ว่าต้องลงมือก่อสร้างหลังจากทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกไปแล้ว 170 วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาฉบับแรก แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกล่าช้ามีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังล่าช้าไปด้วยแต่เมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับหลังครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังเสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง 127 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ 1 และไม่ติดใจเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับและไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ 1 หักไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาล: ความรับผิดของผู้รับทุนเมื่อออกจากราชการก่อนครบกำหนด แม้มีคำสั่งจากมหาวิทยาลัย
การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ ก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่
ตามสัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ. ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่ง ก.พ. และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญาอีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาทุนคืน แม้ถูกสั่งออกจากราชการด้วยความสมัครใจ
การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการก็สืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ ตามสัญญาการรับทุน ก.พ.เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับ โดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่งก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิดเมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519)ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญาอีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากและผลกระทบจากการทำลายทรัพย์สิน: ศาลไม่อาจบังคับขับไล่เมื่อบ้านถูกเพลิงไหม้จนไม่สามารถใช้การได้
จำเลยขายฝากบ้านพิพาทไว้แก่โจทก์แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลง กันไว้ แต่ เมื่อบ้านพิพาทถูก เพลิงไหม้หมดไปแล้วจึงไม่มีบ้านที่จะให้ศาลขับไล่จำเลยและบริวารออกไปตาม ที่โจทก์ขอได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากบ้านพิพาทซึ่ง ปลูกอยู่ในที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้แก่โจทก์ แต่ตาม คำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ สิทธิการเช่า ที่ดินดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยได้ โอนสิทธิการเช่า ที่ดินซึ่ง บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้แก่บุตรจำเลยอันเป็นการกระทำโดย ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการครอบครองของโจทก์นั้น เป็นการฎีกานอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายฝากแล้วไม่ไถ่คืน แต่บ้านถูกไฟไหม้หมด ทำให้ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสิทธิการเช่าที่ดินที่นอกเหนือจากคำฟ้อง
จำเลยขายฝากบ้านพิพาทไว้แก่โจทก์แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ แต่เมื่อบ้านพิพาทถูกเพลิงไหม้หมดไปแล้ว จึงไม่มีบ้านที่จะให้ศาลขับไล่จำเลยและบริวารออกไปตามที่โจทก์ขอได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวการที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินซึ่ง บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้แก่บุตรจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการครอบครองของโจทก์นั้น เป็นการฎีกานอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 34