คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 219

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 339 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การพ้นวิสัยของหนี้จากการก่อสร้างสถานีขนส่ง และผลของการไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดสองแปลงให้แก่จำเลย มีสาระสำคัญว่าโจทก์ผู้ขายจะมอบใบอนุญาตให้ทำการก่อสร้างสถานีขนส่งของบริษัทขนส่ง จำกัด และจะมอบใบอนุญาตให้ทำถนนเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียตลอดแนวด้านหน้าของที่ดิน หากผู้ขายไม่สามารถนำใบอนุญาตและทำการโอนชื่อให้ผู้ซื้อตามรายการดังกล่าวภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2521 ผู้ขายยินยอมให้ปรับโดยยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือ เมื่อได้ความว่าการก่อสร้างสถานีขนส่งนั้นความจริงเป็นการก่อสร้างสถานีเดินรถซึ่งบริษัทขนส่ง จำกัด ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ข้อกำหนดเบี้ยปรับในกรณีนี้จึงมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย เป็นโมฆะกรรม ไม่มีผลบังคับ ส่วนเรื่องใบอนุญาตให้ก่อสร้างถนนจากที่ดินเชื่อมกับทางหลวงสายเอเซียนั้น ได้ความว่าให้ขออนุญาตเมื่อสร้างสถานีเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่แม้กำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องมอบใบอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีเดินรถขึ้น ย่อมเป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะขอใบอนุญาตมามอบให้จำเลยที่ 1 ในเวลาที่กำหนดในสัญญา การที่โจทก์จะชำระหนี้ในเรื่องนี้จึงเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบโจทก์จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาและจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระราคาที่ดินตามฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 โจทก์ยังไม่ได้โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ในเรื่องนี้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยผิดนัดแล้วมิได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ย
เมื่อให้จำเลยชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้โจทก์โอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายแปลงที่ยังไม่ได้โอนได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094-2095/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัย - การบังคับชำระหนี้ - การโอนที่ดิน - สิทธิเรียกร้อง
เมื่อโรงภาพยนตร์ พร้อมอุปกรณ์ที่โจทก์ต้องโอนให้จำเลยที่ 3 ถูกเพลิงไหม้หมด การชำระหนี้ของโจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัย แต่เนื่องจากโจทก์ได้เอาประกันภัยไว้แก่ผู้ร้อง โจทก์ได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมา จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 228 ที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนนั้นเสียเองได้ การเรียกร้องตามบทบัญญัตินี้มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับโอนวัตถุที่เอาประกันภัยจึงไม่ต้องมีการบอกกล่าวการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยทราบตามมาตรา 875 ก่อน เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีจำเลยที่ 3 จึงชอบที่จะบังคับเอาค่าสินไหมทดแทนในคดีนี้ได้หาใช่เป็นเรื่องข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยต่างหากจากคดีนี้ไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินประกันภัยก็เพื่อนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องอันอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ถึง 315 การที่ศาลชั้นต้นนัดผู้ร้องและจำเลยที่ 3 มาพร้อมกันสอบถามพิจารณาคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารต่าง ๆ แล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งเงิน 15 ล้านบาทที่อายัดมาวางศาล เป็นการไต่สวนและมีคำสั่งตามมาตรา 312 วรรคหนึ่งแล้ว เมื่อคำสั่งนั้นมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสียข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายของโรงภาพยนตร์ และอุปกรณ์จึงเป็นอันยุติคำแถลงของผู้ร้องในชั้นเสนอหลักทรัพย์เป็นประกัน การทุเลาการบังคับที่ว่า ความเสียหายแท้จริงเป็นเงิน 8 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่อายัด ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดวินาศภัยแต่อย่างใด จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำแถลงของจำเลยที่ 3 ไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องจะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนตามมาตรา 312 ผู้ร้องหามีสิทธิโต้แย้งตามมูลหนี้เรื่องประกันภัยต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันคนต่างด้าว, เหตุสุดวิสัย, การผิดสัญญา, วงเงินค่าปรับ, การห้ามฎีกา
แม้โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนทุนทรัพย์มา 100,000 บาท แต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว 2 ราย ซึ่งเรียกว่าลูกประกันโดยแยกทำสัญญารายละฉบับ มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาแต่ละรายยอมให้ปรับรายละ 50,000 บาททุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ คือฉบับละ 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยผิดสัญญาค้ำประกันและกำหนดค่าปรับรวมกันมา60,000 บาท ก็ยังถือได้ว่ากำหนดค่าปรับในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2524)
ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยส่งลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย เนื่องจากในระยะเวลาที่เกิดเหตุประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชา ซึ่งลูกประกันมีสัญชาตินั้น ปรากฏว่าหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้ลูกประกันออกไปเสียจากราชอาณาจักรก็มิได้กำหนดในสัญญาว่าต้องส่งกลับประเทศภูมิลำเนา ดังนั้นเพียงแต่ให้ออกไปนอกราชอาณาจักรก็เป็นการเพียงพอแล้วอีกทั้งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาก็ล่วงเลยระยะเวลาที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว จำเลยจึงสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีไม่เป็นเหตุสุดวิสัยดังที่จำเลยอ้าง นอกจากนี้เหตุสุดวิสัยที่จะอ้างเพื่อให้หลุดพ้นไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 นั้นจะต้องเป็นเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาด้วย ดังนั้นการที่จำเลยยังคงทำสัญญาค้ำประกันลูกประกันดังกล่าวทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน และพฤติการณ์ที่จำเลยไม่จัดการให้ลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ข้อจำกัดทุนทรัพย์, เหตุสุดวิสัย, การผิดสัญญา, หน้าที่ตามสัญญา
แม้โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนทุนทรัพย์มา 100,000 บาท แต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว 2 ราย ซึ่งเรียกว่าลูกประกันโดยแยกทำสัญญารายละฉบับ มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาแต่ละรายยอมให้ปรับรายละ 50,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ คือฉบับละ 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยผิดสัญญาค้ำประกันและกำหนดค่าปรับรวมกันมา 60,000 บาท ก็ยังถือได้ว่ากำหนดค่าปรับในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2524)
ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยส่งลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย เนื่องจากในระยะเวลาที่เกิดเหตุประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชา ซึ่งลูกประกันมีสัญชาตินั้น ปรากฏว่าหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้ลูกประกันออกไปเสียจากราชอาณาจักรก็มิได้กำหนดในสัญญาว่าต้องส่งกลับประเทศภูมิลำเนา ดังนั้นเพียงแต่ให้ออกไปนอกราชอาณาจักรก็เป็นการเพียงพอแล้วอีกทั้งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาก็ล่วงเลยระยะเวลาที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว จำเลยจึงสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีไม่เป็นเหตุสุดวิสัยดังที่จำเลยอ้าง นอกจากนี้เหตุสุดวิสัยที่จะอ้างเพื่อให้หลุดพ้นไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 นั้นจะต้องเป็นเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาด้วย ดังนั้น การที่จำเลยยังคงทำสัญญาค้ำประกันลูกประกันดังกล่าวทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน และพฤติการณ์ที่จำเลยไม่จัดการให้ลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแม้ไม่มีงานทำ เหตุเพลิงไหม้ไม่ใช่เหตุขัดขวางการชำระหนี้
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยโจทก์ต้องทำงานให้แก่จำเลยและจำเลยต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ แม้จำเลยอาจไม่มอบงานหรือสั่งให้โจทก์ทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่จ้างกันจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้าง การที่จำเลยหยุดกิจการเพื่อซ่อมแซมโรงงานที่ถูกเพลิงไหม้มิได้เป็นเหตุขัดขวางอย่างใดที่จะทำให้ถึงแก่จำเลยจ่ายสินจ้างไม่ได้ เพราะยังไม่พ้นวิสัยที่จำเลยจะชำระหนี้จ่ายสินจ้างให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: แม้ไม่มีงานทำนายจ้างก็ต้องจ่ายสินจ้างจนกว่าจะมีการเลิกสัญญา เหตุเพลิงไหม้ไม่ใช่เหตุขัดขวางการจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ต้องทำงานให้แก่จำเลยและจำเลยต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ แม้จำเลยอาจไม่มอบงานหรือสั่งให้ โจทก์ทำงานจำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่จ้างกันจนกว่า จะมีการเลิกสัญญาจ้าง การที่จำเลยหยุดกิจการเพื่อซ่อมแซมโรงงาน ที่ถูกเพลิงไหม้มิได้เป็นเหตุขัดขวางอย่างใดที่จะทำให้ถึงแก่จำเลย จ่าย สินจ้างไม่ได้เพราะยังไม่พ้นวิสัยที่จำเลยจะชำระหนี้จ่ายสินจ้างให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยจากเหตุเวนคืน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกเงินคืน
สัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 57 นั้น เป็นสัญญาเช่าอย่างหนึ่ง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา โจทก์ตกลงเช่าซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ขายพร้อมที่ดิน มิใช่เช่าซื้อมาเพื่อรับเงินค่าทดแทนการเวนคืน เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ตามสัญญาเพราะที่ดินถูกเวนคืน การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีมีสิทธิที่ชำระหนี้ตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 372 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนกัน แม้จำเลยจะหลุดพันจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 372 วรรคแรก กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิจำเลยที่จะได้รับชำระหนี้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทน
สัญญาเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ้งก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และในกรณีที่การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยตามมาตรา 219 แม้สัญญาไม่เลิกกัน ก็ย่อมระงับเพราะไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยจากการเวนคืนที่ดิน ผู้ให้เช่าต้องคืนเงิน
สัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572นั้น เป็นสัญญาเช่าอย่างหนึ่ง ผู้ให้เช่าย่อมมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา โจทก์ตกลงเช่าซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ขายพร้อมที่ดิน มิใช่เช่าซื้อมาเพื่อรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ตามสัญญาเพราะที่ดินถูกเวนคืน การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 372 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนกัน แม้จำเลยจะหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 372วรรคแรก กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิจำเลยที่จะได้รับชำระหนี้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทน
สัญญาเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และในกรณีที่การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยตามมาตรา 219 แม้สัญญาไม่เลิกกัน ก็ย่อมระงับเพราะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแม้โรงงานปิดชั่วคราวจากน้ำท่วม หากลูกจ้างพร้อมทำงาน และมิได้เลิกจ้าง
การที่น้ำท่วมบริเวณโรงงานแต่มิได้ท่วมตัวโรงงาน จนนายจ้างต้องปิดโรงงาน ประกอบกับลูกจ้างพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุขัดขวางในการที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างและกรณีไม่ถือว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ นายจ้างยังไม่หลุดพ้นจากการชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้โรงงานไม่เสียหายจากน้ำท่วม แต่การปิดโรงงานมิอาจปฏิเสธการจ่ายค่าจ้างได้ ตราบใดที่ลูกจ้างพร้อมทำงาน
การที่น้ำท่วมบริเวณโรงงานแต่มิได้ท่วมตัวโรงงาน จนนายจ้างต้องปิดโรงงาน ประกอบกับลูกจ้างพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุขัดขวางในการที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง และกรณีไม่ถือว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ นายจ้างยังไม่หลุดพ้นจากการชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
of 34