พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดสำนวน: ศาลฎีกาแก้ไขข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยคลาดเคลื่อนจากพยานหลักฐานในสำนวน
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238 และมาตรา 247 แต่ที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงโดยนำข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฎในสำนวนมาวินิจฉัย ทั้งขัดแย้งกับหลักฐานในสำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากตลาดกลางสินค้าเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คดีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 238
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ห้ามยกเว้นทั้งหมด
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ไม่อำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดสัญญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประการอื่นนอกจากการกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินและริบเงินที่ส่งมาแล้ว หากโจทก์เสียหายก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระก่อนเลิกสัญญาครบถ้วนจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน & การไถ่ถอนจำนอง: ศาลพิพากษาให้ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกินคำฟ้อง
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 โดยศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่งแต่หลังจากจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร พ. โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายมาด้วย ดังนี้ จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนองจำเลยผู้จำนองจะต้องไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองครบถ้วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของผู้ค้ำประกัน การฟ้องข้ามอายุความทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏไว้กับโจทก์ สาขาบางขุนเทียน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2535 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ได้ทำหนังสือไปถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2538 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ขอให้ธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทของจำเลยที่ 1 ต่อไป แสดงให้เห็นว่า ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 ในขณะยื่นฟ้องคือวันที่ 11 ธันวาคม 2540 นั้น เป็นการวินิจฉัยผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 , 243 (3) ประกอบมาตรา 247 การที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 นับแต่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมภายในอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 694 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน: การตีความข้อตกลงและดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไปถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงจำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงดอกเบี้ย
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป.(หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึง จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการหักชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นรับมาแต่เพียงว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามมาตรา 238,243(3) ประกอบมาตรา 247
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 และอายุความ 5 ปี
ในคดีที่วินิจฉัยได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 238 คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริง เป็นยุติว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อวันที่22 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลยค้างชำระต้นเงินจำนวน27,652.07 บาท อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บ ได้ในขณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1) ที่กำหนดให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระมีกำหนดอายุความ 5 ปี นั้นหมายความว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่ วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่ วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ตามความหมายแห่ง มาตรา 193/33