คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 238

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ธนบัตรปลอมสำเร็จ แม้ผู้เสียหายยังไม่รับเงินสมบูรณ์ ศาลฎีกาพิจารณาโทษเบาลงได้เพื่อความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้น ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้ นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่า เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงิน ที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนัก เกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้น พิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาโทษในฎีกาเมื่อรับเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และความผิดสำเร็จจากการใช้ธนบัตรปลอม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้นปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก
จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ.มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม
ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนักเกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นพิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น - การบอกกล่าวเรียกหุ้น - สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า คดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 75,000 บาท ตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างนั้น ล้วนเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้นอีก75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่า กรรมการบริษัทจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ซึ่งปรากฏข้อความว่ากรรมการบริษัทจำเลยเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้นเพียง 50,000 บาท เท่านั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกัน ไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้องยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาย่อมฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 และ 1121 ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกสิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น สิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30แต่กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระ อายุความย่อมไม่เริ่มนับสิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในอันที่จะเรียกให้ผู้ร้องชำระจึงไม่ขาดอายุความ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน และประเด็นนอกฟ้อง
เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายสำหรับข้อเท็จจริงนั้นศาลฎีกาจำต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 ปัญหาที่ว่าราคาที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์โอนให้แก่จำเลยแทนการชำระหนี้มีราคาเท่ากับราคาในท้องตลาดขณะที่โอนแทนการชำระหนี้ จึงมิใช่ประเด็นพิพาทแห่งคดีคู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นเรื่องใบอนุญาตขาดอายุ แต่ข้อสัญญาพิเศษทำให้บริษัทประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อยกเว้นทั่วไป ระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ตาม แต่มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1หรือข้อ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัท ทันที"ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วันมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้นจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยและการรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกแม้มีข้อยกเว้น
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อยกเว้นทั่วไป ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ก็ตาม แต่มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "...บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอา-ประกันภัย หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฎิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที" ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอา-ประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยจำเลยในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อการนำสืบพยานของโจทก์
คดีมีการชี้สองสถาน เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 (เดิม) จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบ เว้นแต่เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ (เดิม)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ชอบแล้วเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารสัญญากู้ยืม
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์ต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนเว้นแต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายเมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ กรณีศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนเว้นแต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายเมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นผิดพลาด และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนเว้นแต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
of 14