พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทเป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและการระงับสิทธิเมื่อผู้ครอบครองทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอม
ส. เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จำเลยขับ ส. จึงเป็นผู้ครอบครองและขับรถยนต์ซึ่งเป็นสังหา-ริมทรัพย์ในขณะเกิดเหตุ หากจำเลยรับผิดและใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ส.จำเลยย่อมหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้บุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์ เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตนหรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 441และผลของมาตรา 441 ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เอง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้ แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัยพ์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตาม เมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส. ย่อมมีผลบังคับได้ แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตาม และผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละแล้วนั้นระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และโมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินนิคมฯ ผู้ขายโอนไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในอัตราปีละ 200,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีการคืนทรัพย์และผลกระทบต่อการชำระหนี้
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบด้วยมาตรา247 โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้วผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสามและกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทนเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมแม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขถูกบอกเลิกได้เมื่อเกิดข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ไม่สามารถโอนได้ ผู้ขายต้องคืนเงิน
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังมา แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังมายังไม่ชัดเจนพอ ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินน.ส.3ก.เลขที่2239โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจากล.เจ้าของเดิมจำเลยที่1และที่2ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของล. โดยอ้างว่าที่ดินตามน.ส.3ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของล. เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1และที่2ได้ขอแบ่งที่ดินตามน.ส.3ก.แปลงนั้นออกเป็น7ส่วนและโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145เนื้อที่8ไร่ให้แก่จำเลยที่3และที่4และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3146เนื้อที่4ไร่ให้แก่จำเลยที่5โดยจำเลยที่3ที่4และที่5ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามและเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลืองทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่3และที่4เนื้อที่8ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทและเรียกคืนจากจำเลยที่5เนื้อที่4ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทเช่นกันคดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่3ที่4และที่5ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบมาตรา247 เมื่อที่พิพาทแปลงน.ส.3ก.เลขที่2239ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของล. จำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145และ3146และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3145ให้แก่จำเลยที่3ที่4และโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3146ให้แก่จำเลยที่5จำเลยที่3ที่4และที่5ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1และที่2ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวและย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่จำเลยที่3ที่4และที่5ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่3ที่4และที่5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้เฉพาะส่วนของสัญญาซื้อขายและการนำเสนอเอกสารไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจาก จ. เป็นเนื้อที่รวม80 ไร่ ในสัญญาฉบับเดียวกันและกำหนดราคารวมเป็นเงิน 530,000 บาท โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 45,000 บาท โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.รับชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินอีกเพียง 68,750 บาทแล้วโอนแต่เฉพาะที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 17 ไร่ 2 งานซึ่งเป็นที่ดินเพียงบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงซื้อจาก จ.นั้น ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.มิได้ยินยอม หาอาจจะบังคับได้ไม่ ตามประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320 โจทก์จึงย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเลือกบังคับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้
สำเนาสัญญาจะซื้อขายมิใช่เป็นเอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ทั้งเมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้โจทก์จะส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรา 90 ก็ตาม ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 238, 247
สำเนาสัญญาจะซื้อขายมิใช่เป็นเอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ทั้งเมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้โจทก์จะส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตรา 90 ก็ตาม ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 238, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับหรือไม่: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการส่งคืนรถก่อนพิจารณาปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์แล้ว สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นอันเลิกกัน ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 3นำสืบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อต่อกันไว้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับไปนั้น ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกัน คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่ในการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดย นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์และตกลงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อแทนหรือไม่แล้ว ศาลฎีกาย่อมมิอาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว