คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ถูกต้องตามบทกฎหมายที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือ ความผิดตามมาตรา 27และ 44 วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่าให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินฟ้องในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลต้องพิจารณาตามฟ้องที่กล่าวอ้างเท่านั้น
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปของกลางเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึง ไม่มี สิทธิที่จะอัดเทปดังกล่าวแล้วนำออกให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งถือว่า เป็นการนำออกโฆษณา โดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 13อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 24 และ 25และลงโทษตาม มาตรา 43 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว นั้นชอบหรือไม่ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำ ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้ว ว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์และลิขสิทธิ์ ดังกล่าวเป็นของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือความผิด ตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง เป็นการกระทำ แก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่ง เข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยาย ฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง ย่อมมีผลเท่ากับวินิจฉัย ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกันไปในตัว และเมื่อโจทก์ไม่ฎีกาขอให้ลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายต่างประเทศและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลย4 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้ 2 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือไม่ ทั้งโต้เถียงกฎหมายอื่น ๆ ของต่างประเทศนอกจากนั้นยังโต้เถียงว่าพยานบุคคลและพยานเอกสารของฝ่ายโจทก์รับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด หรือยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่นั้น เป็นการโต้เถียงถึงปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบเกี่ยวกับกฎหมายของต่างประเทศและโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยมีความรู้และประสบการณ์ในการค้า ย่อมทราบถึงความแตกต่างของหนังสือปลอม
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขายพิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหาย มีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ 20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหาย ที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวน ลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลาง จำนวน 91 เล่มนั้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดย ละเมิด ลิขสิทธิ์ ของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้ว่างานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การกระทำโดยตรงหรือทางอ้อมก็ถือเป็นการละเมิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ซึ่งได้แก่การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กับกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27ซึ่งได้แก่การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1)ถึง (5) แต่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: โจทก์ต้องพิสูจน์การคุ้มครองตามกฎหมายฮ่องกงหรืออังกฤษอย่างชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุแถบ บันทึกภาพ (วีดีโอ เทป) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาไทยว่า คิงคอง ภาค 2 ของบริษัทอินเตอร์คอนติเนนตัลฟิล์มดิสตริบิวเตอร์ส์ (ฮ่องกง) จำกัดผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กฎหมายของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อความสำคัญแสดงให้เห็นว่า แถบ บันทึกภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการบรรยายฟ้องแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาและกฎหมายต่างประเทศคุ้มครองลิขสิทธิ์ไทย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5009/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายกระทง ลิขสิทธิ์: แม้ฟ้องแยกกระทง แต่เจตนาเดียวกัน ศาลลงโทษเพียงกระทงเดียว
การที่จำเลยให้เช่า ให้เช่าซื้อ ขายหรือเสนอขาย เสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อภาพยนตร์วีดีโอเทปจำนวนสองเรื่อง โดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์ดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและเจ้าของลิขสิทธิ์มิใช่บุคคลคนเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องในวันเวลาเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอันเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแม้โจทก์จะฟ้องเป็นสองกระทงและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยสองกระทงไม่ได้.
of 4