พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายป่วยและการชำระหนี้ค่าระวางพาหนะโดยไม่ต้องทวงถาม
โจทก์มีทนายความสองคน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์คนหนึ่งไม่มาศาล ส่วนทนายโจทก์อีกคนหนึ่งมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะป่วย ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์อีกคนหนึ่งมีเหตุจำเป็นที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่จะเลื่อนคดีเพราะความเจ็บป่วยของทนายโจทก์ประกอบกับพยานโจทก์ก็ไม่มาศาล ที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าระวางพาหนะไม้อัดที่โจทก์ขนส่งให้จำเลย จำเลยรับว่าได้ค้างชำระค่าระวางพาหนะดังกล่าว เพราะโจทก์ไม่ส่งใบเสร็จรับเงินไปเรียกเก็บจากจำเลย ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ขนส่งไม้อัดให้จำเลยแล้วจำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระค่าระวางพาหนะให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถาม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นการเรียกให้ชำระหนีแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดี-งดสืบพยาน: เหตุผลความเจ็บป่วยทนาย, การพิสูจน์หนี้ค่าระวาง, และดอกเบี้ย
โจทก์มีทนายความสองคน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์คนหนึ่งไม่มาศาล ส่วนทนายโจทก์อีกคนหนึ่งมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะป่วย ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์อีกคนหนึ่งมีเหตุจำเป็นที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้จึงไม่มีเหตุที่จะเลื่อนคดีเพราะความเจ็บป่วยของทนายโจทก์ ประกอบกับพยานโจทก์ก็ไม่มาศาล ที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ จึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าระวางพาหนะไม้อัดที่โจทก์ขนส่งให้จำเลย จำเลยรับว่าได้ค้างชำระค่าระวางพาหนะดังกล่าว เพราะโจทก์ไม่ส่งใบเสร็จรับเงินไปเรียกเก็บจากจำเลย ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ขนส่งไม้อัดให้จำเลยแล้วจำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระค่าระวางพาหนะให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถาม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกสินค้าโดยไม่เสียภาษีและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายโดยไม่สุจริต
โจทก์ส่งของออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27เป็นเหตุให้จำเลยผู้ขนส่งไม่อาจออกใบตราส่งให้โจทก์ได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ออกใบตราส่งให้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทขนส่งและไปรษณีย์ กรณีสิ่งของสูญหาย และการรับประกันภัย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณีย์, วงเงินประกันภัย, ผู้ขนส่งหลายทอด: ความรับผิดชอบค่าเสียหายสิ่งของสูญหาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสน บาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบิน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุง ไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกัน โจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30 การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์และผู้ขนส่งในการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาขนส่งทางทะเล การร่วมรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับขน โดยบรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมกันเป็นผู้รับขนไม้ของโจทก์จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การโดยมิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขนไม้ของโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ย่อมต้องฟังว่า จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นผู้ขนไม้ของโจทก์และจำเลยที่3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์ฟ้องส่วนที่จำเลยฎีกาว่าได้มอบไม้ให้โจทก์รับไปครบถ้วนแล้ว ไม้ที่นายเรือสั่งให้ทิ้งเป็นไม้ที่ผู้ขายส่งมอบเกินมานั้นจำเลยมิได้ให้การไว้เช่นนั้น จึงเป็นฎีกานอกเหนือไปจากที่จำเลยให้การไว้รับฟังไม่ได้.
กฎหมายมิได้บังคับว่าสัญญารับขนจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนไม้ของโจทก์ทำให้ไม้สูญหายไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย.
กฎหมายมิได้บังคับว่าสัญญารับขนจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนไม้ของโจทก์ทำให้ไม้สูญหายไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ค่าขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป. โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54.