พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามป.รัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามป.พ.พ.มาตรา770และ771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามป.รัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามมาตรา54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไร จึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 770 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770, 771 นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้น กฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้น หารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้น เงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้ เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญา หาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้า โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซี.ไอ.เอฟ., การประกันภัยขนส่ง, ข้อยกเว้นความรับผิด, ตัวแทนรับผิดแต่ลำพัง
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ นั้นหมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
CIF, หน้าที่ประกันภัย, ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะ, ตัวแทนรับผิดชอบสัญญา
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี. ไอ. เอฟ นั้น หมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับการขนถ่ายสินค้า
คำว่า ผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
(หมายเหตุตามแนวฎีกาที่ 16652525 และฎีกาที่ 3630/2525)
(หมายเหตุตามแนวฎีกาที่ 16652525 และฎีกาที่ 3630/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: ผู้ขนส่ง vs ผู้ขนสินค้า
คำว่า "ผู้ขนส่ง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 610 หมายถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งของหรือสินค้า ซึ่งผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงให้ผู้ขนส่งนำของหรือสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง และมีหน้าที่จะต้องเป็นผู้ทำหรือออกใบตราส่งให้ในกรณีที่ผู้ส่งเรียกเอาใบตราส่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง ซึ่งต่างกับผู้ทำหน้าที่ขนหรือแบกหามสินค้าจากเรือขึ้นท่าเรือและจากท่าเรือลงบรรทุกในเรือ
หมายเหตุ ตามแนวฎีกาที่ 1665/2525 และฎีกาที่ 3630/2525
หมายเหตุ ตามแนวฎีกาที่ 1665/2525 และฎีกาที่ 3630/2525
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับตราส่ง สัญญาขนส่ง: ผู้รับตราส่งไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหากของหายระหว่างขนส่ง
ผู้ขายนำสินค้าไปส่งมอบแก่จำเลยผู้รับขนเพื่อส่งให้โจทก์ผู้ซื้อ โจทก์เป็นผู้รับตราส่งสินค้ารายพิพาท ไม่ใช่ผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จึงมิใช่คู่สัญญารับขน สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่สัญญารับขนจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 คือเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว แต่สินค้ารายพิพาทนี้มิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง โดยได้สูญหายไปเสียก่อนในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งให้ส่งมอบสินค้าได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้น จึงไม่อาจจะตกไปได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามมาตรา 627 โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับขนพิพาทได้
การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 463 นั้น มิใช่เป็นข้อวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะการส่งมอบเป็นเพียงหน้าที่ประการหนึ่งของผู้ขายเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 และจะยกเอาบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ซื้ออันเกิดแต่สัญญารับขนไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดก็ต้องใช้กฎหมายลักษณะนั้นบังคับ
การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 463 นั้น มิใช่เป็นข้อวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะการส่งมอบเป็นเพียงหน้าที่ประการหนึ่งของผู้ขายเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 และจะยกเอาบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ซื้ออันเกิดแต่สัญญารับขนไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดก็ต้องใช้กฎหมายลักษณะนั้นบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีขนส่งหลายทอดและการสูญหายของสินค้า
เมื่อบริษัทเรือเดินทะเลผู้รับจ้างขนส่งนำสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วบริษัทจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากเรือเดินทะเลไปส่งมอบให้กับผู้รับตราส่ง โดยวิธีแจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กับจัดการขนสินค้าจากเรือไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต่อเมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมามอบให้บริษัทจำเลยจะออกใบรับของ (DELIVERYORDER) ให้ไปรับสินค้าได้ การส่งสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการขนส่งหลายทอด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 บัญญัติว่า"ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ผู้ขนส่งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหาย บุบสลาย หรือส่งชักช้า" ฉะนั้น เมื่อมีการสูญหายในสินค้าดังกล่าว บริษัทจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้ารายพิพาทให้บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่ง
เมื่อบริษัทเรือเดินทะเลผู้รับจ้างขนส่งนำสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้ว บริษัทจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากเรือเดินทะเลยไปส่งมอบให้กับผู้รับตราส่ง โดยวิธีแจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กับจัดการขนสินค้าจากเรือไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต่อเมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมามอบให้บริษัทจำเลย จะออกใบรับของ (DELIVERY ORDER) ให้ไปรับสินค้าได้ การส่งสินค้าดังกล่าวจึงเป็นการขนส่งหลายทอด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 บัญญัติว่า "ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ผู้ขนส่งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหาญ บุบสลาย หรือส่งชักช้า" ฉะนั้น เมื่อมีการสูญหายในสินค้าดังกล่าว บริษัทจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้ารายพิพาทให้บริษัทโจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ส่งสินค้ากรณีสุนัขตายระหว่างขนส่ง สิทธิไม่ตกเป็นของผู้รับตราส่ง
บริษัทโจทก์ทำสัญญาขายสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอดรวม 20 ตัวให้กรมตำรวจ และได้ตกลงว่าจ้างบริษัทจำเลยขนส่งสุนัขดังกล่าวโดยเครื่องบินจากประเทศเยอรมันตะวันตกมายังท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อส่งให้แก่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยขนส่งสุนัขมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองอันเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าสุนัขตายไป 12 ตัว อีก 8 ตัวมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากความผิดของบริษัทจำเลยที่มิได้จัดให้มีอากาศหายใจ เพียงพอสำหรับสุนัขเหล่านั้น กรรมการบริษัทโจทก์ที่ไปรับมอบจึงได้รับสุนัขที่ยังมีชีวิตจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยมาเพียง 8 ตัว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากรมตำรวจผู้รับตราส่งยังมิได้เรียกให้ส่งมอบสุนัขตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 สิทธิทั้งหลายของบริษัทโจทก์ผู้ส่งสุนัขอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นจึงยังมิได้ตกไปได้แก่กรมตำรวจผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะผู้ส่งจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้