พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การแก้ไขชื่อที่ถูกต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลย
การขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจที่พิมพ์อักษรบางตัวผิดไปในฟ้อง ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งสามารถกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2), 181 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ช.กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: การแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่แก้ไขได้
การที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจตามที่บรรยายในคำฟ้องจากชื่อ "นายธีรพงษ์" เป็น "นายชีระพงษ์" เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยซึ่งสามารถกระทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และมาตรา 181 (1) ส่วนกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อ "นายธีระพงษ์" ตามที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจเป็น "นายชีระพงษ์" นั้นหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการยื่นคำฟ้อง มิใช่คำฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความ, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และการดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ, อายุความ, และผลผูกพันตามหนังสือผ่อนชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและขอบเขตอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นจ่ายสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ในวันชี้สองสถาน โดยไม่กำหนดวันพิจารณาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยออกไป เพื่อจะได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181(1) แต่การแก้ไขคำให้การนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าข้อความที่แก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิม คงบัญญัติเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขคำให้การจะยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่จึงไม่สำคัญทั้งเรื่องอายุความก็เป็นข้อตัดฟ้องโจทก์ จำเลยอ้างเหตุผลมาด้วยว่า มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างการเช่าและใช้บริการซึ่งตามกฎหมายโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความสองปีดังนั้น คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วส่วนอายุความที่จำเลยต่อสู้นั้นต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง และโจทก์สามารถนำสืบว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดได้อยู่แล้ว จึงไม่เสียเปรียบเชิงคดีแต่อย่างใด หากจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใหม่ ผลก็เหมือนเดิม คือต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้สืบพยานหลักฐานในท้องสำนวนเสร็จสิ้น พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ว.กรรมการจำเลยได้มีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าว ว.ลงลายมือชื่อไว้เพียงผู้เดียวโดยไม่ประทับตราจำเลย ซึ่งตามหนังสือรับรองนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้ระบุจำนวนและอำนาจของกรรมการจำเลยไว้ว่า ให้กรรมการสองนายร่วมกันลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลย จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้ การที่ ว.กระทำการดังกล่าวโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาอ้างอิงให้เห็นว่า จำเลยได้มอบหมายหรือเชิดให้ ว. เป็นตัวแทนจำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ดังนั้นการที่ ว. ลงชื่อในหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์จัดให้มีการบริการพูดโทรศัพท์ทางไกลติดต่อไปต่างประเทศ และเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้นถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้าน ศาลไม่ควรยกคำพิพากษาเดิมหากไม่มีผลต่อประเด็นข้อพิพาท และควรพิจารณาอุทธรณ์ให้สิ้นสุด
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ 5 เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลย เมื่อมีการชี้สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็มใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้สองสถานไว้ ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตามแต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเลขที่บ้านและการวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาข้ออุทธรณ์ของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจากบ้านเลขที่ 73 หมู่ที่ 5เป็นบ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 5 เพื่อให้เป็นไปตามคำให้การของจำเลยเมื่อมีการชี้ สองสถาน จำเลยไม่มาศาล ศาลนัดสืบพยานจำเลย ถึงวันนัดทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้คัดค้าน แสดงว่าคู่ความเต็ม ใจที่จะดำเนินคดีกันตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้ชี้ สองสถานไว้ไม่ต้องการให้ดำเนินกระบวนพิจารณาล่าช้าเพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องจึงยุติแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้แก่จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้นก็ตาม แต่การขอแก้ไขเลขบ้านตามคำฟ้องหาใช่การขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบที่จะหยิบยกมาเป็นเหตุยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่ควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยไปให้สิ้นกระแสความ.