พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกคดียาเสพติดเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 12 บัญญัติว่า การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี ดังนั้นสำหรับข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต ระวางโทษสามเท่าจึงเป็นจำคุก 12 ปี ถึงตลอดชีวิต ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวเป็นจำคุก 54 ปี จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกเกินกรอบที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 12 กำหนดว่า การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้โดยจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 54 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว แม้ปัญหานี้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.พักราชการยังต้องระวางโทษสามเท่าคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการตำรวจ แม้ขณะเกิดเหตุถูกสั่งพักราชการ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีฐานะเป็นข้าราชการอยู่มีหน้าที่ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่โทษจำคุกอย่างสูงที่สุดต้องไม่เกินห้าสิบปี ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีประนีประนอมหลังหย่า ต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องในคดที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมหลังการจดทะเบียนหย่าว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธาน-ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 12 ดังกล่าวข้างต้น