พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องคีบตุ๊กตาเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมีลักษณะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ทำให้เกิดผลแพ้ชนะได้
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 122) พ.ศ. 2540 กำหนดสินค้าต้องห้ามคือ เครื่องเล่นเกม ซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใด ทั้งที่เป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์ หรือมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์หรือแต่บางส่วน ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทย่อย 9504.30 , 9504.901 และ 9504.909 ของประเภท 95.04 ซึ่งโดยสภาพจะใช้เล่นอันจะทำให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าด้วยการนับแต้ม หรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เครื่องคีบตุ๊กตาของโจทก์เป็นสินค้าในพิกัดที่ 95.04 เมื่อมีลักษณะการทำงานให้ผู้เล่นหยอดเหรียญ แล้วกดปุ่มให้เครื่องคนตุ๊กตา จากนั้นผู้เล่นจะยกตัวคีบตุ๊กตาไปคีบตุ๊กตา หากคีบได้จะได้ตุ๊กตา หากคีบไม่ได้จะเสียเงิน 10 บาทให้เจ้าของตู้ เครื่องเล่นของโจทก์จึงเพื่อประสงค์จะเล่นให้ได้ตุ๊กตาในตู้เท่านั้น การเล่นเพิ่มให้ได้ตุ๊กตาจึงเป็นการเล่นเพียงให้เกิดผลแพ้ชนะได้ ถือได้ว่าเจ้าของเครื่องเป็นผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องคีบตุ๊กตาจึงเป็นของต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การลงโทษปรับเป็นรายบุคคลหรือไม่ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลย
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางศุลกากร: โทษปรับคิดจากมูลค่ารวมของทั้งหมด ไม่แบ่งแยกเป็นรายบุคคล
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องเพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ถูกฟ้องย่อมไม่อาจถือเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษตามคำพิพากษาคดีนี้ได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษปรับในความผิดครั้งนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับศุลกากร: ลงโทษจำเลยผู้กระทำผิดเพียงผู้เดียว ไม่สามารถแบ่งโทษให้ผู้ร่วมกระทำผิดที่ยังไม่ถูกฟ้อง
ความผิดตามพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเลื่อยโซ่ที่ถูกริบและนำออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต แต่เลื่อยโซ่ยังคงเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ เกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดนี้ ของต้องห้ามดังกล่าวได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามการนำเข้าหรือส่งออกไว้
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการขายทอดตลาดของกลางที่เป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร การกระทำไม่เป็นความผิด
การกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิเกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดซึ่งมีกฎหมายห้ามนำเข้าหรือส่งออกไว้นั้นมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91)ฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9)ฯ ที่กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งให้กรมศุลกากรเพื่อทำการทำลายโดยไม่มีการนำออกมาจำหน่ายตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 25ดังนั้น แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดโดยเจ้าหน้าที่หน่วยราชการเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 64 ทวิ ก็เป็นการนำสินค้าต้องห้ามออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ เนื่องจากเป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงต้องด้วยมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรฯ แตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ใช้บังคับ การขายทอดตลาดเลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้ามจึงขัดต่อกฎหมายและไม่ทำให้กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายได้
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยรู้ว่าทรัพย์ของกลางได้มาจากการขายทอดตลาดโดยเปิดเผยจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยรู้ว่าทรัพย์ของกลางได้มาจากการขายทอดตลาดโดยเปิดเผยจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในความผิดฐานนำเข้าของต้องจำกัด และการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ชัดแจ้งในตอนต้นแล้วว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า "ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท" ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงการที่ศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ปรับจำเลยทั้งสองรวมเป็นเงิน 26,000 บาท ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าปรับและวิธีการกักขังแทนค่าปรับในคดีศุลกากรและป่าไม้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200บัญญัติว่าให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์หาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย