พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการปรับโทษในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การปรับโทษต่อความผิดต่อครั้งและจำเลย
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ด้วยก็ตาม ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่า 4 เท่าขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว และมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้ จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลต้องพิจารณาโทษรวมไม่เกิน 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากร
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่งๆ ด้วยก็ตามก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่า ราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวและมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับจึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์สินค้าผิดกฎหมาย: โจทก์ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาก่อนจำเลย
เมื่อคดียังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าสินค้าของกลางเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือว่าเป็นของที่ผลิตขึ้นในประเทศ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความก่อน ถ้าได้ความว่าเป็นของที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอันจะต้องเสียภาษีแล้ว จึงจะเป็นหน้าที่ของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าได้นำเข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว