พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทจากบทสัมภาษณ์ แม้ไม่มีเจตนา
แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและความผิดเกี่ยวพัน: คดีหมิ่นประมาทจากหนังสือพิมพ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ดังกล่าว อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 (2) แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้ แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ความผิดเกิดที่ไหนฟ้องได้ที่นั่น แม้ถอนฟ้องจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และจำเลยที่2บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ดังกล่าวอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา24(2)แม้ว่าจำเลยที่1จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานครแต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักรซึ่งรวมทั้งจังหวัดประทุมอันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1และที่2ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22และมาตรา24ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่2ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท - การระบุตัวบุคคล - การพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสิบเป็นผู้แทนครูและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลงบทความในหนังสือพิมพ์ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นบรรณาธิการหมิ่นประมาทโจทก์สิ้นโดยบรรยายฟ้องว่า กรรมการจำนวนหนึ่งได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เลิกจ้าง ส. เลขาธิการคุรุสภาอ้างว่าเป็นคนสร้างความแตกแยกคนในกระทรวงศึกษาธิการหลายคนได้ยินข่าวผู้แทนครูในคณะกรรมการจำนวนหนึ่งเสนอเลิกจ้าง ส. ถึงกับส่ายหน้าและทุเรศในพฤติการณ์ที่แสดงออก... การแบ่งสัดส่วนจำนวนกรรมการอำนวยการที่ครูหลายกรมยังไม่มีส่วนร่วม...นั้น การที่คำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่า กรรมการจำนวนหนึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดบ้าง ไม่ได้ระบุว่ากรรมการอำนวยการซึ่งเป็นโจทก์ทั้งสิบคนมีพฤติการณ์เช่นนั้นทั้งหมดและไม่อาจทราบได้ว่าเป็นกรรมการอำนวยการคนใด ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความเพียงว่า ผู้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภาจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ใดบ้าง ส่วนข้อความในหนังสือพิมพ์ที่ว่า เข้ามาเพื่อคิดถึงผลประโยชน์ของตนเอง ไม่เคยรักษาผลประโยขน์ของส่วนรวมนั้น ก็เป็นการเท้าความถึงกรรมการอำนวยการที่ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นผู้ใด คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากข่าวหนังสือพิมพ์: การพิสูจน์ความเสียหาย, ผู้เสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิก จำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมา ก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลย-ทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ.มาตรา 329 (4)
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย
จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆไปไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าว และเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย
จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆไปไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าว และเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน, เจตนา, และขอบเขตความรับผิดชอบ
หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และหัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3เคยให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณา ต่อมาโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ยกเลิกจำเลยที่ 1 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับฝ่ายโจทก์ในทางเสียหายตลอดมาก่อนคดีนี้โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เคยฟ้องจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 3 คดี ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการลงข่าวดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบภาคปฏิบัติการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการตลาดและมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับนโยบายของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5 เป็นกรรมการเป็นผู้จัดการทั่วไปของจำเลยที่ 1มีหน้าที่ให้นโยบายในการบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้คัดเลือกหรือสั่งให้ลงพิมพ์หัวข้อข่าวและเนื้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอำนาจในการให้นโยบายในการบริหารก็เป็นการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทั่ว ๆ ไปไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่า จะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี มิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท การแสดงความเห็นโดยสุจริต และความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าอย่างไร และว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตนั้น มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและตามทางไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์นำสืบ คำสั่งดังกล่าวจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(5)แล้ว
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดร่วมกันในการหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 และ 3
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2และที่ 3 โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์ อ.โดยจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษา จึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วย หากไม่เหมาะสมจำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องเผยแพร่ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณา ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็น จึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่ 3 ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่ายโจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้ว ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลาย จึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกันในการพิมพ์และเผยแพร่ข้อความหมิ่นประมาท การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่2และที่3โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่2และที่3ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4จึงลงโทษจำเลยที่2และที่3ไม่ได้โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา220ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์อ.โดยจำเลยที่ 3เป็นที่ปรึกษาจึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าจำเลยที่2มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้นซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วยหากไม่เหมาะสมจำเลยที่2ก็ไม่ต้องเผยแพร่สำหรับจำเลยที่3เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณาให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็นจึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่3ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่ายโจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้หากจำเลยที่2และที่3ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่1และที่4แล้วข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลายจึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4โดยแบ่งหน้าที่กันทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.