พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9328/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการในความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีเจตนาโดยตรงต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ซึ่งหมายถึงผู้รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อความในหนังสือพิมพ์ การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตาม ป.อ. จะต้องได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะกระทำการดังกล่าวต่อโจทก์โดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ที่บัญญัติว่า เหตุที่ให้มีกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์เป็นหลักฐานให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการมีเจตนาร่วมกับผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ในการกระทำความผิดดังกล่าวต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังศาลชั้นต้นพิพากษา และผลกระทบจากกฎหมายใหม่ต่อความผิดฐานพิมพ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดดังกล่าวเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวด้วยหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีความผิดฐานนี้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ จึงต้องกำหนดโทษเสียใหม่
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดเป็นตัวการในความผิดอันเกี่ยวด้วยหนังสือพิมพ์อีก ฉะนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเดิมเป็นความผิดเพราะมีฐานะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีความผิดฐานนี้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ จึงต้องกำหนดโทษเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้พิมพ์-บรรณาธิการในคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ถูกยกเลิก
จำเลยเป็นเพียงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาและบรรณาธิการ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้เขียน ผู้ประพันธ์ เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไปบัญญัติไว้มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 แต่ความที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณษา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 แต่ประการใด จึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังกล่าว จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์ที่ศาลจังหวัดปัตตานีจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วยกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) ที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น คดีนี้ศาลจังหวดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ให้จำหน่ายคดีโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาว่าข้อความหมายถึงโจทก์หรือไม่
คำว่า "วีรบุรุษ" ตามพจนานุกรม หมายความว่า ชายที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญ คำว่า "คนมีสี" เป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไปว่าหมายถึงข้าราชการตำรวจและทหารทุกระดับชั้นยศ ส่วนคำว่า "นายพล" เป็นตำแหน่งของข้าราชการตำรวจและทหารการที่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ลงพิมพ์ข้อความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์ข่าวสดว่า "การที่ข่าวสดถูกคนร้ายโยนระเบิด... จะเป็นการกระทำของวีรบุรุษซาตาน... หรือใครก็ตาม... ไม่ว่าจะเป็นคนมีสีหรือไม่มีสีก็ตาม ผู้บงการจะต้องถูกลงโทษไม่มีการยกเว้น" และข้อความว่า "สงสัยว่าเป็นนายพลเงินเดือนไม่มากมายแต่ทำไมมีเงิน..จ่ายดอกเบี้ยเป็นล้านถึงบางอ้อเมื่อทราบว่ารายได้จากการแข่งม้านัดเดียวก็กินถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน" นั้น ไม่มีตอนใดที่ระบุว่าเป็นโจทก์หรือทำให้เข้าใจว่าเป็นโจทก์ ทั้งโจทก์เองก็รับว่าก่อนเกิดเหตุหนังสือพิมพ์ข่าวสดลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยระบุตัวโจทก์ตรง ๆ ไม่ต้องแปลหรือทำความเข้าใจเองว่าหมายถึงใคร ดังนั้น หากจำเลยทั้งหกประสงค์จะให้ถ้อยคำดังกล่าวชี้ชัดเฉพาะเจาะจงเป็นการยืนยันว่าเป็นโจทก์ ก็น่าจะกล่าวถึงตัวโจทก์โดยระบุตรง ๆ เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ข้อความตามที่จำเลยทั้งหกลงพิมพ์ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
ในทางพิจารณาของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยถูกจับกุมสอบสวนหรือดำเนินคดี ฉะนั้น การพาดหัวข่าวทางหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ ในหน้าแรกพร้อมภาพใบหน้าของโจทก์มีข้อความว่า "ลับ ชี้สำนวนความผิดจับ "ธ"(ซึ่งหมายถึงโจทก์)" ย่อมทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์ถูกจับกุมสอบสวนดำเนินคดีซึ่งมิใช่ข้อความจริง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังได้
โจทก์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีมติให้กล่าวโทษดำเนินคดีแก่ ส. กับพวก ซึ่งในวันที่มีมติโจทก์ก็เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานด้วย ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบว่ามติดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการไม่เกี่ยวกับโจทก์ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน และฝ่ายตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามตรวจสอบการปั่นหุ้นของกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่มของ ส.ด้วยไม่ใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มของส. เพียงกลุ่มเดียวแสดงว่าการกล่าวโทษร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. มิใช่การกระทำที่ลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติ ฉะนั้น การที่จำเลยเสนอข่าวว่าโจทก์ให้ดำเนินคดีจับ ส.พร้อมยัดข้อหาเป็นการใช้อำนาจทำเพื่อเพื่อน ซึ่งเป็นการปฏิบัติโดยลำเอียง ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและไม่มีคุณธรรมเลือกปฏิบัติมุ่งช่วยเหลือพวกพ้อง ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยมิใช่การติชมด้วยความเป็นธรรมหรือเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต
จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ โดยที่จำเลยมิได้เป็นผู้ประพันธ์ข้อความ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมักเสนอข่าวใหญ่เกี่ยวกับธุรกิจและออกเป็นรายสัปดาห์ซึ่งมีผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม การให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาทั้งในหนังสือพิมพ์ประเภททั่วไปและธุรกิจ ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ย่อมไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย สมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ด.รายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์ ผ. รายสัปดาห์ เพียง 2 ฉบับ
โจทก์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีมติให้กล่าวโทษดำเนินคดีแก่ ส. กับพวก ซึ่งในวันที่มีมติโจทก์ก็เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานด้วย ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบว่ามติดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการไม่เกี่ยวกับโจทก์ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน และฝ่ายตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามตรวจสอบการปั่นหุ้นของกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่มของ ส.ด้วยไม่ใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มของส. เพียงกลุ่มเดียวแสดงว่าการกล่าวโทษร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. มิใช่การกระทำที่ลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติ ฉะนั้น การที่จำเลยเสนอข่าวว่าโจทก์ให้ดำเนินคดีจับ ส.พร้อมยัดข้อหาเป็นการใช้อำนาจทำเพื่อเพื่อน ซึ่งเป็นการปฏิบัติโดยลำเอียง ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและไม่มีคุณธรรมเลือกปฏิบัติมุ่งช่วยเหลือพวกพ้อง ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยมิใช่การติชมด้วยความเป็นธรรมหรือเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต
จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ โดยที่จำเลยมิได้เป็นผู้ประพันธ์ข้อความ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมักเสนอข่าวใหญ่เกี่ยวกับธุรกิจและออกเป็นรายสัปดาห์ซึ่งมีผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม การให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาทั้งในหนังสือพิมพ์ประเภททั่วไปและธุรกิจ ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ย่อมไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย สมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ด.รายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์ ผ. รายสัปดาห์ เพียง 2 ฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการลงโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์รายวัน ข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข. แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์ บันเทิงว่า "จิกจักรวาล!หึ่งปุ๋ยโอเค.นู้ด!5 ล้าน.!" มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนักไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้านทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาล ปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัม ด้วย แต่ปรากฏว่าทางปุ๋ย เรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000 บาท จึงจะยอมถ่ายอย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหมปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยว เล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้เงินแค่ 5,000,000 บาท ถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใด เลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติ และสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอัน เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332(2) บัญญัติว่าในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่ บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่า ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัย ต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือ จากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความ โจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด หรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือนและปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลจำกัดอำนาจการสั่งให้ขอโทษ และวินิจฉัยความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข.แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์บันเทิงว่า "จิกจักรวาล! หึ่ง ปุ๋ย โอเค.นู้ด! 5 ล้าน.!"มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนัก ไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.... ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้าน ทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาลปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัมด้วย แต่ปรากฎว่าทางปุ๋ยเรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000บาท จึงจะยอมถ่าย... อย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหม ปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยวเล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้ เงินแค่ 5,000,000 บาทถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 329
ตาม ป.อ.มาตรา 332 (2) บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่าให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.อ.มาตรา 332 (2) บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่าให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9884/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: เจตนาใส่ความ, ความเป็นจริง, และขอบเขตความรับผิดของบรรณาธิการ/ผู้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความในข่าวหน้า 3 ย่อหน้าแรก พูดถึงเรื่องข้าราชการรัฐสภาล่าลายเซ็นส.ส. เพื่อให้แปรญัตติงบประมาณจัดซื้อสินค้า เพื่อหวังค่านายหน้าจากผู้ขายสินค้า ในย่อหน้าที่สอง พูดถึงเรื่องข้าราชการของรัฐสภาผู้นี้เป็นนายหน้าจัดหาผู้หญิงให้แก่ ส.ส. ซึ่งกรณีนี้ข้าราชการหญิงผู้นี้เคยถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนมาแล้ว เมื่อพิจารณาประกอบการพาดหัวข่าวที่ว่า ลากไส้อีโม่ง กินงบ ค้ากามกลางสภาจะเห็นได้ว่าเป็นการพูดกล่าวหาโจทก์คนละเรื่องคนละตอนกัน สำหรับข้อความ ในตอนที่สองทำให้เข้าใจว่า โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาเด็กผู้หญิงมาให้ ส.ส. ซึ่งได้มีการสอบสวนลงโทษโจทก์มานานแล้วก่อนที่จำเลยจะนำมาลงเป็นข่าว การลงข่าวดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เป็นเรื่องที่ลงข่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 เท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่ มุ่งประสงค์จะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484ที่โจทก์บรรยายในตอนแรกว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ โฆษณา ก็เป็นการบอกถึงฐานะของจำเลยเท่านั้น ประกอบกับ โจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วยศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทจากบทสัมภาษณ์ แม้ไม่มีเจตนา
แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้