คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 192

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงที่ผู้ให้เช่าเดิมยินยอม ผู้เช่าช่วงมีหน้าที่รับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง ไม่ใช่บริวารของผู้เช่า
การเช่าช่วงโดยผู้ให้เช่าเดิมยินยอมนั้น ผู้เช่าช่วงย่อมต้องรับผิดต่อให้เช่าเดิมโดยตรงตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 545 ผู้เช่าช่วงจึงหาใช่เป็นบริวารของผู้เช่าไม่
ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่เช่าแต่ลำพัง โดยไม่ได้ฟ้องผู้เช่าช่วงเป็นจำเลยด้วย แม้ศาลจะพิพากษาขับไล่ผู้เช่าออกจากที่เช่าแล้วก็ดี ถ้าการเช่าช่วงนั้น ได้กระทำไปโดยผู้ให้เช่าเดิมยินยอมแล้ว โจทก์จะขอให้ขับไล่ผู้เช่าช่วงในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่าซึ่งเป็นจำเลยไม่ได้ ชอบที่จะว่ากล่าวกันต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159-1160/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่สมบูรณ์และการเรียกร้องค่าซ่อมแซม: โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมหากไม่มีสัญญาเช่าที่ชัดเจนกับจำเลย
การที่โจทก์เข้าไปซ่อมแซมห้อง โดยอ้างว่ามีสัญญาเช่ากับเจ้าของห้องคือจำเลย จึงเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าซ่อมแซมที่ได้จ่ายไปนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มิได้มีสัญญากับจำเลยดังข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งการเรียกร้อง ฟ้องของโจทก์ข้อนี้ย่อมตกไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: เอกสารที่ไม่ชัดเจนถึงเจตนาสั่งพินัยกรรม ไม่ถือเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์
พินัยกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 แม้เอกสารจะใช้คำว่าพินัยกรรมและข้อความในตอนต้นอาจมีทางพอจะตีความว่าได้เป็นพินัยกรรมก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความตอนอื่นประกอบแล้ว เห็นว่าผู้ตายหาได้มีเจตนาจะทำพินัยกรรมไม่หากเป็นหนังสือสัญญาซึ่งทำไว้แก่ฝ่ายสาว เวลาที่ผู้ตายจะได้จำเลยเป็นภริยาเท่านั้น การที่ผู้ตายเขียนคำว่า ขอทำพินัยกรรม ในตอนต้นจึงเป็นการใช้ถ้อยคำผิด ดังนี้ เอกสารเช่นว่านั้น จึงไม่ใช่พินัยกรรม
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าจำเลยไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องในกองมรดกของผู้ตาย และห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องในการรับมรดกของผู้ตายคำขอไม่ให้เกี่ยวข้องนี้กว้างมาก หากศาลพิพากษาห้ามดังโจทก์ขอแล้ว อาจไปกระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องร้องกันนี้ก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงพิพากษาห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกองมรดกของผู้ตาย ในฐานะเป็นผู้รับมรดก ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากเรือนซึ่งเป็นกองมรดกของผู้ตายก็เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องในคดีอาญา: การขอแก้สถานที่เกิดเหตุเป็นรายละเอียดที่ทำได้หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้
การขอแก้สถานที่เกิดเหตุนั้น ถือว่าเป็นการขอแก้รายละเอียด ถ้าจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้แล้วโจทก์ย่อมขอแก้ได้
การที่จำเลยเสียเปรียบในการแก้ฟ้องหรือไม่ในการดำเนินการพิจารณาในท้องสำนวนนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าศาลล่างตีความโดยอาศัยแต่ฉะเพาะตัวบทในวิธีพิจารณาอย่างเดียวย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
of 2